หน้าเว็บ

วันพุธที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553

861. Acute extrapyramidal side effect of antipsychotic drug

ในเวชปฏิบัติต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคจิตเภท อาจพบผลข้างเคียงจากยา ถามว่า Acute extrapyramidal side effect จากยารักษาโรคจิตมีอะไรบ้าง จะให้การรักษาอย่างไร


อาการ Acute Extrapyramidal side effect จะประกอบไปด้วยอาการดังต่อไปนี้

Akathisia ผู้ป่วยรู้สึกกระวนกระวายในใจ จนนั่งไม่ติดที่และจะผุดลุกผุดนั่งตลอดเวลา ต้องขยับแขนขา เดินไปเดินมาตลอดเวลา มักเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการรักษา วิธีแก้ไขหรือลดอาการโดยการให้ยากลุ่ม benzodiazepine ขนาดต่ำ เช่น diazepam , lorazepam , clonazepam หรืออาจใช้ยากลุ่ม anticholinergic และกลุ่ม B-blocker เช่น propranolol
Parkinsonian syndrome (Parkinsonism) เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะกล้ามเนื้อเกร็งแข็ง อาการสั่น เคลื่อนไหวเชื่องช้า เดินไม่แกว่างแขน หน้าไม่ยิ้มหรือแสดงความรู้สึกหรือใส่หน้ากาก (mask-like face)
การรักษา ให้ยากลุ่ม anticholinergic ชนิดใดก็ได้ ปรับขนาดตามอาการ
Acute dystonia ผู้ป่วยมีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อลายบริเวณศีรษะและคออย่างมากและผิดปรกติ เช่น กล้ามเนื้อตามีการดึงรั้งจนเห็นแต่ตาขาว บางคนมีลิ้นแข็ง พูดหรือกลืนลำบาก ตาเหลือก คอบิด(troticollis) หรือบางรายมีหลังแอ่น (opisthotonos) อาการ dystonia นั้นเป็นขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ มักเกิดหลังจากได้รับยาใหม่ ๆ ในไม่กี่ชั่วโมงหรือภายในสัปดาห์แรกของการได้รับยา
วิธีแก้ไข ให้ benztropine เข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อ ในกรณีที่ไม่มี benztropine อาจใช้ diphenhydramine หรือ diazepam ฉีดเข้าหลอดเลือดแทนก็ได้
Neuroleptic malignant syndrome (NMS) มีอาการกล้ามเนื้อเกร็งอย่างมาก ไข้สูง ความดันเลือดและชีพจรขึ้น ๆ ลง ๆ การตรวจเลือดจะพบ serum creatinine ขึ้นสูงมาก มักเกิดภายใน 1 สัปดาห์แรกของการรักษาหรือหลังเพิ่มขนาดยา
วิธีการแก้ไข หยุดยารักษาโรคจิตทันที ให้ bromocriptine ซึ่งเป็น dopamine antagonist และยา antispasticity เช่น dantrolence sodium

ที่มา http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bk521/009wisawatp/acute_extrapyramidal_side_effect.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น