หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

1,141. ทดสอบความรู้ไข้เลือดออก ภาค 1

ทดสอบความรู้ไข้เลือดออก ภาค 1

ช่วงนี้ไข้เลือดออกระบาด ผู้ใหญ่ก็เป็นไม่น้อย พอดีต้องสอนบุคลากรทางการแพทย์ ทำ Power point ไว้ จึงเอามาถามทบทวนความจำกันซะหน่อย ลองภาค 1 ก่อนนะครับ มี 6 ข้อ เน้นการวินิจฉัยเป็นหลัก
อาจจะมีตัวเลขเป็น% คิดว่าถ้ารู้น่าจะมีประโยชน์ แต่ถ้าจำยาก ไม่ต้องตอบพวก % ก็ได้ครับ ยกเว้นในข้อ 2 ใน 3 ข้อย่อยแรก ซึ่งน่าจะต้องรู้

A. สาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อย 4 ข้อ เรียงจากบ่อยที่สุดลงไป
1......................................................
2......................................................
3......................................................
4......................................................

B. ถ้าเป็นไข้เลือดออกทูนิเกต์จะให้ผลบวกใน
วันแรก........%
วันที่สอง........%
วันที่สาม........%
มีความไว.........%
ความจำเพาะ.........%

C.เกณฑ์การวินิจฉัยไข้เดงกี(Dengue fever) คือ
1........................................................
2........................................................
มีความถูกต้องในการวินิจฉัย.......%

D.เกณฑ์การวินิจฉัยไข้เลือกออกเดงกี(Dengue hemorrhagic fever) คือ
1........................................................
2........................................................
3........................................................
4........................................................
5........................................................
6........................................................
โดยต้องมี...............................................................
มีความถูกต้องในการวินิจฉัย.......%

E.ความรุนแรงของโรคมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
........................................................................
........................................................................
........................................................................

F. Unsual manifestation ได้แก่
1.....................................................
2....................................................
3....................................................
4....................................................
5...................................................
6...................................................

เฉลย
A. สาเหตุของการเสียชีวิตที่พบบ่อย 4 ข้อ เรียงจากบ่อยที่สุดลงไป
1. ช็อคนาน 62.5%
2. เลือดออกมาก 50 %
3. น้ำเกิน 37.5%
4. อาการแปลกจากปกติ 12.5%
B. ถ้าเป็นไข้เลือดออกทูนิเกต์จะให้ผลบวกใน
วันแรก 50 %
วันที่สอง 80 %
วันที่สาม 90 %
มีความไว 98.7 %
ความจำเพาะ 74-78 %

C.เกณฑ์การวินิจฉัยไข้เดงกี(Dengue fever) คือ
คือผู้ป่วยที่มีไข้สูงร่วมกับ
1. ทูนิเกต์ positive และ
2. WBC <= 5000
มีความถูกต้องในการวินิจฉัย 83 %

D.เกณฑ์การวินิจฉัยไข้เลือกออกเดงกี(Dengue hemorrhagic fever) คือ
(อาการทางคลินิก)
1. ไข้สูงลอย 2-7 วัน
2. อาการเลือดออก อย่างน้อยทูนิเกต์เป้นบวกร่วมกับเลือดออกที่อื่น
3. ตับโต กดเจ็บ
4. มีการเปลี่ยนแปลงในระบบไหลเวียนโลหิต หรือมีภาวะช็อก
(การตรวจทางห้องปฎิบัติการ)
5. เกล็ดเลือด < = 100,000 เซล/ ลบ.มม.
6. เลือดข้นขึ้น ดูจากมีการเพิ่มขึ้นของ Hct เท่ากับหรือมากกว่า 20% เมื่อเทียบกับ Hct เดิม (hemoconcentration) หรือมีหลักฐานการรั่วของพลาสมา เช่น มี pleural effusion และ ascites หรือมี ระดับโปรตีน/อัลบูมินในเลือดต่ำ (ในเด็กปกติ ถ้าระดับอัลบูมิน < = 3.5 กรัม % แสดงว่าน่าจะมีการรั่ว ของพลาสมา)
โดยต้องมีมีเกณฑ์การวินิจฉัยทางคลินิก 2 ข้อแรกและเกณฑ์ทางห้องปฎิบัติการอีก 2 ข้อ
มีความถูกต้องในการวินิจฉัย 90-96 %

E. ความรุนแรงของโรคมีกี่ระดับ อะไรบ้าง
-Grade I ผู้ป่วยไม่ช็อก มีแต่ positive tourniquet test และ/หรือ easy bruising
-Grade II ผู้ป่วยไม่ช็อก แต่มีเลือดออก เช่น มีจุดเลือดออกตามตัว มีเลือดกำเดา หรืออาเจียน/ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด/ สีดำ
-Grade III ผู้ป่วยช็อก โดยมีชีพจรเบาเร็ว, pulse pressure แคบ หรือความดันโลหิตต่ำ หรือ มีตัวเย็น เหงื่อออก กระสับกระส่าย
-Grade IV ผู้ป่วยที่ช็อกรุนแรง วัดความดันโลหิต และ/หรือ จับชีพจรไม่ได

F. Unsual manifestation ได้แก่
1. อาการหวัดหรือไอมีน้ำมูกเจ็บคอ
2. อาการถ่ายเหลวอาจพบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี
3. อาการชัก
4. มีการเปลี่ยนแปลงของการรับรู้สติ
5. มีไข้ขณะช็อก
6. มีการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย ทำให้มีอาการของการติดเชื้ออื่นซึ่งแปลกออกไป
7. ปัสสาวะมีสีน้ำตาลเข้ม ในกรณีมีโรคประจำตัวเช่น ธาลัสซีเมีย, G-6-PD deficiency

Ref:
แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคไข้เลือดออกในระดับ
โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป และในระดับโรงพยาบาลชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น