หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,273. การรักษาผู้ป่วย COPD ในโรงพยาบาล ประกอบด้วย

การรักษาผู้ป่วย COPD ในโรงพยาบาล ประกอบด้วย
1. การให้ออกซิเจน โดยปรับอัตราไหลของออกซิเจนเพื่อให้ได้ระดับ oxygen saturation อย่างน้อย 90% และระวังไม่ให้ออกซิเจนมากเกินไปจนเกิดภาวะซึมจากคาร์บอนไดออกไซด์คั่ง (CO2 narcosis)
2. ยาขยายหลอดลม ใช้ b2-agonist หรือ b2-agonist ร่วมกับanticholinergic เป็นยาขั้นต้น โดยให้ผ่านทาง metered dose inhaler ร่วมกับ spacer 4-6 puffs หรือให้ผ่านทาง nebulizer ถ้าไม่ดีขึ้นสามารถให้ซ้ำได้ทุก 20 นาที จนกว่าอาการจะดีขึ้น หรือมีอาการข้างเคียงจากยา
3. คอร์ติโคสเตียรอยด์ ให้ในรูปของยาฉีด เช่น hydrocortisone ขนาด 100-200 มก. หรือ dexamethasone 5-10 มก. เข้าหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง หรือยารับประทาน prednisolone 30-60 มก./วันในช่วงแรก และเมื่ออาการดีขึ้นแล้วจึงปรับขนาดยาลง โดยระยะเวลาการใช้ยาประมาณ 7-14 วัน
4. ยาต้านจุลชีพ พิจารณาให้ทุกราย โดยยาที่เลือกใช้ควรออกฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อได้กว้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประวัติการได้รับยาต้านจุลชีพของผู้ป่วยรายนั้นในอดีต ประกอบกับข้อมูลระบาดวิทยาของพื้นที่นั้นๆ
5. สำหรับการให้ aminophylline ทางหลอดเลือดดำ แม้ว่าประโยชน์ยังไม่ชัดเจน อาจพิจารณาให้ในรายที่มีอาการรุนแรงมากและไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ๆ แต่ต้องระวังภาวะเป็นพิษจากยา
6. การใช้เครื่องช่วยหายใจ
   6.1 Non-invasive positive pressure ventilation (NIPPV)ใช้ในกรณีที่มีเครื่องมือ และบุคลากรพร้อม ในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาข้างต้น เริ่มมีอาการแสดงของกล้ามเนื้อหายใจอ่อนแรง หรือ ตรวจพบ PaCO2 45-60 มม.ปรอท หรือ pH 7.25-7.35ข้อห้ามใช้ NIPPV ได้แก่
1) หยุดหายใจ
2) มีความผิดปกติในระบบไหลเวียนโลหิต เช่น ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
3) มีระดับความรู้สึกตัวเลวลงหรือไม่ร่วมมือ
4) มีโครงหน้าผิดปกติ
5) ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่าตัดบริเวณใบหน้าหรือทางเดินอาหาร
6) ผู้ป่วยที่มีเสมหะปริมาณมาก
7) ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนรุนแรงหรือมีภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร
หลังการใช้ NIPPV ควรประเมินการตอบสนองหลังการใช้ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง โดยดูจากระดับความรู้สึกตัว อาการหอบเหนื่อยของผู้ป่วยและอัตราการหายใจ และ/หรือค่า pH และ PaCO2 ถ้าไม่ดีขึ้นให้พิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ
   6.2 Invasive mechanical ventilation
ข้อบ่งชี้ของการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
1) มีข้อห้ามใช้ NIPPV
2) ไม่ตอบสนองต่อการใช้ NIPPV
3) Acute respiratory acidosis (pH < 7.25)
4) มีภาวะพร่องออกซิเจนรุนแรงที่ไม่สามารถแก้ไขได้
เกณฑ์การจำหน่ายผู้ป่วยที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลันของโรคออกจาก
โรงพยาบาล ประกอบด้วย
1. อาการผู้ป่วยดีขึ้นใกล้เคียงก่อนการกำเริบของโรค
2. Hemodynamic status คงที่ เป็นเวลาอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
3. ความถี่ของการใช้ยาขยายหลอดลมชนิดสูดเพื่อบรรเทาอาการลดลง
4. ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลสามารถบริหารยาชนิดสูดได้อย่างถูกวิธี และรับทราบแผนการรักษาต่อเนื่องพร้อมการนัดหมายตรวจติดตามอาการ



Ref: แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น