วันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2553

856. Ranibizumab therapy for neovascular age-related macular degeneration

Ranibizumab therapy for neovascular age-related macular degeneration
Clinical Therapeutics
N Engl J Med        October 21, 2010

Age-related macular degeneration (AMD) หรือโรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ตาบอดในประเทศสหรัฐอเมริกา ในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นเรียกว่า dry AMD โดยมีลักษณะของการเกิดขึ้นแล้วสะสมของdrusen โดยจะสะสมอยู่ที่ extracellular material มีลักษณะเป็นสีเหลืองอยู่ในเรติน่าจากการดูด้วยกล้องส่องตรวจตรวจนัยน์ตา
-เมื่อการดำเนินของแบบแห้ง (dry AMD) มากขึ้นจะมีบริเวณที่เกิดการหดหายของผนังชั้นพี่เลี้ยง (retinal pigment epithelium)
-แบบเปียก (Wet หรือ neovascular AMD)สามารถพบได้ในผู้ป่วยบางคนที่มี dry AMD
-Wet AMD จะมีลักษณะการเจริญเติบโตของเส้นเลือดที่ติดกับและที่อยู่ระหว่างผนังชั้นพี่เลี้ยง (retinal pigment epithelium) รวมถึงรอบๆ เรติน่า
ลักษณะของ choroidal neovascularization ที่เห็นจาก fluorescein angiography ในผู้ป่วย AMD จะมีสองรูปแบบ
1.Classic neovascularization จะเห็นเป็นฟลูออเรสซีนสว่างในช่วงแรกของการฉีดสีเข้าในเส้นเลือดและมีการรั่วซึมออกในช่วงท้าย
2. Occult neovascularization จะมีการเพิ่มเข้ามาของสีช้ากว่าและจะรั่วน้อยกว่า
การศึกษาทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมขนาดใหญ่ได้ถูกนำมาประเมินประโยชน์จาก ranibizumab เพื่อให้การรักษา neovascularization ทั้งสองรูปแบบ


Note:โรคจอประสาทตาเสื่อม เป็นโรคที่มีความผิดปรกติเกิดขึ้นที่จุดกลางรับภาพของจอประสาทตา (Macula) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวต่อการมองเห็นมากที่สุด โดยผู้ป่วยมักจะไม่สังเกตเห็นถึงความผิดปรกติในระยะเริ่ม ต้น มารู้ตัวเมื่อมีการสูญเสียการมองเห็นเกิดขึ้นแล้ว อย่างไรก็ตาม โรคจอประสาทตาเสื่อมจะทำให้สูณเสียการมองเห็นเฉพาะตรงกลางภาพ โดยที่ผู้ป่วยยังสามารถมองเห็นบริเวณขอบด้านข้างของภาพได้อยู่ โรคนี้มีอุบัติการสูงขึ้นมากในกลุ่มอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะตาบอดแบบถาวรในผู้สูงอายุ บุคคลที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม คือ ผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจึงควรได้รับการตรวจจอประสาทตาทุก 1-2 ปี นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน คลอเลสเตอรอล สูง และประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่าคนทั่วไป

ชนิดของจอประสาทตาเสื่อม มี 2 รูปแบบ คือ
1.แบบแห้ง (Dry AMD) เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด จะมีการเสื่อมสลาย และบางลงของ จุดกลางรับภาพจอประสาทตา (macula) จากขบวนการเสื่อมตามอายุ (aging) ความสามารถในการมองเห็นจะค่อย ๆ ลดลง และเป็นไปอย่างช้า ๆ
2.แบบเปียก (Wet AMD) พบประมาณ 10-15 % ของโรคจอประสาทตาเสื่อมทั้งหมด แต่มีลักษณะการเกิดการสูญเสียการมองเห็นอย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดในโรค จอประสาทตาเสื่อม เกิดจากการที่มีเส้นเลือดผิดปรกติงอกอยู่ใต้จอประสาทตา และผนังชั้นพี่เลี้ยง (Retinal pigment epithelium) มีการรั่วซึมของเลือดและสารเหลวจากเส้นเลือดเหล่านี้ ทำให้จุดกลางรับภาพบวม คนไข้ จะเริ่มมองเห็นภาพตรงกลางบิดเบี้ยว และมืดลงในที่สุด เมื่อเซลล์ประสาทตาตาย

Ref: http://www.denaeyewear.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538788438&Ntype=2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น