สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อแบคทีเรีย อีโคไลชนิดรุนแรง (Enterohaemorrhagic E.coli O104)
กรมควบคุมโรค
ข้อมูล 4-6 มิถุนายน 2554
ด้วยองค์การอนามัยโลกได้ออกประกาศผ่านทางเว็บไซต์ เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2554
แจ้งความคืบหน้าของสถานการณ์ในยุโรปล่าสุด สรุปในภูมิภาคยุโรปมีการรายงานผู้ป่วยกลุ่มอาการ
เม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย หรือ Haemolytic uraemic syndrome (HUS) และติดเชื้อแบคทีเรีย Enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในเยอรมัน และอีก 10 ประเทศในภูมิภาคยุโรป ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่กลุ่มที่เรียกว่า Enterohaemorrhagic E.coli (EHEC) หรือ อีโคไล ชนิดที่ถึงแม้ว่าแบคทีเรีย Escherichia coli ส่วนใหญ่ทำให้เลือดออกรุนแรง สามารถสร้างพิษ Shiga toxins หรือ vero toxins ซึ่งทำลายเซลล์เม็ดเลือดและไตได้
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ณ วันที่ 5 มิถุนายน 2554 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 2,265 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 22 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ป่วย HUS จำนวน 658 ราย และผู้ป่วย EHEC จำนวน 1,607 ราย จำแนกเป็นรายประเทศดังนี้
นอกจากนี้ ศูนย์ควบคุม ป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ได้เคยตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วย HUS 2 รายที่เกี่ยวข้องกับการระบาดในครั้งนี้
ในผู้ป่วยเกือบทั้งหมดนี้ (ยกเว้น 1 ราย) มีประวัติการเดินทางไป/กลับจากเยอรมัน ในช่วงระยะการฟักตัวของเชื้อ ส่วนใหญ่อยู่ที่ 3-4 วัน (2-10 วัน) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงและมีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นลักษณะที่มักไม่ค่อยพบเช่นนี้ ส่วนอีก 1 ราย มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยจากเยอรมัน ผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้นนี้ เป็นผลจากการยืนยันตัวเชื้อ EHEC serotype O104:4 หรือมีความแม่นยำมากขึ้นในการยืนยันเชื้อ Enteroaggregative verocytotoxin-producing E.coli (EAggEC VTEC) O104: H4
ในผู้ป่วยที่มีอาการถ่ายเหลว เป็นเลือด ปวดท้อง และมีประวัติเคยเดินทางไป/กลับจากประเทศแถบยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยอรมัน ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มป่วย ขอให้ท่านนึกถึงการติดเชื้อ โรคจากเชื้อแบคทีเรีย อี-โคไล ชนิดที่ทำให้เลือดออกรุนแรง(Enterohaemorrhagic E.coli) ที่กำลังมีการระบาดในยุโรปขณะนี้ด้วย ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขขอแนะนำให้ท่านดำเนินการ ดังนี้
1. ซักประวัติเสี่ยงเรื่องประวัติการเดินทางไป/กลับจากประเทศแถบยุโรปโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยอรมัน ในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเริ่มป่วย
2. หากมีอาการถ่ายเหลวเป็นเลือด ปวดท้อง อาจมีความเป็นไปได้ว่า เกิดการติดเชื้อโรคจากเชื้อแบคทีเรีย อี-โคไล ชนิดที่ทำให้เลือดออกรุนแรง(Enterohaemorrhagic E.coli) ที่กำลังมีการระบาดในยุโรปขณะนี้
3. แจ้งให้ทีมป้องกันควบคุมโรคในรพ.ของท่านทราบ เพื่อพิจารณาแจ้งทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วดำเนินการต่อไป
4. เก็บตัวอย่างอุจจาระส่งตรวจที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กระทรวงวิทยาศาสตร์ หรือส่งผ่านทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว
5. ให้การรักษาแบบตามอาการ เช่น น้ำเกลือแร่
#องค์การอนามัยโลกไม่แนะนำให้ยาระงับการถ่าย (anti-diarrhoeal products) หรือยาปฏิชีวนะ (antibiotics) เนื่องจากอาจทำให้อาการผู้ป่วยแย่ลง โดยการฆ่าเชื้อจะทำให้มีสารพิษออกมามากขึ้น และให้ระมัดระวังการเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่สำคัญ#
Ref: http://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/upload/files/situationecoli060654_5.dochttp://beid.ddc.moph.go.th/th_2011/upload/files/situationecoli040654_3.doc
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น