วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,076. ตัวย่อทางการแพทย์ที่ใช้บ่อยในการสั่งการรักษา

แนะนำเว็บไซต์ตัวย่อทางการแพทย์ที่ใช้บ่อยในการสั่งการรักษา(List of abbreviations used in medical prescriptions)
ตัวอย่าง

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,075. Pre pyloric ulcer

หญิง 46 ปี มาด้วยปวดท้อง อาเจียนเป็นเลือด มีถ่ายดำ 2 วัน ผล EGD scope พบดังนี้ ให้การวินิจฉัยอะไร?




ถ้าไม่คุ้นเคย Anatomy ใน scope ให้ศึกษาจากนี้ก่อนครับ

ขอขอบคุณความเห็นจากคุณ Zyrix

Dx. ถ้าจำกายวิภาคในการทำ EGD scope ได้ ก็ตอบได้ว่าคือ Pre pyloric ulcer โดยพบ 3 lesion

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,074. จะพบผู้ป่วย Human immunodeficiency virus infection หลังได้รับ ARV แล้วมีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง

จะพบผู้ป่วย Human immunodeficiency virus infection หลังได้รับ ARV แล้วมีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูงมีหลักการหรือแนวทาง รวมถึงข้อควรระวังในการดูแลรักษาภาวะดังกล่าวอย่างไรครับ?

ภาพจาก http://www.heart-consult.com/files/cholesterol%20and%20heart%20diseases.jpg

แต่การให้ยาลดไขมันก็ต้องระวังเรื่องปฎิกิริยาระหว่างยาซึ่งก็สามารถไปเปิดดูที่ภาคผนวกในหนังสือหนังสือแนวทางการตรวจวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ระดับชาติ ปี พ.ศ. 2553 อีกครั้งตามลิ้งค์ครับ

1,073. Pseudohyperkalemia

หญิง 62 ปี Hx. โรคเลือด วันนี้ CBC: WBC 53,000, N 94%, PLT 990,000, Hct 32%, K+ 6.61, EKG ดังภาพ
Dx? Mx.?


Pseudohyperkalemia

มีสาเหตุมากมายแต่ในกรณีนี้ผู้ป่วยมีความผิดปกติของระบบเม็ดเลือด

โดยสามารถเกิดได้เมื่อเกล็ดเลือด >500,000/mm3, เม็ดเลือดขาว > 70,000/mm3, หรือปริมาณเม็ดเลือดแดงสูง (hematocrit > 55%) เมื่อเจาะเลือดมาแล้วทิ้งไว้จะมีการ leakage ของ K+ จาก cell membranes ดังนั้นการแก้อาจทำโดยการส่งเลือดตรวจทันที

ซึ่งเมื่อประสานกับห้องปฎิบัติการและตรวจเลือดพบว่าค่า K+ = 5.4 และผู้ป่วยเองก็ไม่มีอาการผิดปกติอะไร และขอขอบคุณความเห็นที่เสนอวิธีการแก้มาให้ครับ(อ่านเพิ่มในความเห็น)

Ref: http://en.wikipedia.org/wiki/Hyperkalemia

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,072. Cerebral autoregulation

รูปนี้แสดงอะไร มีความสำคัญในทางการแพทย์อย่างไร?


ขอขอบคุณทุกๆ ความเห็นนะครับ

เป็นภาพแสดง Cerebral autoregulation

-ในคนปกติ Cerebral blood flow ถูกควบคุมให้อยู่ภายในระดับตามเส้นทึบแต่เมื่อมีภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรัง cerebral autoregulation จะสูงขึ้นไปทางด้านขวาดังเส้นปะ
-ในกราฟ ถ้าคนปกติ Cerebral blood flow จะลดลงเมื่อ MAP น้อยกว่า 60 mmHg แต่คนที่มี chronic HT จะพบว่า Cerebral blood flow จะลดลงตั้งแต่ที่120 mmHg ดังนั้นถ้ามีภาวะที่มีการลดของ MAP ทันทีทันใดเพียงแค่ต่ำกว่า 120 mmHg อาจจะทำให้ cerebral blood flow ลดลงทำให้เกิดการขาดเลือดของสมองได้ จึงนำหลักการนี้มาใช้เพื่อประโยชน์ในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสููงเรื้อรัง

1,071. Abnormal movement

หญิง 72 ปี DM, HT พบมีความผิดปกติของการเคลื่อนไหว มามากกว่า 3 เดือน Dx?, Mx?


