อาการ Acute Extrapyramidal side effect จะประกอบไปด้วยอาการดังต่อไปนี้
Akathisia ผู้ป่วยรู้สึกกระวนกระวายในใจ จนนั่งไม่ติดที่และจะผุดลุกผุดนั่งตลอดเวลา ต้องขยับแขนขา เดินไปเดินมาตลอดเวลา มักเกิดในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการรักษา วิธีแก้ไขหรือลดอาการโดยการให้ยากลุ่ม benzodiazepine ขนาดต่ำ เช่น diazepam , lorazepam , clonazepam หรืออาจใช้ยากลุ่ม anticholinergic และกลุ่ม B-blocker เช่น propranolol
Parkinsonian syndrome (Parkinsonism) เป็นกลุ่มอาการที่มีลักษณะกล้ามเนื้อเกร็งแข็ง อาการสั่น เคลื่อนไหวเชื่องช้า เดินไม่แกว่างแขน หน้าไม่ยิ้มหรือแสดงความรู้สึกหรือใส่หน้ากาก (mask-like face)
การรักษา ให้ยากลุ่ม anticholinergic ชนิดใดก็ได้ ปรับขนาดตามอาการ
Acute dystonia ผู้ป่วยมีอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อลายบริเวณศีรษะและคออย่างมากและผิดปรกติ เช่น กล้ามเนื้อตามีการดึงรั้งจนเห็นแต่ตาขาว บางคนมีลิ้นแข็ง พูดหรือกลืนลำบาก ตาเหลือก คอบิด(troticollis) หรือบางรายมีหลังแอ่น (opisthotonos) อาการ dystonia นั้นเป็นขึ้น ๆ ลง ๆ ได้ มักเกิดหลังจากได้รับยาใหม่ ๆ ในไม่กี่ชั่วโมงหรือภายในสัปดาห์แรกของการได้รับยา
วิธีแก้ไข ให้ benztropine เข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อ ในกรณีที่ไม่มี benztropine อาจใช้ diphenhydramine หรือ diazepam ฉีดเข้าหลอดเลือดแทนก็ได้
Neuroleptic malignant syndrome (NMS) มีอาการกล้ามเนื้อเกร็งอย่างมาก ไข้สูง ความดันเลือดและชีพจรขึ้น ๆ ลง ๆ การตรวจเลือดจะพบ serum creatinine ขึ้นสูงมาก มักเกิดภายใน 1 สัปดาห์แรกของการรักษาหรือหลังเพิ่มขนาดยา
วิธีการแก้ไข หยุดยารักษาโรคจิตทันที ให้ bromocriptine ซึ่งเป็น dopamine antagonist และยา antispasticity เช่น dantrolence sodium
ที่มา http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bk521/009wisawatp/acute_extrapyramidal_side_effect.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น