หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1,148. Hypernatremia

ภาวะโซเดียมสูงในร่างกาย (Hypernatremia)

มาลองตอบคำถามทบทวนความรู้กันนะครับ

1. สาเหตุส่วนใหญ่คือ..............................................................
2. สาเหตุส่วนน้อยคือ...............................................................
3. ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดคือ.........................................
เนื่องจาก................................................................................
4. อาการจะเกิดขึ้นหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ.................
..............................................................................................
5. จะมีอาการอะไรบ้าง...........................................................
..............................................................................................
6. มีหลักการรักษารวมถึงการเลือกชนิดสารน้ำอย่างไร.................
..............................................................................................
..............................................................................................
7. การคำนวนปริมาณ Na ที่เปลี่ยนแปลงจากการใช้สารน้ำที่เลือก
ได้แล้วจะคำนวนอย่างไร...........................................................
..............................................................................................
8. Water deficit คำนวนได้จาก.................................................
...............................................................................................

เฉลย
1. สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากการเสีย Free water หรือ hypotonic sodium loss

2. สาเหตุส่วนน้อย เกิดจาก Iatrogenic อันเนื่องมาจากการให้ Hypertonic sodium เช่น NaHCO3

3. การที่จะเกิด  Hypernatremia ได้นั้น จะต้องมีภาวะกระหายน้ำและการได้รับน้ำ (Thirst and access to water) บกพร่องไป ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง คือผู้ป่วยสูงอายุ มีภาวะบกพร่องทางระบบประสาท ใส่ท่อช่วยหายใจ หรือ เด็กเล็ก

4.-5. อาการจะเกิดขึ้นหรือไม่ มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ ระดับของโซเดียม และ อัตราการสูงขึ้น อาการมีตั้งแต่ confusion, weakness, alteration of consciousness, seizure และ coma อาการแสดงทางระบบประสาทอาจเกิดจาก vascular rupture เช่น Subarachnoid hemorrhage ซึ่งเกิดจาก การหดตัวของ Brain (Brain shrinkage)

6. มีหลักการคือ สืบหาและแก้ไขภาวะที่ทำให้ผู้ป่วยมีการสูญเสีย Free water ไป เช่น การรักษาภาวะ gastrointestinal loss การรักษาไข้ การหยุดยาขับปัสสาวะ การเปลี่ยนแปลงสูตรอาหารที่มีโซเดียมสูง เป็นต้น

การรักษาโดยให้ Hypotonic fluid route ที่ปลอดภัยที่สุด คือการให้ทาง oral หรือ feeding tube แต่การให้ทางหลอดเลือดก็สามารถกระทำได้ โดยใช้ 5% Dextrose water, 0.2% NaCl, 0.45% NaCl solution
   ไม่ควรให้ 0.9% NaCl ในการแก้ภาวะ Hypernatremia ยกเว้นในกรณีที่มีภาวะการไหลเวียนล้มเหลว ให้แก้ไขภาวะไหลเวียนล้มเหลวจากการขาดน้ำด้วย isotonic saline ก่อน แล้วจึงค่อยแก้ด้วย Hypotonic fluid หลังจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะคงที่แล้ว
   การเลือกชนิดของ Hypotonic fluid ที่จะใช้ ควรคำนึงถึง fluid ของผู้ป่วยที่เสียไป เช่น ถ้าผู้ป่วยเสีย Pure water loss จาก insensible loss เช่น ไข้ หายใจหอบ ก็ควรจะให้ Hypotonic fluid เป็น pure water ถ้ามี GI loss ซึ่งเป็น Hypotonic fluid ก็ควรให้ Hypotonic saline solution เช่น 0.45%NaCl เป็นต้น

7. Change in serum Na =
[(infusate Na + infusate K) - serum Na]  /  total body water + 1

                                                                   
8. Water deficit = (total body water) X (1-[140÷serum sodium concentration])

Ref: http://www.taem.or.th/node/133

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น