หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

1,022. มีข้อบ่งชี้ในการให้ยาanticoagulant ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ใดบ้าง?

พบผู้ป่วยที่มีหัวใจล้มเหลวเรื้อรังเป็นจำนวนมาก จะมีข้อบ่งชี้ในการให้ยาAnticoagulant ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรังอย่างบ้าง?



การใช้ยา anticoagulants เช่น warfarin ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง
คำแนะนำระดับ ++
ควรให้ยากลุ่ม anticoagulant คือ warfarinในระยะยาว โดยปรับระดับ INR อยู่ระหว่าง 2-3 ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันซ้ำ หรือ thromboembolic events ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ซึ่งพบร่วมกับภาวะดังต่อไปนี้ (คุณภาพของหลักฐานระดับ 1)
- AF ที่เคยเกิดลิ่มเลือดอุดตัน แบบ systemic emboli
- เคยมี pulmonary emboli, venous thrombosis ที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน มาก่อน
- มีลิ่มเลือดในหัวใจห้องล่างซ้าย (LV thrombus)
คำแนะนำระดับ +
อาจใช้ยากลุ่ม anticoagulant ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ที่มี AF (คุณภาพของหลักฐานระดับ 2 และ 3)
คำแนะนำระดับ +/-
อาจใช้ยากลุ่ม anticoagulant ในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ที่มีภาวะดังต่อไปนี้ร่วมด้วย (คุณภาพของหลักฐานระดับ 2 และ 3)
- การบีบตัวของหัวใจลดลง (LVEF < 35%)
- มีการโป่งพองของผนังหัวใจห้องซ้ายล่างโป่งพอง (left ventricular aneurysm)
- Recent large MI โดยเฉพาะ anterior wall MI อาจต้องให้ anticoagulant ในช่วง 3-4 เดือนแรก การให้ระยะยาวอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
คำแนะนำระดับ -
ไม่แนะนำให้ใช้ anticoagulant ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวหากไม่มีข้อบ่งชี้อื่นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น (คุณภาพของหลักฐานระดับ 2)

Ref + download ไว้อ่านhttp://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/CHFGuideline.pdf

5 ความคิดเห็น:

  1. ชาร์ป27/2/54 22:37

    Anticoagulation in patients with heart failure: who, when, and why?

    Warfarin therapy in HF, based on clinical practice guidelines
    ACCP 2004 Descriptive, no specific recommendation
    ESC 2005 HF with AF
    HF with previous thrombo-embolism
    ACC/AHA HF with AF
    2005 HF with previous thrombo-embolism
    HF with mobile LV thrombus
    MI with mural thrombus (with or without HF)
    HFSA 2006 HF with AF
    HF with previous thrombo-embolism
    HF with mobile LV thrombus
    MI with mural thrombus (with or without HF)
    HF with EF less than 35%
    refenrence :http://eurheartjsupp.oxfordjournals.org/content/8/suppl_E/E32/T2.expansion.html

    ตอบลบ
  2. ชาร์ป27/2/54 22:37

    อุ้ย ลบยังไงคับเนี่ย มันอ่านไม่รู้เรื่อง

    ตอบลบ
  3. อ่านรู้เรื่อง ไม่ต้องลบก็ได้ครับ

    ตอบลบ
  4. อ่านรู้เรื่องค่ะ ช่วยยืนยัน อิอิ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ1/8/57 08:55

    I used to be able to find good advice from your blog posts.


    Here is my site :: after effects run through wall; ,

    ตอบลบ