ขอขอบคุณสำหรับความเห็นของน้อง Zelda จาก Thaiclinic.com
จากการสืบค้นไม่พบว่าขณะที่พยาธิแทรกตัวผ่านชั้นหนังกำพร้า จะเกิดความเจ็บปวดหรือรู้สึกได้ชัดเจนมากขนาดนี้ แต่ผู้ป่วยมักจะมีอาการคันร่วมกับการพบรอยเป็นทางยาว จึงมีสมมติฐานเป็นไปได้ไหมว่าขณะขนของหนีน้ำท่วมอาจจะถูกสัตว์บางชนิดกัดแล้วทำให้เกิดการอักเสบ มีการบาดเจ็บและทำลายชั้นหนังกำพร้า ทำให้ง่ายต่อการแทรกตัวเข้าไปแล้วต่อมาจึงเกิดการชอนไชจึงมีลักษณะดังในภาพ
Cutaneous Larva Migrans เป็นโรคที่เกิดจากการชอนไชผิวหนังของพยาธิตัวอ่อนหรือภาษาอังกฤษที่เรียกว่า larva พยาธิเหล่านี้มักพบในหมาหรือแมว โดยจะชอนไชไปที่ปอดหรือระบบทางเดินอาหารได้ เมื่อหมาแมวที่มีพยาธิแล้วขับถ่ายออกมา พยาธิก็จะออกมาด้วย ส่วนในมนุษย์พยาธิจะชอนไชได้แค่เพียงผิวหนังชั้นนอกเท่านั้นเนื่องจากพยาธิไม่มีน้ำย่อยในการช่วยให้ตัวมันทะลุผ่านสู่ผิวหนังชั้นลึกได้ ชื่ออื่นๆ ในภาษาอังกฤษที่อาจเรียกกันได้แก่ "creeping eruption" "ground itch"
บริเวณที่มีการชอนไชของพยาธิมักปรากฏเป็นสีแดง คัน โดยถ้าเกามากๆ จนผิวหนังถลอกอาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรียได้ อาการคันจะหายไปถ้าตัวพยาธิตายแล้ว
โรคนี้หายเองได้ ตัวพยาธิที่ตายแล้วจะถูกกำจัดโดยร่างกายมนุษย์ภายใน 4-8 สัปดาห์ และน้อยมากที่จะอยู่นานเป็นปีๆ มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ซึ่งอาจเกิดจากเด็กมักเล่นบนดินบนทรายมากกว่าก็เป็นได้ อุโมงค์ที่พยาธิไชจะยาวขึ้นวันละประมาณ 1-2 เซ็นติเมตร
การรักษา: ถึงแม้จะหายได้เองแต่ถ้าปล่อยให้พยาธิไชทุกวันอาจเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้
ยาที่ใช้ได้แก่ albendazole 400 - 800 mg 3-5 วัน หรือ ivermectin 12 mg ครั้งเดียว ประสิทธิภาพ 81-100% (ยา ivermectin ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนของประเทศไทยสำหรับใช้ในคน)
รวมทั้งให้ยาครีมทาแก้คันที่ผสมยาฆ่าเชื้อไปด้วยเพื่อลดอาการคันและป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนของแบคทีเรีย
Ref: http://www.oknation.net/blog/panuwat838084/2010/03/10/entry-1http://www.pidst.net/file_journal/pidst_20100423154058_filejou.pdf
http://www.parasitesinhumans.org/pictures/cutaneous-larva-migrans-life-cycle.gif
cutaneous larva migrans
ตอบลบให้ Thiabendazole,albendazole, mebendazole