พบ Hyponatremia ในผู้ป่วย chronic renal failure ได้เสมอ กลไกการเกิดคือ? จะเริ่มให้การรักษาเมื่อไร? มีวิธีการหรือหลักการเพื่อให้ได้การรักษาที่เหมาะสมอย่างไร
ใน chronic renal failure สาเหตุที่เกิด hyponatremia เนื่องจากการขับน้ำออกจากร่างกายได้น้อยจึงเกิดเป็นลักษณะของ Dilutional hyponatremia เกิดภาวะ hypervolumic hyponatremia (มีน้ำเกินมากกว่าโซเดียมที่เกิน ซึ่งจริงๆ แล้วร่างกายก็มีโซเดียมเกิน) โดยที่ plasma osmolality มักจะปกติหรือสูงเนื่องจากมีการคั่งค้างของยูเรีย (ineffective osmole) แต่ corrected หรือ effective plasma มักจะปกติ โดยสามารถคำนวนได้จาก Corrected plasma osmolality = Plasma osmolality - BUN/2.8
ถือว่าอยู่ในกลุ่มเรื้อรัง(Chronic hypontremia) ผู้ป่วยมักไม่ค่อยมีอาการโดยเฉพาะถ้าโซเดียมยังสูงกว่า 120 mEq/L การแก้ไขที่สาเหตุถือเป็นการรักษาหลัก ซึ่งโรคไตเรื้อรังการแก้ไขมักตอบสนองต่อการควบคุมอาหารที่มีโซเดียมต่ำ ลดน้ำที่บริโภคและการใช้ยาขับปัสสาวะ
Ref: http://www.wrongdiagnosis.com/h/hyponatremia/book-diseases-4a.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Hyponatremia
http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1742-1241.2009.02103.x/pdf
http://www.aafp.org/afp/2004/0515/p2387.html
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น