วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,270. Oxygen therapy in COPD

การบำบัดด้วยออกซิเจน (Oxygen therapy) ในผู้ป่วย COPD

การบำบัดด้วยออกซิเจน เป็นการรักษาแบบ non-pharmacologictreament ในผู้ป่วย COPD stage III หรือ IV ซึ่งโรคมีความรุนแรงมาก เกิด arterial desaturation ในช่วง stable stage เป็นการบำบัดด้วย oxygen ระยะยาวหรือ long term oxygen therapy (LTOT)
ข้อบ่งชี้ของ LTOT คือ
ผู้ป่วย stable stage COPD ที่ได้รับการประเมินในขณะพัก (resting) ขณะออกกำลังกายหรือขณะหลับ แล้วพบว่ามีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1) PaO2 < 55 mmHg หรือ SaO2 < 88%
2) PaO2 56-59 mmHg หรือ SaO2 89%
แต่พบมีภาวะแทรกซ้อนจาก long standing hypoxia ร่วมด้วย เช่น erythrocytosis(Hct > 55%), pulmonary hypertension, หรืออาการบวมจากหัวใจล้มเหลว เป็นต้น

อุปกรณ์การให้ออกซิเจน นิยมใช้ nasal cannula โดยให้ปริมาณออกซิเจนในอัตราการไหลที่ค่อนข้างต่ำ (low flow) เพียงพอที่จะทำให้PaO2 > 60 mmHg หรือ SaO2 > 90% (โดยที่ไม่ทำให้ CO2 คั่ง) ไม่ว่าในขณะที่พัก ขณะออกกำลังกาย หรือขณะหลับ ส่วนระยะเวลาการให้ออกซิเจน จำเป็นจะต้องได้รับอย่างน้อยวันละ 15 ชั่วโมง (15-24ชั่วโมง) จึงจะมีผลการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาในทางที่ดีขึ้น กล่าวคือลดอัตราตาย ลด pulmonary hypertension และลด erythrocytosis ได้ นอกจากนั้นยังทำให้การหมุนเวียนโลหิตดีขึ้น ออกกำลังกายได้มากขึ้นและ mental status ดีขึ้น แหล่งกำเนิดออกซิเจน (oxygen source)อาจเป็น compressed oxygen จาก cylinder หรือจากเครื่องสกัดออกซิเจน (oxygen concentrator) หรือจากออกซิเจนเหลว (liquid oxygen) เป็นต้น

Ref: แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พ.ศ. 2553

3 ความคิดเห็น:

  1. อยากทราบวิธีการคำนวณสำหรับoxygen ถังเล็กว่าเปิด 2-3 liters/min. X. 15 hr /day
    จะใช้ได้กี่ชั่วโมง

    ถังใหญ่ด้วยครับ

    แล้วจะต้องใช้ถังสำรองประมาณ กี่ถังดี ถ้า 3-5วันมาเติมoxygen ที่ รพ. ทีนึง

    แล้วค่าใช้จ่ายตกเดือนละ กี่บาท

    ตอบลบ
  2. ลองหาดูตาม พบตามนี้ครับ
    http://203.157.64.26/ewtadmin/ewt/hp/download/ederly/PPT%20ประชุม%20HHC%2012-13%20กรกฎาคม%2050%20ณ%20โรงแรมมารวยการ์เด้น/Workshop%205%20กลุ่ม/เอกสารประกอบHomeOxygen.doc

    ตอบลบ
  3. ลิ้งค์อาจไม่ไปโดยตรง อาจต้องทCopy URL แล้วนำไป pasteนะครับ

    ตอบลบ