ขอขอบคุณทุกๆ ความเห็นครับ

Chorea คือ การเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่อง ไม่เป็นจังหวะและไม่มีแบบแผนที่แน่นอน (continuous flow of random movements) ไม่ซ้ำแบบเดิมทุกครั้ง เกิดจากรอยโรคที่ caudate nucleus และ putamen ใน basal ganglion
ดูYoutube: http://www.youtube.com/watch?v=OveGZdZ_sVs

Athetosis คือ ลักษณะการเคลื่อนไหวคล้าย chorea แต่จะช้า และน้อยกว่า
ดูYoutube: http://www.youtube.com/watch?v=I63SobW58J0&feature=related

Choreaathetosis คือ คำที่เรียกรวมระหว่าง chorea กับ athetosis เนื่องจากมีลักษณะไกล้เคียงกัน

Ballism คือ การเคลื่อนไหวที่คล้าย chorea แต่จะรุนแรงกว่า คล้ายการแกว่งของต้นแขนและต้นขา
ดูYoutube: http://www.youtube.com/user/pavedroad#p/a/u/1/fCL7RWaC3RA(ballismข้างเดียว (ballismข้างเดียว)

Generalized chorea เป็นอาการ chorea ที่เกิดทั่วร่างกาย chorea แบบนี้เป็นแบบที่พบได้เป็นส่วนใหญ่
แต่บางกรณีจะเกิดเฉพาะส่วนของร่างกาย ซึ่งจะบ่งบอกถึงรอยโรคในสมองโดยเฉพาะในส่วนของ basal ganglia

อ้างอิงและอ่านต่อเรื่องสาเหตุ http://mdnote.wikispaces.com/Chorea

วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,070. Drkupe.blogspot.com

แนะนำ Webblog ทางการแพทย์ Drkupe.blogspot.com
เป็นเรื่องทางการแพทย์มีรูปภาพประกอบสวยงาม แต่ที่ผมชอบมากคือ เรื่องการอ่าน EKG มีรูปสวยงาม ทำให้เข้าใจง่าย จดจำง่าย ลองเข้าไปเยี่ยมชมดูนะครับ...

ตัวอย่างภาพเรื่องการอ่าน EKG

1,069. Common bile duct (CBD) stone

ชาย 79 ปี ตัวเหลือง ตาเหลือง 2 สัปดาห์ ไม่ไข้ ไม่ปวดท้อง ตรวจพบ Mark icteric sclera, Abd: not tender, no organomegaly, no mass, TB 21.5, DB 16.7, ALP 440, ALB 3.4,  U/S พบดังนี้   ตรงลูกศรชี้ Dx?



ขอขอบคุณความเห็นของน้องสน

 เป็น case ของพี่ศัลย์: ให้การวินิจฉัย common bile duct(CBD) stone ครับ โดยเห็น posterior acoustic shadowing ร่วมด้วย แต่เป็นภาพที่ดูเป็นช่วงๆ ไม่ใช่ real time หรือทำเองจึงอาจจะดูยากสักหน่อยครับ

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,068. Webblog cardiology/Drsvenkatesan.wordpress.com

แนะนำ Webblog cardiology

เนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องของ cardiology มากมายทุกอย่างมีให้เลือกอ่าน เขียนอ่านง่าย แบ่งเป็นหัวข้อได้ดี เชิญแวะเยี่ยมชมดูนะครับ...


วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,067. การประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน

การประเมินความเสี่ยงโรคกระดูกบาง กระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มีการสูญเสียมวลกระดูกทำให้ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงและมีความเสื่อมของโครงสร้างในระดับจุลภาคมีผลทำให้กระดูกเปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักเพิ่มขึ้นปัจจุบันเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขทั้งต่างประเทศและในประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามอายุขัยของประชากรที่ยืนยาวขึ้นรวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น รวมทั้งวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ภาวะกระดูกหัก จากโรคกระดูกพรุนยังเป็นสาเหตุหนึ่งของการเสียชีวิตและทุพลภาพ ผู้ป่วยต้องได้รับการช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิต และต้องพึ่งพาผู้อื่น

