วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

1,176. Short-term and long-term health risks of nuclear-power-plant accidents

Short-term and long-term health risks of nuclear-power-plant accidents
Review article
Current concepts
N Engl J Med   June 16, 2011

ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์, เชื้อเพลิง, ไอโซโทปของยูเรเนียมหรือพลูโตเนียมที่ผ่านขบวนการฟิชชันในการผลิตพลังงานเพื่อทำให้น้ำเกิดความร้อนและนำไปใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันไอน้ำ ซึ่งนอกจากจะปล่อยพลังงานออกมาแล้ว เชื้อเพลิงที่แยกตัวจะก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์ฟิชชันของสารกัมมันตรังสี
ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ, ความกังวลหลักคือโครงสร้างที่เป็นตัวค้ำจุล (แกนกลาง) ที่มีเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์ฟิชชันอยู่ เมื่อเกิดความเสียหายจะทำให้ธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่อาจจะออกมาสู่สิ่งแวดล้อม กลไกอันหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นคือความเสียหายของระบบทำความเย็นแกนกลาง โดยอาจทำให้แกนเครื่องปฏิกรณ์และอาจรวมถึงเชื้อเพลิงในบางส่วนหรือทั้งหมดสามารถละลายได้
อุณหภูมิสูงและแรงดันจะส่งผลให้เกิดการระเบิดภายในเครื่องปฏิกรณ์, การแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี, โดยส่วนใหญ่ของโรงไฟฟ้า จะสามารถลดความเสียหายอันเนื่องจากระบบทำความเย็นเสียหายได้โดยการล้อมรอบแกนเครื่องปฏิกรณ์โดยผนังเหล็ก และจะล้อมรอบด้วยโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กที่ผนึกแน่นไม่ให้อากาศเข้าอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการออกแบบมาเพื่อบรรจุวัสดุกัมมันตรังสี
จากข้อมูล พบว่าการระเบิดที่เกิดจากอุบัติเหตุในเครื่องปฏิกรณ์จะไม่เหมือนกับที่เกิดหลังการระเบิดของอาวุธนิวเคลียร์ โดยพบว่าอย่างหลังต้องใช้ไอโซโทปของยูเรเนียมหรือพลูโตเนียมในระดับความเข้มข้นสูงและโครงร่างภายนอกที่ไม่เหมือนกับในในโรงไฟฟ้า
เนื้อหาโดยละเอียดของบทความประกอบไปด้วย
Mechanisms of Exposure
  -Reactor Accidents and the Release of Radioactive Materials
  -Types of Radiation Exposure
Clinical Consequences of Radiation Exposure
  -Type of Radiation and Dose Rates
  -Acute Radiation Sickness and Its Treatment
  -Increased Long-Term Cancer Risks
Conclusions


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น