หญิง 23 ปี บวมทั่วทั้งตัว ปัสสาวะออกน้อย 4 วัน ไม่มีไข้ เมื่อประมาณ 10 วันก่อนเคยมีไข้ ไอ เจ็บคอ ซื้อยาปฎิชีวนะมารับประทาน อาการดีแล้ว
ตรวจร่างกาย ไม่มีไข้, BP 180/110, ไม่หอบเหนื่อย, บวมปานกลางทั่วทั้งตัว, ไม่ซีด ไม่เหลือง บวมเล็กน้อย, หัวใจ+ปอด+ท้อง ไม่พบความผิดปกติ, เคาะ CVA ไม่เจ็บ, ขาบวมกดบุ๋ม 2+
ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการ UA: albumin 4+, Dysmorphic RBC 10-20, WBC 5-10, Fine granular cast 3-4
Cr 0.8, Serum albumin 2.97, Chol. 210
คิดถึงอะไรมากที่สุด?
จะส่งตรวจอะไรเพื่อยืนยันการวินิจฉัย?
จะให้การรักษาอย่างไร?
คิดถึง Poststreptococcal glomerulonephritis(acute) มักพบในช่วงอายุ 2-14 ปี อายุที่มากกว่า 40 ปีพบได้ประมาณ 10% มักเกิด 1-3 สัปดาห์หลังจากมีการติดเชื้อที่ในคอ และ 2-6 สัปดาห์หลังจากมีการติดเชื้อที่ผิวหนัง อาจพบลักษณะของปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นหนอง บวม มีความดันโลหิตสูง ปัสสาวะออกน้อย ไตวาย มีred blood cell casts พบว่า 5% ในเด็กและ 20% ในผู้ใหญ่จะมีโปรตีนในปัสสาวะอยู๋ในระดับ nephrotic range
โดยในสัปดาห์แรกจะพบว่า 90% ของผู้ป่วยมีการลดลงของ CH50, ระดับ C3 ลดลงร่วมกับมีระดับ C4 ปกติ, Rheumatoid factor ให้ผลบวก 30–40%, Cryoglobulins และ circulating immune complexes พบได้ 60–70%, ANCA ต่อ myeloperoxidase พบได้ 10%, การเพาะเชื้อ Streptococcal จะสามารถพบเชื้อได้ 10–70%, มีการเพิ่มขึ้นของ ASO 30%, anti-DNAase พบได้ 70%, antihyaluronidase antibodies พบได้ 40% โดยการวินิจฉัยมักไม่มีความจำเป็นต้องทำการตัดชิ้นเนื้อไตเพื่อตรวจ
ยาปฎิชีวนะควรให้ในผู้ป่วยทุกรายและผู้ทีอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยด้วย ยากดภูมิคุ้มกันไม่มีบทบาทในการใช้ แม้ว่าโรคจะเป็นมากขึ้น รวมทั้งต้องให้การรักษาแบบประคับประคองโดยการควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะบวม บางครั้งอาจต้องใช้การฟอกไต ส่วนการเกิดซ้ำพบน้อยมากแม้ว่าจะมีการติดเชื้อ streptococcal ซ้ำ การพยากรณ์โรคดี การมีไตวายอย่างถาวรพบได้น้อย1–3% และพบได้น้อยในเด็ก การเสียชีวิตเกิดน้อยมากในเด็กแต่สามารถเกิดได้ในผู้ใหญ่ การหายของปัสสาวะเป็นเลือดและการมีโปรตีนออกมาในปัสสาวะใช้เวลาในช่วง 3–6 สัปดาห์
ผลการติดตามผู้ป่วย เมื่อเวลาผ่านไป 2 เดือน: ยุบบวม น้ำตัวลดลงจาก 80 กก. เหลือ 7 กก. UA: Albumin: trace, WBC: 0, Ghost RBC 5-10, Serum albumin 3.73
Ref: Harrison's Principles of Internal Medicine 17 th Edition
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Imp: APSGN
ตอบลบIx: CBC, ESR ,CRP, ASo titer ,anti-DNAse B
protein urine 24 hr สำหรับแยก nephotic syndrome
tx : 1.eradicate : Pen V
2. anti hypertensive drug
...แปลกนะครับ APSGN เป็น nephritis เด่น เหมือน clinical. ผป ก็เด่น nephritis eg.edema,oliguria,HT,hematuria. ซึ่งอาการพวกนี้มาจากมี decline. ของ GFR แต่ว่าคนนี้ SCr 0.8 (ปล. ขอบคุณครับติดตามอ่านประจำ)
ตอบลบขอขอบคุณที่ติดตามเป็นประจำนะครับ
ตอบลบผมลองค้นหาให้พบว่าภาวะ Acute renal failure อาจจะเกิดหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ครับ แต่ยังหาที่บอกเป็น%ไม่ได้
อ้างอิงจากเว็บไซต์นี้ครับ
http://pedbase.org/p/poststreptococcal-glomerulonephritis/