วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,267. Tourniquets in vascular injury

การขันชะเนาะ (Tourniquets) และการห้ามเลือดในภาวะฉุกเฉิน

แนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี 2010 ได้เขียนไว้ว่า
ในปี 2010 (ไม่ต่างจากของปี 2005) : เนื่องจากการขันชะเนาะอาจทำได้ไม่เหมาะสม หรือเกิดผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายได้ฉะนั้น จึงแนะนำให้ทำการขันชะเนาะเฉพาะในผู้ป่วยที่ไม่สามารถกดโดยตรงที่บาดแผล หรือการกดนั้นไม่สามารถหยุดเลือดได้และผู้ทำการปฐมพยาบาลควรฝึกฝนการขันชะเนาะมาเป็นอย่างดีแล้ว
เหตุผล: การห้ามเลือดด้วยวิธีขันชะเนาะดังกล่าว มีประโยชน์อย่างยิ่งในสถานการณ์จำเพาะ เช่น ในสนามรบ และทำโดยผู้ที่ผ่านการฝึกฝนมาก่อน อย่างไรก็ดี ไม่มีข้อมูลรองรับการขันชะเนาะที่ทำโดยผู้ทำการปฐมพยาบาลแต่อย่างใด ส่วนผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตราย เช่น การขาดเลือดและมีเนื้อตาย (ischemia and gangrene) ของแขนขา ภาวะช็อกหรือถึงแก่ชีวิต สัมพันธ์กับเวลาที่คงการบีบรัดเอาไว้ และประสิทธิภาพของการทำขึ้นกับชนิดของการขันชะเนาะแบบต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะดีกว่าการประยุกต์ใช้


Ref: สรุปแนวทางปฏิบัติการช่วยชีวิต ปี 2010

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น