หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

808. N-terminal proBNP in heart failure

N-terminal proBNP มีประโยชน์ในทางคลินิกอย่างไร


proBNP เป็นฮอร์โมนที่เป็นสารต้นกำเนิดของการสร้าง BNP (brain natriuretic peptide)
ในคนปกติระดับ BNP และ NT-proBNP ในเลือด จะมีค่าใกล้เคียงกันคือประมาณ 10 pmol/L แต่ในรายที่มี LV dysfunction ระดับNT-proBNP จะสูงกว่าระดับBNPประมาณ4 เท่า ดังนั้นการวัดระดับ NT-proBNP ในเลือด จึงมีความแม่นยำสูงในรายผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
ปัจจัยที่มีผลต่อระดับ BNPและ NT-proBNP
1.Genetic factors
2.วิธีที่ใช้ตรวจ, อายุ, เพศ, body mass index มีผลต่อระดับ BNP & Nt-proBNP ในเลือดโดย
-อายุมากขึ้น จะทำให้ค่าสูงขึ้น
-ผู้หญิง จะมีค่า BNP สูงกว่าผู้ชาย
3.คนอ้วน จะมีค่า BNP และNT-proBNP ลดลง
4.renal failure จะทำให้ค่า BNP และ NT-proBNP สูงขึ้น แม้ไม่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ดังนั้นจึงไม่ควรใช้ค่า BNP และ NT-proBNP ในการหาภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีไตวายร่วมด้วย
อายุ < 50 ปี ใช้ค่า cut-off NT-proBNP 450pg/ml
อายุ 50-75 ปี ใช้ค่า cut-off NT-proBNP 900pg/ml
อายุ >75 ปี ใช้ค่า cut-off NT-proBNP 1,800pg/ml

-พบมีsensitivity 90% ในการวินิจฉัย และ specificity 84% ในการวินิจฉัย heart failure
-และใช้ค่า NT-proBNP<300pg/ml เพื่อ exclude heart failure จะได้ค่า negative predictive value สูงถึง 98%
-นอกจากนี้ เรายังพบว่า ค่า NT-proBNP สามารถช่วยในการวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลว ทั้งsystolic และ diastolic heart failure

http://www.thaiheartclinic.com/PDF/NTproBNP.pdf

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

807. Kawasaki disease

เด็กชาย อายุ 1 ปี 3 เดือน ไข้สูงผื่นแดงตามร่างกายมา 3 วัน ฝ่ามือและฝ่าเท้าบวมแดง ลิ้นแดง เยื่อบุตาแดง (ไม่มีรูปลิ้นและเยื่อบุตา) ตรวจไม่พบต่อมน้ำเหลืองโต คิดถึงอะไร ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนไดบ้าง จะให้การรักษาอย่างไร (case จากหมอเด็ก)

โรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) อาจเรียกว่า mucocutaneous lymphnode syndrome คือ กลุ่มอาการของโรคที่ประกอบด้วยไข้สูง มีการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เยื่อบุผิว และต่อมน้ำเหลืองที่คอโต โรคนี้นับวันจะพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในประเทศไทย การให้การวิเคราะห์โรคแต่เนิ่น ๆ โดยเฉพาะภายใน 5-7 วันแรกของโรคจะมีความสำคัญมาก ต้องรีบให้การรักษาอย่างทันท่วงที เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นที่หัวใจและหลอดเลือด หรือเมื่อเป็นโรคนี้แล้วก็ควรได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง จนผู้ป่วยหายเป็นปกติและปลอดภัย
สาเหตุ : ยังไม่ทราบ
เพศ : พบได้ทั้งสองเพศ แต่พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง
อายุ : พบในเด็ก โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 8 ขวบ พบมากในช่วงอายุ 1-2 ขวบ
การแสดงอาการของโรค
1. ไข้ เด็กจะมีไข้สูง ถ้าไม่ได้รับการรักษาไข้จะสูงนานประมาณ 1-2 สัปดาห์
2. ตาแดง เยื่อบุตาขาวจะแดง 2 ข้าง ไม่มีขี้ตา และเป็นหลังมีไข้ประมาณ 1-2 วัน และเป็นอยู่นานประมาณ 1-2 สัปดาห์
3. มีการเปลี่ยนแปลงของริมฝีปากและช่องปาก จะมีริมฝีปากแดงแห้ง เป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ และผิวหนังอาจแตกแห้งหลุดลอกได้ ภายในอุ้งปากจะแดงและลิ้นจะแดงคล้ายลูกสตรอเบอรี่ (Strawberry tongue)
4. มีการเปลี่ยนแปลงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า โดยจะบวมแดงไม่เจ็บ หลังจากนั้นจะมีการลอกของผิวหนังบริเวณปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้า (ประมาณ 10-14 วันหลังมีไข้) และลามไปที่ฝ่ามือฝ่าเท้า บางรายอาจเล็บหลุดได้ หลังจากนั้นบางราย 1-2 เดือนจะมีรอยขวางที่เล็บ (Beau’s line)
5. ผื่นตามตัวและแขนขา มักเกิดหลังมีไข้ 1-2 วัน และมีได้หลายแบบ และผื่นอยู่นานประมาณ 1 สัปดาห์
6. ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต พบประมาณร้อยละ 50-70 ของผู้ป่วย ขนาดโตกว่า 1.5 ซม. ไม่เจ็บ
7.อาการแสดงอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย ได้แก่ ปวดตามข้อ กระเพาะปัสสาวะอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ ท้องเสีย เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น
ปัญหาสำคัญของโรคนี้ คือ เกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (Coronary Artery) พบประมาณร้อยละ 20-30 ถ้าไม่ได้รับการรักษา
โรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ลิ้นหัวใจอักเสบ ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว และหลอดเลือด แดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ (Coronary Artery) อักเสบเกิดเป็นหลอดเลือดแดงโป่งพอง (Aneurysm) ซึ่งอาจเกิดที่หลอดเลือดเส้นเดียว ตำแหน่งเดียว หรือเกิดหลายเส้นเลือดและหลายตำแหน่งก็ได้ โดยพบความผิดปกติดังกล่าวได้ในช่วง 10-28 วันของโรค ถ้าเกิดโรคแทรกซ้อนมากและรุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ (ประมาณร้อยละ 1-2)
การวินิจฉัย
อาศัยประวัติและการตรวจร่างกายพบความผิดปกติดังกล่าว ร่วมกับการวิเคราะห์แยกโรคจากสาเหตุอื่น รวมทั้งการตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ถ่ายภาพรังสีทรวงอก จะสามารถให้การวิเคราะห์โรคนี้ได้ หลังจากนั้นทำ Echocardiogram เพื่อตรวจดูว่ามีโรคแทรกซ้อนที่หัวใจและหลอดเลือดหรือไม่
การรักษา
เนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ ในการรักษาพบว่าเมื่อให้ Immunoglobulin ขนาดสูง (2 กรัม/กก. หรือ 400 มก./กก./วัน นาน 4 วัน) ร่วมกับแอสไพริน โดยให้ก่อนวันที่ 9 ของการเป็นโรค จะสามารถลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่หัวใจลงได้
ถ้าเด็กมีโรคแทรกซ้อนที่หัวใจมีเส้นเลือดแดงโป่งพอง จะต้องทานแอสไพรินขนาดต่ำ (3-5 มก./กก./วัน) วันละ 1 ครั้งจนกว่าจะหาย ในรายเป็นมากมีเส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่กว่า 8 มม. บางรายอาจเกิดก้อนเลือดที่บริเวณหลอดเลือดโป่งพองได้ ต้องให้ยากันการแข็งตัวของเลือดร่วมกับแอสไพรินขนาดต่ำจนกว่าจะปลอดภัย หรือขนาดของเส้นเลือดโป่งพองลดขนาดกลับสู่ปกติ
การพยากรณ์โรคและการดำเนินโรค
โดยมากผู้ป่วยหายเป็นปกติหลังได้รับยารักษา สามารถเล่นและทำกิจกรรมเหมือนเด็กปกติทั่วไป มีเพียงร้อยละ 5-7 ที่มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนที่หัวใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดโป่งพองขนาดเกิน 8 มม. ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ จึงควรได้รับการรักษาดูแลอย่างต่อเนื่องจากกุมารแพทย์โรคหัวใจ รวมทั้งบางรายอาจต้องทำ Exercise Stress Test และการสวนหัวใจ เพื่อวางแผนการรักษาต่อเนื่องได้อย่างถูกต้อง