สำหรับประเทศไทยมีการศึกษาถึงความชุกในการเกิดโรคกระดูกพรุนในสตรีไทยอายุ 40-80 ปี พบว่าความชุกของการเกิดสัมพันธ์สัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น จากรายงานทางระบาดวิทยาของมูลนิธิกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย พบผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปร้อยละ 19-21 เป็นโรคกระดูกพรุนของกระดูกสันหลังส่วนเอว และร้อยละ 11-13 โรคกระดูกพรุนของกระดูกคอและสะโพก ผู้หญิงไทยอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปพบอุบัติการณ์ของกระดูกสะโพกหัก 269 ครั้งต่อประชากร แสนรายต่อปี ขณะที่อุบัติการณ์ของกระดูกสะโพกหักในผู้ชาย พบ 114 ครั้งต่อประชากรแสนรายต่อปี
กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อรคกระดูกบาง ดังนี้
1.ผู้สูงอายุ หรือ ผู้หญิง
2.คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
3.คนที่มีรูปร่างผอมบางและมีความสูงไม่มาก
4.คนผิวขาว คนเอเชียหรือคนสเปน
5.คนที่เคยมีประวัติกระดูกหักมาก่อน
6.คนที่มีฮอร์โมนเพศต่ำ
7.คนที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
8.คนที่รับประทานอาหารประเภทแคลเซียมและวิตามินดีไม่เพียงพอ
9.คนที่บริโภคคาเฟอีน โซเดียมและโปรตีนในปริมาณมากๆ
10.คนที่สูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์
11.คนที่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการรับประทานหรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
12.คนที่ใช้ยาประเภทสเตียรอยด์
ใครอยากรู้ความเสี่ยงด้านกระดูกบางของตัวเอง ลองเข้าตาม Link โปรแกรมคำนวณภาวะเสี่ยงกระดูกบางได้ครับ โดยกรอกข้อมูลอายุและน้ำหนักก็จะคำนวนความเสี่ยงออกมาจากทั้งสองสูตร

Link http://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/hp/OSTA_KKOS.php

1,066. ตำราเกี่ยวกับงานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์

แนะนำหนังสือ ตำราเกี่ยวกับทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ 2 เล่มครับ จากคุณหมอใจดี

"เรียน เพื่อนแพทย์ทุกท่าน
กระผม นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ แพทย์เฉพาะทางสาขาอาชีวเวชศาสตร์ ทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา ในปีนี้ผมได้เขียนตำราเกี่ยวกับงานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ขึ้นมา 2 เล่ม จะขออนุญาตแจกจ่ายให้แก่เพื่อนแพทย์ทุกท่านที่มีความสนใจในศาสตร์ทางด้านนี้ ครับ ท่านสามารถดาวน์โหลดได้ตามลิงค์ข้างล่างนี้เลยครับ
ดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์นี้"

เล่มที่ 1 คู่มือการลงรหัส ICD-10 สำหรับโรคจากการประกอบอาชีพ


เล่มที่ 2 การดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทำงาน

 http://cid-793eb8fc02b736f3.office.live.com/self.aspx/.Documents/Book%20return%20to%20work.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,065 Genomics and drug response

Genomics and drug response
Review Article
Genomic Medicine
N Engl J Med     March 24, 2011

Pharmacogenomics เป็นการศึกษาบทบาทของยีนทั้งที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธ์และเกิดขึ้นภายหลังในการตอบสนองต่อยา  ตัวอย่างของความเกี่ยวข้องของ pharmacogenetic ทางด้านการแพทย์ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเมตาโบลิซึมของยา ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันมาหลายทศวรรษแล้ว แต่เมื่อเร็วๆ นี้ งานทางด้าน pharmacogenetics ได้พัฒนาสู่ pharmacogenomics  โดยมีการเปลี่ยนจากการมุ่งเน้นเกี่ยวกับยีนในรายบุคคลมาเป็นการศึกษาถึงเชื่อมโยงของพันธุกรรมที่หลากหลายกับความสัมพันธ์ในการตอบสนองต่อยา(genomewide association studies)  เช่นการศึกษาเพื่อการค้นหาสิ่งที่บ่งบอกว่าพันธุกรรมในบุคคลใดที่จะได้รับผลกระทบจากความผิดปกติหรือการแสดงออกในการตอบสนองต่อยา รวมถึงศึกษาในผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบดังกล่าว ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างทางพันธุกรรมโดยใช้การศึกษาแบบ case control
ในตัวอย่างนี้เป็นบทความของวารสาร โดย McCormack และคณะ เป็นการทดสอบเพื่อหาความสัมพันธ์ของความเชื่อมโยงทางพันธุกรรม การค้นหาแยกแยะ HLA allele ที่สัมพันธ์กับปฎิกริยาการตอบสนองที่ไวต่อยา carbamazepine ซึ่งเป็นยากันชักและเป็นยาสำหรับรักษาเพื่อควบคุมอารมณ์(mood-stabilizing drug) ในผู้ป่วยชาวยุโรป
โดย Pharmacogenomics ยังช่วยกระตุ้นในการค้นหาตัวบ่งบอกทางชีวภาพ ซึ่งช่วยให้แพทย์เลือกใช้ยาได้เหมาะสมที่สุด รวมถึงขนาดยา ระยะเวลาในการรักษาและผลข้างเคียงจากยา นอกจากนั้น pharmacogenomics สามารถนำมาซึ่งมุมมองใหม่ของกลไกปฎิกิริยาของยา และผลลัพท์ที่สามารถนำมาสู่การพัฒนายาใหม่ๆ เพื่อการรักษา
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ
Cardiovascular Drugs
Agents Used for Infectious Diseases
Antineoplastic Drugs
Aromatase Inhibitors
Clinical Translation
Conclusions

