ในกรณีที่พบผู้ป่วยเป็น atrial fibrillation หรือ flutter การให้ยา digoxin ซึ่งจะทำงานดีที่สุดเมื่อให้ในขนาดสูง คือการให้แบบ initial loading dose (rapidly digitalisation) โดย
ขนาดของยาต้องถูกปรับให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ตามอายุ lean body weight และการทำงานของไต ขนาดยาที่แนะนำไว้เป็นแนวทางสำหรับการใช้ขณะเริ่มต้นเท่านั้นสำหรับผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 10 ปี
การให้ยาขนาดสูงอย่างรวดเร็วโดยการรับประทาน (Rapid oral loading)
ให้ 15 mcg/kg (lean body weight) ซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณ 750 – 1,500 ไมโครกรัม ในเวลา 24 ชม.
ในกรณีที่ความเร่งด่วนลดลงหรือมีความเสี่ยงต่อภาวะพิษมากขึ้น เช่น ผู้สูงอายุ ควรให้ oral loading dose โดยแบ่งให้ทุก 6 ชั่วโมง และประเมินผลทางคลินิกก่อนให้ยาเพิ่มขึ้นในแต่ละครั้ง ถ้าอัตราการเต้นหัวใจยังไม่ลดลงตามเกณฑ์ อาจเพิ่มขนาดอีก 5 mcg/kg โดยไม่มีอาการและอาการแสดงการเกิดพิษ และถ้าอัตราการเต้นหัวใจยังไม่ลงอีกต้องเปลี่ยนยา
การให้ยาอย่างช้าโดยการรับประทาน (Slow oral loading)
ให้ขนาด 250-750 ไมโครกรัม ต่อวัน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ตามด้วยขนาดยาต่อเนื่อง (maintenance dose) ที่เหมาะสม ควรเห็นผลทางคลินิกภายใน 1 สัปดาห์
-มีน้อยรายที่ผู้ป่วย atrial fibrillation หรือ flutter ที่ต้องให้ emergency digitalisation ทางหลอดเลือดดำ ขนาดคือ 0.75-1 mg ในเวลาอย่างน้อย 2 ชม, แล้วคงขนาดยาต่อเนื่อง (maintenance dose) เป็นยารับประทานในวันต่อไป
-ในผู้ป่วย Heart failure (โดย EKG เป็น sinus rhythm) ควรให้ขนาด 62.5-125 mcg โดยการรับประทานวันละครั้งไม่จำเป็นต้องให้ loading dose
หมายเหตุ – การเลือกใช้ยาอย่างรวดเร็วหรืออย่างช้าขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและความเร่งด่วนของสภาวะต่าง ๆ
สำหรับผู้สูงอายุ การที่ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะมีการทำงานของไตเสื่อมลง และมี lean body mass ต่ำจะมีผลต่อ pharmacokinetics ของดิจ็อกซิน จนสามารถทำให้ระดับดิจ็อกซินในซีรั่มสูงขึ้นพร้อมกับการเกิดพิษที่เกี่ยวข้องได้ค่อนข้างง่าย ถ้าไม่ลดขนาดยาลงให้ต่ำกว่าขนาดของผู้ป่วยที่ไม่สูงอายุควรตรวจสอบระดับ ดิจ็อกซินในซีรั่มเป็นประจำ และหลีกเลี่ยงภาวะโปแตสเซี่ยมในเลือดต่ำ
Ref:
http://www.patient.co.uk/doctor/Digoxin-and-the-Cardiac-Glycosides.htmhttp://www.thairx.com/dmdrug.asp?did=lnxt1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น