Ref: http://www.thaiinsuranceetc.com/blog/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4kawasaki-disease/
http://women.sanook.com/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B4-kawasaki-disease-796660.html

วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2553

806. หญิง 35 ปี มีก้อนที่หลังมือ ปวด มานานกว่า 1 เดือน

หญิง 35 ปี มีก้อนที่หลังมือ ปวด มานานกว่า 1 เดือน ให้การวินิจฉัยอะไร รักษาอย่างไรครับ


Carpal ganglion and ganglion cyst
carpal ganglion cyst เป็นถุงน้ำที่อยู่บนปลอกหุ้มเอ็นซึ่งพาดวางอยู่บนหลังข้อมือ ผนังของก้อนถุงน้ำเป็นเยื่อบุข้อ หรือ เยื่อหุ้มเส้นเอ็น ภายในก้อนถุงน้ำจะมีน้ำไขข้อบรรจุอยู่ ก้อนถุงน้ำนี้จะมีช่องติดต่อกับข้อมือตำแหน่งที่พบได้บ่อยคือ หลังข้อมือ และ ด้านหน้าของข้อมือ บริเวณใกล้ ๆ กับโคนนิ้วหัวแม่มือ
อายุพบบ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 - 40 ปี
สาเหตุ
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด
ในผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติ การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก หรือ อาจจะเป็นผลจากการทำงานโดยเฉพาะงานที่ต้องมีการกระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ เกิดจากความเสื่อมของปลอกหุ้มเอ็น โดยอาจเกิดตามหลังอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงต่อปลอกหุ้มเอ็นนั้นถุงน้ำนี้จะมีน้ำเหนียวข้นอยู่ภายใน ส่วนใหญ่มักมีขนาดเล็กๆ ไม่เกิน 2 ลบ.ซม. และไม่ค่อยทำให้เกิดอาการ
อาการแสดง
-ลักษณะของก้อน เป็นก้อนนูนขึ้นมา ลักษณะค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่กดไม่เจ็บ ในผู้ป่วยบางรายอาจมี มีอาการบวมที่ข้อมือ ถ้ากระดกข้อ มือขึ้น หรือ งอข้อมือลง จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง เช่น ถ้าก้อนทางด้านหลังข้อมือ เมื่อกระดกข้อมือขึ้น ขนาดก้อนจะเล็กลงหรือคลำไม่ได้ แต่ถ้างอข้อมือลง ก็จะโตขึ้น และแข็งมากขึ้น เป็นต้น
-ระยะเวลา
อาจเป็นขึ้นทันทีหรือค่อยๆโตขึ้น หรือ ก้อนนั้นยุบเองแล้วโตขึ้นมาใหม่ได้ ถ้าปล่อยไว้ก้อนก็มักจะโตขึ้น แต่จะค่อย ๆ โตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายเดือน หรือ เป็นปี จึงจะผิดสังเกต
-อาการ
อาจมีอาการเมื่อย ปวดข้อมือรบกวน การเคลื่อนไหวมือข้อมือลำบาก เนื่องจากก้อนถุงน้ำไปกดเบียด เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ กรณีที่ก้อนซีสต์ติดกับเส้นเอ็นจะทำให้รู้สึกว่านิ้วที่มีผลกระทบนั้นอ่อนแอลงได้
การรักษา
1. Splinting of the wrist สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดและไม่ต้องการรักษาด้วยการเจาะดูดหรือผ่าตัด ควรลดการใช้ข้อมือ ให้อยู่นิ่งๆ รับประทานยาแก้ปวดและผ้ายืดพันไว้ หรือใส่เฝือกอ่อน 1 สัปดาห์
2. Exercises to strengthen wrist and improve range of motion
3. Aspiration การเจาะดูดน้ำออกไป โดยแพทย์อาจฉีดสารสเตียรอยด์เข้าไปให้ด้วย แต่ถ้ายังกลับเป็นซ้ำอีก ซึ่งมีโอกาศเกิดซ้ำได้ 35-70% ถ้าก้อนมีขนาดเล็ก ๆ ก็อาจรักษาได้โดยการกดให้ก้อนแตกออก หากรักษาด้วยวิธีนี้ไม่ได้ผล ก็จะใช้วิธีผ่าตัดแบบถอนรากถอนโคน ซึ่งก็มักจะได้ผลดี
4. Surgical removal การผ่าตัด ใช้ยาชาเฉพาะที่ และผ่าตัดเลาะก้อนซีสต์ทิ้งไป กรณีที่ข่องต่อเข้าไปในข้อมือมีชนาดใหญ่ จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อ เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ
Indication สำหรับการผ่าตัด
- ก้อนมีอาการปวด
- รบกวนต่อการทำงานประจำวัน
- เมื่อมีอาการชา หรือ รุ้สึกเสียวชาไปตามเส้น ของมือหรือนิ้วมือ
การผ่าตัดจะมีโอกาสเป็นซ้ำประมาณ 5 - 15 %
After Surgery/Recovery
พักการใช้งานไส่เฝือก 10-14 วัน