อ่านต่อ http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1010600

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,064. Peritonsillar abscess-Quinsy

หญิง 17 ปี เจ็บคอด้านซ้ายมากมา 4 วัน กลืนแล้วเจ็บ ไข้สูง ปวดเมื่อยร่างกาย ตรวจในคอพบดังนี้ Dx?, Mx?

ขอขอบคุณทุกๆ ความเห็นครับ

ภาพถ่ายอาจจะไม่ชัดเท่าของจริงซึ่ง โดยจะพบว่ามีลักษณะของการบวมแดงของทอนซิลทางด้านซ้ายและลามออกมาโดยรอบ ซึ่งเข้าได้กับฝีของทอนซิล (Peritonsillar abscess หรือ Quinsy) โดยเป็นภาวะแทรกซ้อนของต่อมทอนซิลอักเสบ
การรักษา ให้ยาฉีดทางเส้นเลือดเช่น PGS (High dose)
ให้ยาแก้ไข้ บรรเทาอาการปวด อาจต้องผ่าตัดเจาะหนองออก

Ref http://earnosethroat-clinic.tripod.com/neck1.htm

1,063. Lung abscess-film

หญิง 82 ปี ให้ประวัติว่า 3 ปีก่อนเคยเป็นโรคปอดทางด้านขวา แพทย์บอกว่ารักษาหายแล้ว

CXR วันนี้เป็นดังนี้
คิดว่าโรคที่เป็นเมื่อ 3 ปีก่อนคือ?

เฉลย 
CXR เมื่อ 3 ปีก่อนเป็นดังนี้ ผมว่าเป็นฟิล์มของ Lung abscess ที่สวยมากเลยนะครับ และกลมมากๆ ด้วย


วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,062. Human immunodeficiency virus with pregnancy management

หญิง 32 ปี เพิ่งตรวจพบว่าเป็น UP,  CD4 855 (21%) ตั้งครรภ์ GA 12 wks. จะให้การดูแลรักษาอย่างไรครับ?

เริ่ม AZT+3TC+LPV/r เมื่ออายุครรภ์ 14 สัปดาห์และหยุดยาหลังคลอด ส่วนในช่วงคลอดอ่านเพิ่มตามลิ๊งค์นะครับ


1,061. EKG Challenge

หญิง 61 ปี รู้สึกใจสั่น เหนื่อย 10 นาทีก่อนมา รพ. ตรวจพบ BP 110/70, คลำชีพจรได้ค่อนข้างเบาและเร็ว, Tissue perfusion: good, หัวใจเต้นเร็ว ไม่มี murmur, ปอดไม่มีเสียงผิดปกติ, EKG เป็นดังนี้   Dx?  Mx? (ไม่เคยมีอาการมาก่อน)
Click ที่ภาพเพื่อขยายขนาด

ผมนำกรณีศึกษานี้ลงในเว็บบอร์ด Thaiclinic.com Doctor room ได้ความเห็นอย่างไรแล้วจะมาสรุปอีกครั้งนะครับ...

Progress case ก่อนครับว่า
กำลังจะให้การรักษาปรากฎว่า HR ช้าลงและคลำได้ชัดขึ้น  F/U EKG เป็นดังนี้ครับ

ท่านผู้เชี่ยวชาญ อ. findnumber 1412 จาก Thaiclinic.com Doctor room ให้ความเห็นมาดังนี้ครับ

