Medical progress
Acute HIV-1 infection
N Engl J Med May 19, 2011
กว่า 80% ของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ HIV - 1 เกิดจากการติดเชื้อผ่านการสัมผัสของพื้นผิวเยื่อเมือกต่อเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่ของที่เหลือ 20% มีการติดเชื้อโดยผ่านทางผิวหนัง หรือฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ
ความเสี่ยงของการติดเชื้อจะแตกต่างกันในแต่ละช่องทางของการติดเชื้อ ระยะเวลาของการปรากฏสิ่งที่บ่งบอกถึงการติดเชิ้อทั้งจากไวรัสและจากตัวของผู้ป่วยจะเป็นไปในลักษณะเดียวกันและเป็นตามลักษณะรูปแบเดิมๆ โดยไม่สัมพันธ์กับวิธีที่เกิดการติดเชื้อ
โดยเมื่อ HIV-1 มีการแบ่งตัวในเยื่อบุ ชั้นใต้เยื่อบุ และเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง ไวรัสจะไม่สามารถตรวจพบได้ในเลือด ซึ่งเรียกว่าช่วงบดบัง (eclipse phase) โดยใช้เวลา 7 - 21 วัน
เมื่อ HIV - 1 RNA มีปริมาณในเลือด 1-5 copies/ml จะสามารถตรวจพบไวรัสโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพที่มีความไวโดยการเพิ่มขยายจำนวนของกรดนิวคลีอิก และที่ระดับ 50 copies/ml สามารถถูกตรวจพบโดยวิธีตรวจทางคลินิกเชิงปริมาณที่ใช้ในการตรวจสอบติดตามที่เรยีกว่าการตรวจ viral load
ในช่วงภาวะเฉียบพลันเริ่มแรกของการติดเชื้อ HIV-1 จะมีลักษณะที่บ่งบอกคือการพบมี viral markers และ antibodies ในเลือด วิธีการตรวจที่มีความไวสูงในรุ่นที่ 4 สามารถตรวจได้ทั้ง antigens และ antibodies, โดยในช่วงรอยต่อที่พบไวรัสและยังไม่มีภูมิคุ้มกันจะอยู่ที่วันที่ 5
ซึ่งการตรวจเพื่อหา RNA ของไวรัสในเลือดจะสามารถปิดช่องว่างนี้ได้ โดยสามารถตรวจได้เมื่อ 7 วันขึ้นไป
บทความนี้มีเนื้อโดยละเอียดประกอบไปด้วย
The HIV-1 transmission event
Initial Innate immune responses to HIV-1
Adaptive immune responses in acute HIV-1 infection
Detection of acute HIV-1 infection
Public health consequences of acute HIV-1 infection
Preventing HIV-1 infection
Managing acute HIV-1 infection
Conclusions
Source information
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น