วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

943. Glycemic control in the ICU

Glycemic control in the ICU
Clinical Practice
N Engl J Med     December 23, 2010

Stress hyperglycemia เป็นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดในภาวะที่มีการเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นในสภาวะที่มีการเจ็บป่วยรุนแรงได้แก่การหลั่งของฮอร์โมน เช่น epinephrine และ cortisol การใช้ยาเช่น exogenous glucocorticoids และ catecholamines รวมถึงการหลั่งสารที่เป็นสื่อกลางในกรณีที่มีการติดเชื้อในร่างกายหรือภาวะการบาดเจ็บจากการผ่าตัด ภาวะต่างๆ ดังกล่าวที่กล่าวมาจะยับยั้งการหลั่งและยับยั้งการทำงานอินซูลิน ดังนั้นจึงเพิ่มการสร้างน้ำตาล ยับยั้งการการสังเคราะห์ไกลโคเจน และทำให้เกิดความเสียหายต่อขบวนการที่อินซูลินจะเก็บน้ำตาลเข้าสู่เนื้อเยื่อ การให้เด็กโตรสทางหลอดเลือดดำ การใช้เด็กโตรสเพื่อผสมยาปฎิชีวนะ สามารถก่อให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงในห้องไอซียูไม่ได้บ่งบอกว่าจะมีการพยากรณ์โรคเลวร้ายเสมอไปโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานอยู่ก่อนแล้ว ในทางกลับกัน ภาวะน้ำตาลในเลิอดสูงมีการเชื่อมโยงกับผลที่ไม่ดีในผู้ป่วยที่ไม่รู้ว่าเป็นเบาหวานก่อนและเข้ามารับการรักษาในไอซียู และโดยเฉพาะในผู้ที่มีกลุ่มอาการหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดสมอง บ่อยครั้งที่ความสัมพันธ์นี้แสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของการเจ็บป่วย (เช่น โอกาสในการเกิดภาวะน้ำตาลในเลิอดสูงจะพบมากในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่เจ็บป่วยรุนแรงน้อยกว่า) แต่ภาวะน้ำตาลในเลิอดสูงเองยังอาจนำไปสู่ภาวะของโรคได้ จากข้อมูลการสังเกตพบว่าค่าระดับน้ำตาลในช่วง 79-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (4.4-11.0 มิลลิโมลต่อลิตร), ระยะเวลาที่นานขึ้นของการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีความสัมพันธ์ผกผันกับอัตราการอยู่รอด
กลไกหลายอย่างได้รับการตั้งสมมติฐานเพื่ออธิบายวิธีการที่ภาวะน้ำตาลในเลิอดสูงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย กลไกที่อาจเป็นไปได้คือ มีการเพิ่มความไวต่อการติดเชื้อ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่นำไปสู่ผลลัพท์ที่แย่ในผู้ป่วยวิกฤต อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะกำหนดระดับของน้ำตาลว่าสูงที่ระดับใดจะมีอันตรายต่อเนื้อเยื่อ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น