Ref: http://surgerynote.wikispaces.com/Ganglion+cyst

805. Evolution of EKG in STEMI

Evolution ของ EKG ในช่วงที่เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดใน STEMI คือ


วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

804. Multiple pulmonary nodules

ชาย 58 ปี Hypopharyngeal malignancy 2 ปีก่อน เคยได้รับการรักษาแล้ว และตอนนี้ยังมี tracheostomy tube ช่วงนี้มีอาการเหนื่อยง่าย ไอ ไม่มีไข้ CXR เป็นดังนี้ พบอะไร คิดถึงอะไรครับ

กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

จาก CXR พบ Multiple bilateral rounded, well-defined pulmonary nodules similar sizes
จากใบส่งตัวกลับ ผลW/U เป็น pulmonary metastases

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

803. Combination anticoagulant with antiplatelet

มีข้อบ่งชี้ใดบ้างที่ต้องให้ยา anticoagulant ร่วมกับการให้ antiplatelet

จากการสืบค้นพบว่าบทความนี้ให้คำตอบที่ค่องข้างตรงกับคำถาม
การให้ anticoagulant และ antiplatelet ร่วมกันจะพบว่า
1.จะได้ผลดีกว่าการให้ antiplatelet เพียงอย่างเดียวในการรักษาภาวะเฉียบพลันและในระยะยาวของ Acute coronary syndrome (ACS)
2.ได้ผลมากกว่าการให้ anticoagulant อย่างเดียวในผู้ป่วยที่มี mechanical heart valves
แต่จะพบภาวะเลือดออกจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการให้ยาเพียงชนิดเดียว
ยังไม่มีหลักฐานบ่งบอกชัดเจนว่าการให้ยาสองชนิดร่วมกันจะดีกว่าให้ยาอย่างเดียวในกรณีอื่นๆ
ส่วนในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ต้องใช้ยาทั้งสองพร้อมกัน เช่นกรณี ต้องให้ anticoagulant  ใน AF และให้ antiplatelet  ใน cerebrovascular หรือ  peripheral arterial disease ในผู้ป่วยคนเดียวกัน ซึ่งเป็นการให้ที่ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่าการให้ยาจะได้ประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงจากการที่อาจจะมีเลือดออก แต่ยังไม่มีการศึกษาที่ช่วยยืนยันแน่นอน
การตัดสินใจให้ยาในกรณีอื่นๆ จะพิจารณาเป็นรายๆ และต้องเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงที่จะมีเลือดออก

ในบทความยังมีรายละเอียดของการใช้ยาทั้งสองร่วมกันในแง่มุนอื่น ๆ อีก น่าสนใจมาก

802. Congestive heart failure criteria

จะมีเกณฑ์ในการวินิจฉัย ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure) อย่างไร

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

801. Diabetes Mellitus in Pregnancy

พบผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานภายหลังตั้งครรภ์ได้เรื่อยๆ จะให้การดูแลรักษาอย่างไร


800. Hypertension in pregnancy

พบผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ได้ค่อนข้างบ่อย จะมีแนวทางในการดูแลรักษาอย่างไร



อ่านรายละเอียดต่อ: http://www.sk-hospital.com/~ob/cpg/sk_hospital/HT_in_preg.pdf

วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

799. Memory loss in morning in elderly

ชาย 75 ปี DM with hypercholesterolemia หลงลืมในช่วงเช้าหลังตื่นนอน โดยมักจะจำสถานที่และบุคคลไม่ได้ แต่ตอนสายๆ จะดีขึ้น  เป็นมาประมาณ 1 เืดือน คิดว่าอาจจะมีสาเหตุมาจากอะไรได้ครับ (ผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลได้ค่อนข้างดี)

