การประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน
โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีการสูญเสียมวลกระดูกทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงและมีความเสื่อมของโครงสร้างในระดับจุลภาคมีผลทำให้กระดูกเปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นปัจจุบันเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั้งต่างประเทศและในประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามอายุขัยของประชากรที่ยืนยาวขึ้นรวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ภาวะกระดูกหัก จากโรคกระดูกพรุนยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตและทุพลภาพ ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิต และต้องพึ่งพาผู้อื่น
สำหรับประเทศไทยมีการศึกษาถึงความชุกในการเกิดโรคกระดูกพรุนในสตรีไทยอายุ 40-80 ปี พบว่าความชุกของการเกิดสัมพันธ์สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น จากรายงานทางระบาดวิทยาของมูลนิธิกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย พบผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปร้อยละ 19-21 เป็นโรคกระดูกพรุนของกระดูกสันหลังส่วนเอว และร้อยละ 11-13 โรคกระดูกพรุนของกระดูกคอและสะโพก ผู้หญิงไทยอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปพบอุบัติการณ์ของกระดูกสะโพกหัก 269 ครั้งต่อประชากร แสนรายต่อปี ขณะที่อุบัติการณ์ของกระดูกสะโพกหักในผู้ชาย พบ 114 ครั้งต่อประชากรแสนรายต่อปี
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อรคกระดูกบาง ดังนี้1.ผู้สูงอายุ หรือ ผู้หญิง
2.คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
3.คนที่มีรูปร่างผอมบางและมีความสูงไม่มาก
4.คนผิวขาว คนเอเชียหรือคนสเปน
5.คนที่เคยมีประวัติกระดูกหักมาก่อน
6.คนที่มีฮอร์โมนเพศต่ำ
7.คนที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
8.คนที่รับประทานอาหารประเภทแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ
9.คนที่บริโภคคาเฟอีน โซเดียมและโปรตีนในปริมาณมากๆ
10.คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์
11.คนที่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการรับประทานหรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
12.คนที่ใช้ยาประเภทสเตียรอยด์
ใครอยากรู้ความเสี่ยงด้านกระดูกบางของตัวเอง ลองเข้าตาม Link โปรแกรมคำนวณภาวะเสี่ยงกระดูกบางได้ครับ โดยกรอกข้อมูลอายุและน้ำหนักก็จะคำนวนความเสี่ยงออกมาจากทั้งสองสูตร
Link http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/hp/OSTA_KKOS.php
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น