จาก ekg แผ่นแรก
1. เป็น regular wide-complex tachycardia ประมาณ 210/min WCT คิดไว้ง่ายๆ 6 อย่าง VT, SVT with aberrancy, preexcited SVT เช่น antidromic AVRT, Pacemaker-Mediated Tachycardia (PMT), antiarrhythmic drug, lytes เช่น hyper K (sinoventricular rhythm)
2. สังเกตดูไม่เห็น av dissociation และ ตัวไม่กว้างมาก อยู่ในพิสัยที่ conduct ลงมาจากข้างบนแล้วทำได้
3. ดู frontal plane axis ก็จะเห็นว่าเป็น normal axis บวาบนลงมาซ้ายล่าง คือมันไม่ได้ชี้มาจากข้างล่าง
4. เห็น discordance ใน precordial leads ก็คือมี RS complex ถ้าหมุนจากด้านล่างมันจะเห็นปาดมาทั้งแถบเลยหรือ concordance แต่ก็มี VT ที่ให้ discordance เช่นกันแต่จะเป็น discordance ที่ช่วงแรกที่ conduct จะอืดมากเพราะมันนำไฟฟ้าจากผนังด้านนอกเข้าสู่ endocardium ทำให้ RS interval กว้าง (>100ms) ซึ่งเคสนี้จะเห็นว่า RS interval แค่ 80ms ก็ไม่ favor VT
5. ดู morphology ของ QRS ที่ V1 และ V6 ก็ต้องบอกว่าเหมือน LBBB มากกว่า VT หรือ antidromic AVRT
6. SVT ด้านบนบอกยาก เห็น retrograde P ที่ค่อนข้างเร็ว (short RP) บวกกับประวัติที่เป็นหลายครั้งหายเองได้ก็สนับสนุน AV node dependent อย่าง AVNRT หรือ orthodromic AVRT ที่มี LBBB (new หรือ old ไม่รู้) แต่อย่างหลังไม่ค่อยเหมือนผมดูจาก axis แล้วก็ timing ของ retrograde P

พอมาดู EKG แผ่นสองที่ spontaneously converted เป็น SVT จะเห็นว่า LBBB หายไป, ไม่มี preexcitation ให้เห็น ดูจาก p wave ก็น่าจะเป็น sinus tachycardia ถ้าจะอธิบายเป็นเรื่องเดียวกันก็คิดว่าเป็น AVNRT with rate related/intermittent LBBB หรือ VT ซึ่งก็จัดเป็น VT ที่ unsual มากๆ อาจจะเป็น primary degenerative disease ของ bundle branch เองหรือ DVD (LAD + LCx) disease ถ้าจะให้รู้แน่ๆก็ต้องดู HV จาก EGM ใน lab เคสนี้ผมแนะนำ CAG ก่อน ตามด้วย EP study ครับ

จึงขอขอบคุณมา ณ. ที่นี้ด้วยครับผม

วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,060. Hypercalcemia dueto dehydration

ชาย 23 ปี แข็งแร็งดี ทำนาตากแดดทั้งวัน(เดิมไม่เคยทำหนักเท่านี้) ต่อมาช่วงบ่ายมีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ผลตรวจเลือดเป็นดังนี้ CBC: Hct 56%, Na 134, K+ 4.28, Cl 108, CO2 28, Ca 13.2, CPK 212(normal น้อยกว่า 190 U/L), BUN 21.6, Cr 1.19, Albumin 4.29, PTH 32(N 15-65 pg/ml) จากข้อมูลคิดว่าสาเหตุ Hypercalcemia น่าจะเกิดจากอะไร จะให้การดูแลรักษาอย่างไรครับ?


ขอขอบคุณทุกๆ ความเห็นครับ

ผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการแก้ไขภาวะขาดน้ำ โดยให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ผลติดตามแคลเซียมอีก 1 วันต่อมาปกติ นัดติดตามการรักษาผลแคลเซียมก็ปกติ ผู้ป่วยอาการปกติดี จึงคิดว่าน่าจะมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง(Hypercalcemia) ที่เกิดขึ้นชั่วคราวจากภาวะขาดสารน้ำ

Dehydration. A common cause of mild or transient hypercalcemia is dehydration, because when there is less fluid in your blood, calcium concentrations rise

Ref: http://www.mayoclinic.com/health/hypercalcemia/DS00976/DSECTION=causes

1,059. Wellen's sign and Wellen's syndrome

ช่วงนี้มีการพูดถึง Wellen's sign และ  Wellen's syndrome กันบ่อยในเว็บบอร์ด Thiclinic.com Doctor room จึงอยากจะขอถามว่ามีลักษณะอย่างไร มีความสำคัญอย่างไร และจะต้องให้การดูแลรักษาอย่างไรดีครับ?