ขอขอบคุณสำหรับความเห็นนะครับ

จากการสืบค้นพบว่าอาการสับสนมีปัญหาความจำในช่วงเช้าไม่ค่อยมีการกล่าวถึง แต่อาจเกิดได้ในผู้ที่เริ่มจะเป็น  Alzheimer’s disease ได้ ตาม Link นี้ ลองอ่านรายละเอียดดูนะครับ

เพิ่มเติม: ส่วน Sundowner’s syndrome จะมีลักษณะของ memory loss, confusion, agitation และ anger ซึ่งจะเกิดในช่วงที่เริ่มมืด แสงสว่างลดลง ก็คือตอนพระอาทิตย์ตก โดยสามารถพบได้ใน Alzheimer’s หรือ dementia อื่นๆ ก็ได้

วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2553

798. Isolated systolic hypertension

ผู้ป่วยหญิง 79 ปีมาตรวจด้วยปวดเอว แต่พบว่า BP 180/86 mmHg. และข้อมูลจากสถานีอนามัย BP ก็ใกล้เคียงกัน ตรวจร่างกายไม่พบสิ่งผิดปกติอื่นๆ ไม่มีโรคประจำตัว จะให้การดูแลรักษาอย่างไรดีครับ (รวมถึงการเลือกใช้ยา)


Isolated systolic hypertension หมายถึงระดับความดันโลหิตตัวบน 140 mmHg หรือมากกว่า แต่ระดับความดันโลหิตตัวล่างต่ำกว่า 90 mmHg สำหรับ isolated systolic hypertension ก็แบ่งระดับความรุนแรงเหมือนกันกับในความดันโลหิตสูงทั่วไปแต่ใช้แค่ SBP โดยความดันโลหิตทั้ง systolic และ diastolic ที่สูงมีผลต่อ  cardiovascular risk และบางการศึกษาพบว่า ความดัน systolic ที่สูงขึ้นมีผลมากกว่า diastolic เสียด้วยซ้ำ
-Isolated systolic hypertension มักเกิดได้ในกรณีที่มีการเพิ่มขึ้นของ cardiac output เช่น anemia, hyperthyroidism, aortic insufficiency, arteriovenous fistula และ Paget’s disease of bone แต่ส่วนใหญ่มักพบว่าเกิดจากการลดลงของความยืดหยุ่นและการยอมตามของเส้นเลือดใหญ่เนื่องจากอายุที่มากขึ้นและจากการสะสมของสารแคลเซียมและคอลลาเจนรวมทั้งการทำลายอิลาสตินของหลอดเลือด การแข็งไม่ยืดหยุ่นทำให้เพิ่มแรงสะท้อนกลับของแรงดันในหลอดเลือดแดงจากหลอดเลือดส่วนปลายดังนั้นจึงทำให้ความดันโลหิตในช่วง systolic สูงขึ้น
-การรักษา Isolated systolic hypertension ก็จะคล้ายกับความดันโลหิตสูงโดยทั่วไปคือมีเป้าหมายคือให้ต่ำกว่า 140/90 mmHg ยกเว้นถ้ามี เบาหวานหรือโรคไตเรื้อรังจะมีเป้าหมายอยู่ที่ 130/80 mmHg การรักษาได้แก่การประเมินความเสี่ยงทางหลอดเลือดและหัวใจ การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตและการใช้ยา โดยมีแนวทางดังแผนภาพด้านล่าง

กดที่ภาพเพื่อขยายขนาด

797. Targeted temperature management for comatose survivors of cardiac arrrest

Targeted temperature management for comatose survivors of cardiac arrrest
Clinical Therapeutics

