วันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554

1,249. Sliding-scale insulin in hospitalized patients ดีจริงหรือ?

Sliding-scale insulin in hospitalized patients ดีจริงหรือ?

วิธีการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดได้ถูกนำมาใช้นานแล้ว การให้อินซูลินในรูปแบบ sliding-scale ต้องอาศัยการเจาะเลือดหลายครั้งต่อวันและการให้อินซูลินอย่างเพียงพอเพื่อให้มีน้ำตาล ในเลือดอยู่ในระดับปกติ
อย่างไรก็การให้อินซูลินในรูปแบบ sliding-scale ไม่ได้เป็นไปตามหลักของสรีรวิทยาเปรียบได้กับกับการให้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ sliding-scale เพื่อการรักษาไข้ การมีระดับน้ำตาลที่สูงทำให้ต้องลดระดับน้ำตาลลงมากขึ้น จะก่อให้เกิดการตอบสนองทางสรีรวิทยาที่ส่งผลให้ระดับน้ำตาลสูงกว่าเดิม นำไปสู่​​การใช้อินซูลินมากขึ้นในการที่จะแก้ไขความเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาล มีรายงานพบว่ามีการเพิ่มขึ้นของวันนอนโรงพยาบาลซึ่งสัมพันธ์กับการให้อินซูลินในรูปแบบ sliding-scale จึงเป็นสิ่งควรคำนึงถึงว่าอาจเป็นอันตรายมากกว่าเป็นประโยชน์
มีการศึกษาแบบสุ่มชิ้นหนึ่ง ซึ่งได้ประเมินความสัมพันธ์ของประโยชน์ในการใช้อินซูลินในรูปแบบ sliding-scale เทียบกับการให้ยาขนาดเดิมของผู้ป่วยก่อนเข้าโรงพยาบาล พบว่าการให้อินซูลินในรูปแบบ sliding-scale ไม่ได้ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลดีกว่า โดยประมาณหนึ่งในสามของผู้ป่วยยังมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และระยะเวลาของการนอนโรงพยาบาลก็ไม่แตกด่างกัน
   วิธีการที่เป็นไปตามสรีรวิทยาในผู้ป่วยที่มีน้ำตาลในเลือดสูง คือการให้อินซูลินตามน้ำหนักตัว (0.4 - 0.5 units/kg/day) ของอินซูลินที่ออกฤทธิ์ยาว หรืออินซูลินที่ออกฤทธิ์ปานกลางร่วมกับการให้อินซูลินที่ออกฤทธิ์สั้นก่อนอาหาร การใช้อินซูลินในผู้ป่วยที่ยังไม่เคยได้มาก่อน จะช่วยให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มากกว่าการใช้แบบอินซูลิน sliding-scale (โดยเฉลี่ยมีความแตกต่างกัน 27 mg/dL [1.50 mmol/L]) และไม่เพิ่มการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถึงแม้ว่าจะไม่ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลหรือมีผลต่อผลลัพท์อื่นๆ แต่จะเป็นไปตามลักษณะทางสรีรวิทยามากกว่า และยังช่วยลดภาระงานของพยาบาล แพทย์ ลดการใช้แถบ(finger sticks) ที่ใช้ในการตรวจน้ำตาลอีกด้วย



Ref: http://www.aafp.org/afp/2010/0501/p1121.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น