- ค.ศ.1895 Willem Einthoven(1860-1927) นักสรีรวิทยาชาวดัทช์พบว่าคลื่นหัวใจทั้ง 3 phase นั้นมีจุดหักเหทั้งหมด 5 จุดเขาตั้งชื่อว่า P, Q, R, S และ T หลายคนคงสงสัยว่าทำไม้ทำไมถึงไม่ใช้ ABCDE ก็เพราะตอนนั้นเป็นที่ตกลงกันว่าสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ให้ใช้ตัวอักษรครึ่งหลังของภาษาอังกฤษ เริ่มที่ N ใช้แทนจำนวน(Number) ส่วน O ก็ใช้ใน Cartesian coordinate(แกน x, y, z มีจุดเริ่มต้นเดียวกันคือ O มาจาก Origin ไม่ใช่เลขศูนย์อย่างที่บางคนเข้าใจ) เนื่องจาก N และ O ถูกใช้ไปแล้วเขาจึงใช้ PQRST นั่นเอง ต่อมาค.ศ.1901 Einthoven ปรับปรุง d’Arsonval Galvanometer โดยใช้แท่ง quartz แทนขดลวดเรียกว่า String Galvanometer ซึ่งมีความไวมากขึ้น และในค.ศ.1912 เขาติด lead ที่แขนขวา, แขนซ้ายและขาซ้าย(ลักษณะเหมือนสามเหลี่ยมปัจจุบันจึงเรียกว่า Einthoven’s triangle) วัดคลื่นหัวใจได้ 3 แบบคือ lead I, II และ III เขาเริ่มใช้อักษรย่อ EKG(Elektrokardiogramm) EKG ถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้มากทำให้ Einthoven ได้รับรางวัลโนเบลทางการแพทย์ในปีค.ศ.1924
- ค.ศ.1932 Charles Wolferth และ Francis Wood ติด lead เพิ่มที่ทรวงอกด้านซ้าย 6 lead เรียกว่า V1-V6 ( V มาจาก Voltage)
- ค.ศ.1934 Frank Wilson นำตัวต้านทานไฟฟ้าไปติดที่ lead แขนขวา, แขนซ้ายและขาซ้ายทำการวัดคลื่นหัวใจอีกแบบหนึ่งเรียกว่า VR, VL และ VF ต่อมาค.ศ.1942 Emanuel Goldberger ได้เพิ่ม Voltage ของ Wilson อีก 50% เรียกว่า augmented lead คือ aVR, aVL และ aVF พอรวมกับ lead I, II, III และ V1-V6 จึงกลายมาเป็น 12 lead EKG ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
- ค.ศ.1949 Norman Jeff Holter นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันประดิษฐ์เครื่อง EKG ที่พกพาได้และวัดคลื่นหัวใจได้ตลอดเวลาเรียกว่า Holter Monitor
- ค.ศ.1963 Robert Bruce บอกว่า “ถ้าเราจะซื้อรถมือสองก็ต้องลองขับดูว่าเครื่องยนต์เป็นอย่างไร เช่นเดียวกันถ้าจะดูว่าหัวใจแข็งแรงดีไหมก็ต้องประเมินขณะหัวใจทำงาน” เขาจึงเสนอให้ตรวจ EKG ขณะออกกำลังบนสายพาน(treadmill) ที่เรียกว่า Exercise Treadmill Stress Test นั่นเอง
- ค.ศ.1993 Robert J. Zalenski แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินเสนอให้เพิ่ม lead ที่หน้าอกขวาคือ V4R และเพิ่ม lead ที่ด้านหลังอีก 2 lead คือ V8 และ V9 เป็นทั้งหมด 15 lead เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคของหลอดเลือดหัวใจ(Acute Coronary Syndrome)
ที่มา: http://www.geocities.ws/jo_aom/ekg.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น