N Engl J Med      September 23, 2010

Targeted temperature management หรืออาจเรียกว่า therapeutic hypothermia เป็นการรักษาเพื่อที่จะลดการบาดเจ็บของระบบประสาทหลังจากการช่วยฟื้นคืนชีพจากการที่หัวใจหยุดเต้น การที่อุณหภูมิร่างกายต่ำลงจะทำให้ลดเมตาโบลิซึมของสมอง รวมทั้งลดการใช้ออกซิเจนและ ATP
แต่อย่างไรก็ตามผลที่เกิดขึ้นต่อเมตาโบลิซึมอาจจะไม่สัมพันธ์เป็นสัดส่วนโดยตรงกับผลที่เกิดจากการลดอุณหภูมิ โดยผลที่เกิดจากการลดอุณหภูมิหลายอย่างก็ยังเป็นที่ต้องสังเกตเฝ้าดูต่อไป อุณหภูมิที่ลดลงจะยับยั้งการหลั่ง glutamate และ dopamine แต่กระตุ้นการหลั่ง brain-derived neurotrophic factor ซึ่งก็จะช่วยลดการหลั่ง glutamate ในลำดับต่อมา
และยังพบว่าการลดอุณหภูมิยังกดขบวนการอักเสบซึ่งจะเกิดหลังจากสมองขาดเลือดแล้วและเพื่อที่จะลดทั้งภาวะที่มีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือดมายังเนื้อเยื่อในระยะแรก (early hyperemia) และช่วยชลอภาวะการที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อย (delayed hypoperfusion)


อ่านเพิ่ม: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMct1002402

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

796. Convalescence from acute hepatitis B

ชาย 22 ปี เมื่อ 6 เดือนก่อนมีตับอักเสบผลตรวจเลือดดังข้างล่าง วันนี้มาติดตามการรักษาอาการปกติผลเลือดเป็นดังข้างล่าง ทั้งหมดอธิบายได้โดย....
ผลเลือด 6 เดือนก่อน
ผลเลือดวันนี้

ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ

ผู้ป่วยเป็น Acute viral hepatitis B infection แล้วอีก 6 เดือนต่อมาเป็นภาวะที่หายแล้วโดยพบว่า HbsAg หายไป และสร้างภูมิคุ้มกันที่ถาวรขึ้นมาโดยมี Anti HBs เป็นบวก และถึงแม้ไม่ได้เจาะ Anti HBc IgM แต่ยังไม่ถึงสัปดาห์ที่ 32 ก็อาจจะยังมี  Anti HBc IgM ที่เป็นบวกได้ คือยังอยู่ในช่วงของ Convalescence from acute hepatitis B ดังข้อมูลเพื่อการแปลผลด้านล่าง การตรวจ  Anti HBc IgM หลังสัปดาห์ที่ 32 ไปแล้วน่าจะได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นและเพื่อดูว่าเข้าสู่ภาวะ Past infection with immunization หรือยัง

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

795. Anticoagulant in resolve chronic atrial fibrillation

ชาย 65 ปี AF with mild MS and moderate MR รับประทานยา warfarin, propranolol, furosemide รักษามา 2 ปี ขณะนี้ EKG เป็น sinus แล้ว จะสามารถหยุดยา warfarin ได้หรือไม่อย่างไร


ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
การที่ Atrial fibrillation (AF) แล้วเปลี่ยนเป็น sinus rhythm ก็ต้องระวังว่าอาจจะกลับเป็นซ้ำได้(recurrence) และถึงแม้ AF จะหายไปแต่การมี mitral stenosis (MS) จะพบว่า 10 –20 % of MS สามารถจะมี systemic embolism ได้ โดย MS ที่ EKG เป็น sinus rhythm มีโอกาสเกิด stroke 6 เท่าของคนปกติ โดยเฉพาะถ้ามี left atrial ขยายใหญ่มากขึ้น คือมากกว่า  55 mm. อายุมาก มี Hx systemic embolism (MS+AF มีโอกาสเกิด 17 เท่า)
แต่ถ้ามี Mitral regurgitation (MR) อย่างเดียวยังไม่มีข้อบ่งชี้ต้องให้ anticoagulant ยกเว้นว่าจะมี AF, Hx systemic embolism หรือมี LA thrombus
ดังนั้นการพิจารณาใช้ยาหรือหยุดยาจะต้องดูปัจจัยดังที่กล่าวมาด้วยครับ

ยังมีรายละเอียดอีก อ่านเพิ่ม : http://www.thaihp.org/index2.php?option=showfile&tbl=home&id=331