Wellens’ Syndrome หมายถึงรูปแบบของคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่เกิดขึ้นในระหว่างเจ็บหน้าอกขณะพักแบบ unstable angina ร่วมกับการมีการเปลี่ยนแปลงอยางจำเพาะเจาะจงของ T-wave ใน precordial lead
 เป็นการบ่งบอกว่ามีการตีบของหลอดเลือด proximal left anterior descending artery (LAD) ซึ่ง Dr. Hein J.J. Wellens เป็นคนแรกที่อธิบายปรากฏการณ์นี้ในปี 1982 และมีความสัมพันธ์กับระยะเริ่มแรกของการมี anterior myocardial infarction (MI) ขนาดใหญ่ โดยจะมีการขาดเลือด-การตายของกล้ามเนื้อภายในระยะเวลา 8.5 วันโดยเฉลี่ย และมีการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี (ส่วน Wellen's sign จะหมายถึงลักษณะที่เกิดใน EKG)  ถือได้ว่าเป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อย เช่นในสหรัฐอเมริกาพบได้ 14-18%

ลักษณะของ Wellens’ Syndrome
• Recent history of chest pain
• Little or no elevation of cardiac enzymes
• No precordial Q waves or loss of R waves
• Symmetric, deep TWI or biphasic T waves in V2-V5 or V6 during pain free periods (see figure)
• Minimal (<1mm), if any, ST elevations

คำแนะนำในการดูแลได้แก่
-ควรรีบการพิจารณาเพื่อทำ cardiac catheterization ร่วมกับ angioplasty หรือ coronary artery bypass surgery
ควรจะหลีกเลี่ยงการทำ exercise stress test เพราะจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะผนังกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดได้

เพิ่มเติม แต่ลักษณของ biphasic T wave ใน V2 และ V3 อาจพบได้ประมาณ  24%




วันอาทิตย์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,058. Journal of the American Medical Association, JAMA

แนะนำวารสาร Journal of the American Medical Association, JAMA

Key Objective ของวารสาร
To promote the science and art of medicine and the betterment of the public health

สามารถเริ่มอ่านฟรีได้เมื่อครบ 1 ปี ออกสัปดาห์ละ 1 เล่ม มีผู้นิยมอ่านเป็นอันดับต้นๆ มีเนื้อหาในแต่ละฉบับค่อนข้างหลากหลาย ลองติดตามดูนะครับ...



1,057. แนะนำเว็บไซต์ที่รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญทางการแพทย์ Medical Master of the Month (MMM)

แนะนำเว็บไซต์ที่รวบรวมชีวประวัติบุคคลสำคัญทางการแพทย์ Medical Master of the Month (MMM) โดย นพ. ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์

เป็นกระทู้ชีวประวัติบุคคลสำคัญทางการแพทย์ที่ซึ่งเกิดหรือเสียชีวิตในเดือนนั้นๆและโพสต์ลงใน Thaiclinic.com เริ่มมาตั้งแต่เดือนมกราคม ค.ศ. 2009 จนถึงปัจจุบัน เนื้อหาน่าสนใจ ทำให้ได้ความรู้ประวัติบุคคลสำคัญและวิวัฒนาการทางการแพทย์ ลองติดตามอ่านดูนะครับ...



1,056. Cardiac chambers

ทบทวน CXR กันลืมครับ
หมายเลข 1-10 คือ..........



เฉลย



Ref http://www.crkirk.com/thumbnail/investigations/cxr.htm

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,055 เรียนอายุรศาสตร์อย่างไรให้สนุก

โดยศาสตราจารย์นายแพทย์เกรียง ตั้งสง่า ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวารสารจุฬาอายุศาสตร์ ฉบับ ต.ค. - ธ.ค. 2553 
โดยบรรยาย ณ. ตึกอบรมวิชาการแก่แพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุศาสตร์


File download วารสารฉบับ ต.ค. - ธ.ค. 2553 แล้วเลือก file อ่านอีกทีนะครับhttp://www.cumedicine.org/files/medjournal/23_4/23_4.zip

1,054. Thaiclinic.com Doctor room

ผมได้ลงคำถามวิชาการใน Thaiclinic.com Doctor room เป็นประจำโดยส่วนใหญ่เป็นกรณีศึกษาหรือภาพที่น่าสนใจจากเว็บไซต์ทางการแพทย์หรืออาจเป็นของ รพ. พิมายเอง (ใช้ชื่อในเว็บว่า Phimaimedicine)
อยากให้ลองเข้าไปศึกษาหาความรู้ และมีแพทย์, ปรมาจารย์อีกหลายท่านที่ตั้งคำถามนำเนื้อหาวิชาการมาลง รวมทั้งมีการตั้งคำถามขอความเห็น-ข้อมูลในการตรวจรักษาผู้ป่วยเข้ามาให้ช่วยตอบเรื่อยๆ สามารถตอบและปรึกษาหารือกันได้แบบพี่ๆ น้องๆ ลองเข้าไปเยี่ยมชมนะครับ....



วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,053. American Diabetes Association (ADA) Standards of Medical Care in Diabetes 2011

แนะนำแนวทางการดูแลโรคเบาหวานที่ได้ความนิยมเป็นอย่างยิ่ง
Standards of Medical Care in Diabetes—2011” contains all of the current and key clinical recommendations of the American Diabetes Association (ADA)

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,052. Multiple myeloma

Multiple myeloma
Review Article
Medical Progress
Engl J Med   March 17, 2011

Multiple myeloma เป็นโรคเนื้องอกของพลาสม่าเซลล์ที่มีลักษณะการเพิ่มจำนวนมากขึ้นของพลาสม่าเซลล์ซึ่งเป็นเซลล์ชนิดร้ายภายในพื้นที่เล็กๆของไขกระดูก โปรตีนโมโนโคลนอลในเลือดหรือปัสสาวะจะมีความสัมพันธ์กับการทำงานที่ผิดปกติของระบบอวัยวะในร่างกาย โดยพบ Multiple myeloma ได้ประมาณ 1% ของโรคของเนื้องอก และ 13 % ของโรคมะเร็งทางโลหิตวิทยา
ประเทศทางตะวันตกมีอุบัติการณ์ในแต่ละปีอยู่ที่ 5.6 รายต่อ 100,000 ประชากร ซึ่งอายุเฉลี่ยที่ได้รับการวินิจฉัยคือประมาณ 70 ปี โดย 37% เป็นผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 65 ปี, 26% จะมีอายุระหว่าง 65 - 74 ปี, และ 37% จะมีอายุตั้งแต่75 ปีขึ้นไป
โดยในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้มีการแนะนำการรักษโดยการปลูกถ่ายด้วยเซลล์ต้นกำเนิดของตนเอง และการที่มียา เช่น thalidomide, lenalidomide, และ bortezomib ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดูแลรักษาmytiple myeloma และเพิ่มอัตราการอยู่รอดในผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 60 ปีโดยมีโอกาสของการมีชีวิตอยู่รอดที่10 ปีประมาณ 30%

โดยบทความมีเนื้อหารายละเอียดดังนี้
The Biology of Multiple Myeloma
Clinical Presentation, Diagnosis, and Staging
Treatment
 -Strategies
 -Induction Therapies in Patients Eligible for Transplantation
 -Consolidation and Maintenance Therapies
 -Therapy at Relapse
 -Supportive Therapy
Management of Adverse Events Related to Therapy
Future Directions
Conclusions

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,051. หลักการของแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. ๒๕๕๔

หลักการของแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. ๒๕๕๔

เพิ่งพบจึงอยากให้ได้ลองศึกษากันนะครับ



Link download http://www.scribd.com/document_downloads/50766109?secret_password=&extension=pdf
ถ้า Link ข้างบน download ไม่ได้ให้ใช้ link นี้ครับ http://www.udo.moph.go.th/post-to-day-2/upload/579436460/1347532555.pdf

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,050. Evaluation of the Chest Radiograph

Evaluation of the Chest Radiograph

เว็บไซต์นี้เขียนสรุปเรื่องการตรวจ CXR ได้กระชับ แบ่งเป็นสัดส่วนดี มีทั้งเทคนิค คุณภาพฟิลม์ ท่าที่ใช้ตรวจ การแปลผล ตัวอย่าง CXR ต่าง ๆ จึงอยากให้ได้เข้าไปลองศึกษากันครับ....

1,049. พี่พยาบาลทำนวัตกรรมเสื้อสำหรับใส่ตรวจ EKG ซึ่งผู้ป่วยพึงพอใจมาก

Post นี้เปลี่ยนบรรยากาศมาเป็นนวัตกรรมที่เข้ามามีบทบาทช่วยในการตรวจของเรากันบ้างนะครับ เผื่อมีใครอยากจะนำไปใช้บ้าง
พี่พยาบาลทำนวัตกรรมเสื้อสำหรับใส่ตรวจ EKG (สามารถประยุกต์ใช้ในการตรวจ breast , U/S chest, Echo ได้ด้วย) ตัวเสื้อสามารถติด chest  lead ได้ทั้ง V1-V6 และสามารถปกปิดอวัยวะที่เป็นส่วนสงวน เช่น  Breast, nipple และ axillary โดยเฉพาะในผู้ป่วยเพศหญิง เป็นการพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยพึงพอใจมาก
แต่ภาพที่นำเสนอ เป็น จนท.ชายของโรงพยาบาลพิมายเอง ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ Email : chalun14@gmail.com  ชลัญธร ตรียมณีรัตน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ


