วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

913. Influenza vaccines for the future

Influenza vaccines for the future
Review article
Current concepts
N Engl J Med    November 18, 2010

ในแต่ละปีพบว่าการระบาดของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลก่อให้เกิความรุนแรงและเสียชีวิตทั่วโลก ในประเทศสหรัฐอเมริกาแต่ละปีพบว่ามีการติดเชื้อประมาณว่า 25,000,000-50,000,000 ราย ส่งผลให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 225,000 ราย
   ในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมาตัวเลขประมาณการของการเสียชีวิตไข้หวัดใหญ่ต่อปีในสหรัฐอเมริกามีอยู่ระหว่าง 3,349 ถึง 48,614 ราย ส่วนใหญ่ของการเสียชีวิต (มากกว่า 90%) เกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมักจะมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ซึ่งองค์การอนามัยโลกจะใช้การประมาณการเหล่านี้เพื่อคาดการณ์ พบว่าแนวโน้มทั่วโลกของการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่จะมากถึง 1 พันล้านราย โดยจะมีอาการของโรคอย่างรุนแรง 3,000,000-5,000,000 ราย และจะเสียชีวิตระหว่าง 300,000 และ 500,000 รายต่อปี การระบาดใหญ๋เป็นวงกว้างทั่วโลกของไข้หวัดใหญ่ที่มีอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตแตกต่างกันได้เกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะที่ระบาดในปี 1918-1919 ประมาณกว่า 50 -100 ล้านคนทั่วโลก
   เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถแยกได้ครั้งแรกในมนุษย์เมื่อปี 1933 โดยมี 8 single-stranded RNA และ encode 11 viral proteins ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีสามประเภท คือ A, B, และ C โดยชนิด A และ B ที่ทำให้เกิดการระบาดประจำปีในมนุษย์ คุณลักษณะที่สำคัญคือการมี error-prone polymerase ซึ่งส่งผลให้เกิดการสะสมทางพันธุกรรมของการกลายพันธุ์ที่จำเพาะสำหรับ hemagglutinin (HA) และส่วนน้อยต่อ neuraminidase (NA) ซึ่งเป็นไกลโคโปรตีนบริเวณผิวเซลที่สำคัญของไวรัส
   การเปลี่ยนแปลงแอนติเจนเพียงเล็กน้อย (antigenic drift) ของโปรตีน HA ทำให้มนุษย์มีความไวต่อการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหม่ๆ และเป็นพื้นฐานที่มาของการปรับปรุงพัฒนาองค์ประกอบของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ใหม่ๆ ตามตามฤดูกาล การปกป้องร่างกายหลังการติดเชื้อตามธรรมชาติเป็นหน้าที่หลักของ HA-specific antibodies ที่อยู๋ในซีรั่มและเนื้อเยื่อซึ่งมีแอนติบอดีที่ต่อต้านกับ NA
    ไวรัสใหม่สามารถเกิดขึ้นในมนุษย์ทั้งผ่านการส่งระหว่างสปีชีส์โดยตรงหรือเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนโมเลกุลระหว่างไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่ติดเชื้อในมนุษย์แล้ว เพราะจีโนมของไวรัสไข้หวัดใหญ่มีลักษณเป็นท่อน ๆ ดังนั้นเชื้อไวรัสมากกว่า 2 ชนิดในโฮสเชลล์เดียวอาจมีโอกาสให้มีการจับคู่ชิ้นส่วนของ RNA เกิดเป็นไวรัสย่อยชนิดใหม่ (reassortment)
การเปลี่ยนยีนในกรณีที่เซลล์มีการติดเชื้อ 2 subtypes ที่แตกต่างกัน กลายเป็น subtype ใหม่ (antigenic shift) สามารถนำไปสู่การระบาดใหญ่หากเชื้อไวรัสส่งผลให้ลูกหลานมีโปรตีน HA ที่มนุษย์ไม่มีภูมิคุ้มกันมาก่อน ถ้ามีความสามารถในการเพิ่มจำนวนก็จะเกิดการแพร่กระจายจากมนุษย์สู่มนุษย์ ซึ่งจะเป็นลักษณะกรณีของไวรัส H1N1 2009

อ่านต่อ: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMra1002842

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น