วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 2009 (H1N1)
ประชาชนกลุ่มเสี่ยงใดที่ควรได้รับวัคซีน
คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ซึ่งเป็นคณะอนุกรรมการหนึ่งในคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้มีคำแนะนำในการให้วัคซีน H1N1 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญตามลำดับคือ
1. เพื่อป้องกันระบบสาธารณสุขของประเทศ
2. เพื่อลดอัตราป่วยและอัตราตายของประชาชน
3. เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคในชุมชน
จึงมีการลำดับความสำคัญของการใช้วัคซีนในกลุ่มเป้าหมายตามลำดับ ดังนี้
1. แพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข ที่ดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดโรค
2. หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป
3. บุคคลโรคอ้วนน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป หรือดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัม/เมตร2
4. ผู้พิการทางสมองและปัญญา
5. บุคคลอายุ 6 เดือน – 64 ปี ที่มีโรคประจำตัวตามลำดับ ได้แก่
5.1 โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
5.2 หอบหืด
5.3 โรคหัวใจทุกประเภท
5.4 โรคหลอดเลือดสมอง
5.5 ไตวาย
5.6 ผู้ป่วยมะเร็ง ที่อยู่ในระหว่างได้รับยาเคมีบำบัด
5.7 โรคธาลัสซีเมีย ที่มีอาการรุนแรง
5.8 ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
5.9 ผู้ป่วยเบาหวานที่มีโรคแทรกซ้อน
5.10 ผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่มีโรคแทรกซ้อน
ผู้ที่ไม่ควรรับหรือควรเลื่อนการรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ไปก่อน
ผู้ที่มีภาวะดังต่อไปนี้ ไม่ควรรับวัคซีน
- อายุน้อยกว่า 6 เดือน
- คนที่แพ้ไข่อย่างรุนแรงเพราะวัคซีนผลิตโดยใช้ไข่
- ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่แล้วมีอาการแพ้อย่างรุนแรง
- หากมีไข้หรือเจ็บป่วยควรเลื่อนการรับวัคซีนไปก่อน
กรณีเป็นหวัดเล็กน้อย ไม่มีไข้ สามารถรับวัคซีนได้
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
วัคซีนทุกชนิดสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ สำหรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการบวมแดงบริเวณที่ฉีด มีไข้ ปวดเมื่อย มักจะเริ่มไม่นานหลังฉีด แล้วควรหายภายใน 1-2 วัน การแพ้ถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตมีน้อยมาก ถ้าหากเกิดขึ้นจะปรากฏภายใน 2-3 นาทีถึง 2-3 ชั่วโมงหลังฉีด โดยอาจมีอาการหายใจไม่สะดวก เสียงแหบ หรือหายใจมีเสียงดัง ลมพิษ ซีดขาว อ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หรือเวียนศีรษะ
http://beid.ddc.moph.go.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=32212776&Itemid=240
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น