วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

988. Gout

Gout
Clinical practice
The New England Journal of Medicine   February 3, 2011


เกาต์เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกเกลือโมโนโซเดียมยูเรตในเนื้อเยื่อและน้ำไขข้อ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการมีกรดยูริคในเลือดสูง(hyperuricemia) ซึ่งภาวะนี้มีนิยามคือการมีระดับซีรั่มของยูเรตเท่ากับหรือมากกว่า 6.8 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (404 μmolต่อลิตร) ซึ่งเป็นจุดที่การละลายของยูเรตมีความจำกัด
มนุษย์ไม่มีเอนไซม์ uricase จึงไม่สามารถแปลงเปลี่ยนยูเรตเป็น allantoin ที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายของ purine metabolism  การมีกรดยูริคในเลือดสูงเกิดจากการผลิตยูเรตมากเกินไปหรือมากกว่าปกติโดย การขับกรดยูเรตของไตเป็นสิ่งที่จำเป็น แต่ไม่เพียงพอจึงก่อให้เกิดโรคเก๊าต์
ใน cohort study หนึ่ง เกาต์เกิดขึ้นเพียง 22% ของผู้ที่มีระดับยูเรตมากกว่า 9.0 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (535 μmolต่อลิตร) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี
เกาต์มีลักษณะทางคลินิกสองช่วง ระยะแรกเป็นลักษณะภาวะเฉียบพลันที่เกิดขึ้นชั่วคราว ซึ่งจะสามารถดีขึ้นได้เองในช่วง 7 ถึง 10 วัน ร่วมกับการที่ไม่มีอาการแสดงในระหว่างช่วงนี้
การรักษาภาวะกรดยูริคในเลือดสูงอย่างไม่พอเพียงกับจะเปลี่ยนไปสู่ระยะที่สองโดยมีลักษณะตุ่มก้อนเรื้อรัง มักเกิดกับหลายๆข้อ อาการจะมีระหว่างการเกิดอาการเฉียบพลันและการสะสม (tophi) ในเนื้อเยื่ออ่อนหรือข้อต่อ แม้ว่าความชุกของการเกิดก้อนเกาต์แตกต่างกันไปในหมู่ประชากร ซึ่งการศึกษาหนึ่งพบว่าก้อน tophi ตรวจพบได้สามในสี่ของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ที่ไม่ได้รับการรักษาเป็นเวลา 20 ปีหรือมากกว่านั้น อาการกำเริบซ้ำพบได้บ่อย จากการศึกษาหนึ่งพบว่าประมาณอย่างน้อยสองในสามของผู้ป่วยเคยมีอาการกำเริบกระทันหันอย่างน้อยหนึ่งครั้งในรอบปีที่ผ่านมา
โดยเนื้อหาประกอบไปด้วย
The Clinical Problem
-Symptoms and Prevalence
-Risk Factors
Strategies and Evidence
Treatment Options
-Acute Gout
-Hyperuricemia
-Pharmacologic Approaches
-Lifestyle, Nutrition, and Adjunctive Therapies
-Flare Prophylaxis during Initiation of Urate-Lowering Therapy
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น