หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

903. Subclinical hyperthyroidism

Subclinical hyperthyroidism จะมีแนวทางในการรักษาอย่างไร


การรักษาภาวะ subclinical hyperthyroidism ก็เพื่อหวังผลลดอุบัติการการเกิดความผิดปกติของโรคหัวใจ อันได้แก่ atrial fibrillation และการเกิดโรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยสูงอายุ ในกรณีที่เกิดจาก endogenous subclinical hyperthyroidism ที่ไม่มีอาการ ควรได้รับการตรวจวัดระดับ TSH ซ้ำร่วมกับการตรวจวัดระดับธัยรอยด์ฮอร์โมน ถ้าระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนปกติร่วมกับ TSH ต่ำ ควรได้รับการตรวจ RAI uptake ร่วมกับ scan ซึ่งจะช่วยในการรักษาและติดตามผู้ป่วยต่อไป ในกรณีที่ตรวจพบเป็น hyperfunctioning nodules ควรให้การรักษาด้วย I131 หรือการผ่าตัด ถ้าเป็น diffuse uptake อาจเป็น Graves’ disease ในผู้ป่วยสูงอายุหรือมีโรคหัวใจหรือมีโรคกระดูกพรุนให้พิจารณาการรักษาด้วย I131 หรือ antithyroid drug ไปเลย ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสามารถทำให้ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษา38,39ส่วนในผู้ป่วยที่อายุน้อยและไม่มีอาการอาจติดตามและตรวจการทำงานของต่อมธัยรอยด์ทุก 3-6 เดือนหรือให้การรักษาด้วย antithyroid drug ขนาดต่ำในระยะเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่ RAI uptake และ scan ปกติ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่น Tg Antibodies, TPO Antibodies และ thyroglobulin (Tg) อาจช่วยเป็นแนวทางในการรักษาดังแสดงในแผนภูมิ

 
ผู้ชำนาญการบางท่านให้คำแนะนำสำหรับแนวทางในการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะsubclinical hyperthyroidism ดังนี้
1. ประเมินความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะ subclinical hyperthyroidism โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อการเกิดผลต่อหัวใจและกระดูก โดยกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยหญิงวัยหมดประจำเดือนที่ไม่ได้รับเอสโตรเจน ผู้ที่มีกระดูกบางหรือกระดูกพรุนอยู่แล้ว ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจหรือมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆต่อการเกิด atrial fibrillation ส่วนกลุ่มที่ความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ผู้ที่ไม่มีดังกล่าวข้างต้น
2. พิจารณาระดับ TSH โดยมีหลักการดังนี้
- กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
-ถ้าระดับ TSH น้อยกว่า 0.1 µU/ml ควรให้การรักษาแบบ overt hyperthyroidism
-ถ้าระดับ TSH 0.1-0.5 µU/ml จะให้การรักษาเมื่อพบ hyperfunction area จากการทำ RAI uptake หรือ scan หรือตรวจพบว่ามีความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่าปกติ และจะติดตามในผู้ที่ตรวจไม่พบความผิดปกติดังกล่าวหรือในรายที่ได้รับ beta-adrenergic antagonist
- กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่ำ
-ถ้าระดับ TSH น้อยกว่า 0.1 µU/ml จะให้การรักษาเมื่อพบ hyperfunction area จากการทำ RAI uptake หรือ scan หรือตรวจพบว่ามีความหนาแน่นของกระดูกต่ำกว่าปกติ
-ถ้าระดับ TSH 0.1-0.5 µU/ml จะติดตามการรักษาเท่านั้น
สำหรับในกรณี exogenous subclinical hyperthyroidism การรักษาขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ยาธัยรอยด์ฮอร์โมน ในผู้ป่วยที่มีภาวะ hypothyroidism การใช้ธัยรอยด์ฮอร์โมนจะใช้ในขนาด replacement dose เท่านั้น ผู้ป่วยเหล่านี้ควรได้รับการตรวจวัดระดับ TSH ในระยะแรกทุก 6-8 สัปดาห์เพื่อปรับยาในขนาดที่เหมาะสมหลังจากนั้นควรได้ตรวจทุก 6 เดือน ในกรณีที่ระดับ TSH ต่ำกว่าปกติ ให้ปรับลดขนาดธัยรอยด์ฮอร์โมนลง เพื่อรักษาระดับ TSH ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนในกรณีที่ใช้ในขนาด suppressive dose ควรใช้ขนาดธัยรอยด์ฮอร์โมนต่ำที่สุดที่สามารถรักษาระดับ TSH ให้อยู่ใน therapeutic goal เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียง เช่นในผู้ป่วย thyroid nodule , multinodular goiter หรือ diffuse goiter ระดับ TSH ควรอยู่ระหว่าง 0.1-0.5 µU/ml ส่วนในกรณี thyroid cancer ซี่งจำเป็นต้องให้ในขนาด full suppression มีความจำเป็นที่ต้องติดตามผลข้างเคียงที่อาจเกิดได้ และให้การรักษาที่เหมาะสมต่อไป จากการศึกษาพบว่าการให้เอสโตรเจนในรายที่ไม่มีข้อห้ามจะช่วยทำให้ป้องกันการลดลงของความหนาแน่นของกระดูก หรือการให้ beta-adrenergic antagonist จะช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหัวใจได้

Ref: http://www.chatlert.worldmedic.com/docfile/sh.doc

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น