1,048. AHA Guidelines on prevention of rheumatic fever and diagnosis and treatment of acute streptococcal pharyngitis

AHA Guidelines on prevention of rheumatic fever and diagnosis and treatment of acute streptococcal pharyngitis


เนื้อหาประกอบด้วย
-Primary prevention of rheumatic fever
-Diagnosis of streptococcal pharyngitis
-Other recommendation seatment of streptococcal pharyngitis
-Secondary prevention of rheumatic fever
-Secondary prophylaxis
-Poststreptococcal reactive arthritis

Ref: http://www.aafp.org/afp/2010/0201/p346.html

วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,046. Picture quiz, Student BMJ



Picture quiz

แนะนำเว็บไซต์ Picture quiz ของ Studen BMJ (British Medical Journal) จะมีภาพทางการแพทย์ที่น่าสนใจ ให้ตอบและมีเฉลยให้ แต่ต้องลงทะเบียนก่อน ซึ่งก็ไม่ยากเพียงแค่กรอกข้อมูล Email, Status, Username, Password หลังจากนั้นก็เข้าไปตอบและเรียนรู้ได้ โดยจะมีเฉลยและการ discussion แต่อาจจะออกไม่บ่อยนักเช่น อาจมีเว้นบางเดือน หรือบางเดือนก็มีหลายหัวข้อ ลองติดตามดูนะครับ...

Link http://student.bmj.com/student/picturequiz-landing.html?action=picturequizLanding

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,045. Gynecomastia

พบชาย 64 ปี มีปัญหา Gynecomastia ข้างขวามา 3 เดือน
จึงถามว่านอกจากต้อง W/U หา pathologic conditions แล้ว ในผู้สูงอายุสามารถเป็น physiologic phenomenon ได้หรือไม่ อย่างไร

นอกเหนือจากการหาสาเหตุแล้ว Normal physiologic phenomenon ของ gynecomastia มีได้ 3 ระยะ สามารถพบได้ในเด็กแรกเกิดเนื่องจากฮอร์โมนเอสโตเจนจากมารดาผ่านมาทางรก, ระหว่างเข้าสู่วัยรุ่น เนื่องจาการมีอัตราส่วนของ estrogen:androgenสูง  และในช่วงวัยชราเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของเนื้อเยื่อไขมันและการทำงานที่เพิ่มมากขึ้นของ aromatase ) แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้พยาธิสภาพที่มีผลให้เกิดการขาด androgen หรือการเพิ่มขึ้นของ estrogen ส่วการ approach ขอให้จากข้างล่างครับ

ส่วนการ approach ของ gynecomastia มีดังนี้


วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554

1,044. Empyema thoracis

ชาย 36 ปี ไข้ ไอ แน่นอกขวา 1 เดือน ได้รับยาต้านจุลชีพรับประทานมาแล้ว 2 สัปดาห์ อาการไม่ดีขึ้น ตรวจพบไม่หอบเหนื่อย เสียงหายใจปอดด้านขวาลดลง CXR และ U/S ตำแหน่งที่เป็นรอยโรคพบดังนี้ มี DDX. อะไรบ้างครับ? (CXR ซ้ำก็ยังคล้ายเดิม)


Aspirate ได้ pus (empyema) thoracisแต่ gram stain และ AFB: negative ใส่ ICD แล้วระบายหนองออกได้ประมาณ 400 ml. ครับ ผลตรวจพบ WBC 86,000 /cu mm, RBC 2,000 /cu mm, PH 6.2, Gram stain และ AFB: negative

1,043. Renal tubular acidosis

หญิง 75 ปี อ่อนเพลีย ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ได้รับประทานยาใด พบมีโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
ผลเลือด Na 134, K 2.7, Cl 110, HCO3 15, Mg 2.8, urine K 59, BUN 15, Cr 0.93
คิดว่าสาเหตุเบื้องต้นน่าจะเกิดจาก?

พบมีโปแตสเซียมออกมาในทางปัสสาวะ (renal loss) และพบมี metabolic acidosis โดยมี normal anion gap ซึ่งเป็นลักษณะของ hyperchloremic metabolic acidosis จากประวัติและการตรวจร่างกายน่าจะตัดสาเหตุที่เกิดจาก GI loss และ Chronic hypoventilation ออกไปได้ จึงอยู่ในกลุ่ม renal tubular acidosis การจะแยกว่าเป็น proximal หรือ distal type โดยดูตามแผนภาพต่อ