794. Pyrazinamide-ethambutol induce gout/suspect

ชาย 44ปี TB pleura รับประทานยา IRZE ได้ 1 เดือน มีข้อเข่าขวาอักเสบ Arthrocentesis พบ urate crystal ผล uric acid ในเลือด 17 mg/dl ยาที่รับประทานจะเป็นสาเหตุได้หรือไม่อย่างไร จะให้การดูแลรักษาต่ออย่างไร (ไม่เคยเป็น gout มาก่อน)

                   ยาที่เพิ่มระดับยูเรตในร่างกายและกลไกการออกฤทธิ์
URAT1 = urate transporter-1

กรดยูริคที่สูงขึ้นและเกาต์ในผู้ป่วยอาจเกิดจาก Pyrazinamide และ/หรือ ethambutol เกิดจากการลดการขับถ่ายกรดยูริคออกทางไตโดยมีกลไกตามตารางด้านบน
หลักการโดยทั่วไปในการแก้ไขภาวะที่เป็นเกาต์หรือกรดยูริคสูงจากยาคือ ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยาหรือเปลี่ยนไปใช้ยาตัวอื่นได้ก็ควรจะเปลี่ยน แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ สามารถให้การรักษาด้วยยารักษาเกาต์

Ref: http://203.157.45.67/napha9/oiinfect/mdrtb.htm
http://www.pha.nu.ac.th/apirukw/copy/uploads/4AAAC_Gout_OA_RA_PT3_Sarawut_1July2552.pdf

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

793. Prepatellar bursitis

หญิง 52 ปี ปวด ตึง บวม ที่เข่าโดยข้างขวาเป็นมากกว่าข้างซ้าย เป็นมานานมากกว่า 1 เดือน ตรวจดูไม่พบการอักเสบของข้อเข่า แต่พบการบวมดังภาพ Dx?, Mx?

Prepatellar bursitis
-เป็นการระคายเคืองหรือการอักเสบ prepatellar bursa ในเข่า
-Prepatellar bursa จัดเป็น bursa ที่วางตัวในแนวตื้นใต้ต่อผิวหนังและอยู่ด้านหน้าของกระดูกสะบ้า มีเยื่อบุข้อ ( synovium ) คลุมเป็นเยื่อบางๆอยู่โดยรอบ มีสารน้ำเพียงเล็กน้อยอยู่ภายใน ทำหน้าที่เป็นตัวแยกกระดูกสะบ้าจากเอ็นที่ยึดเกาะลูกสะบ้าและผิวหนัง
หรืออาจเรียกว่า housemaid's knee (เข่าของแม่บ้าน) เนื่องจากการใช้งานที่ต้องคุกเข่ากับพื้นบ่อยๆ เพราะต้องทำความสะอาดพื้น หรืออาจพบบ่อยใน นักมวยปล้ำ นักวอลเลย์บอล
สาเหตุเนื่องมาจาก
-Overuse
-A direct blow to the area
-Chronic friction, such as from frequent kneeling
การรักษา
ได้แก่ nonsteroidal anti-inflammatory drug ( NSAID ) ในขนาดลดการอักเสบ 5-7 วัน หรือจนกว่าอาการจะดีขึ้น หรืออาจพิจารณาฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่ ในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรงเฉียบพลัน หรือ มีข้อห้ามของการให้ยา NSAID หรือหลังจากให้ยา NSAID แล้วไม่ได้ผล แต่หากเลือกการฉีดยาควรแน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อในตำแหน่งดังกล่าวก่อน โดยอาจเจาะดูดน้ำภายใน bursa มาตรวจย้อมและเพาะเชื้อก่อน สำหรับรายที่มีประวัติการใช้งานที่ต้องถูไถบริเวณนี้อย่างต่อเนื่องโดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สมควรแนะนำการใช้แผ่นรองกันการกระทบกระแทกทางด้านหน้าของข้อเข่า ( knee pad )

792. Herpes zoster involve arm

หญิง 24 ปี ปวดและมีผื่นที่แขนขวาเป็นวันที่ 4  Dx? Mx?


 พบมีตุ่มน้ำเป็นกลุ่มตั้งแต่ใหล่ขวาลงมาแขนขวา ฝ่ามือขวา คิดถึงงูสวัด (Herpes zoster) ซึ่งเมื่อมาดูรูป dermatome จะพบว่าอาจจะเป็นตำแหน่งของ C4, C5, C6, C7และไม่แน่ใจว่าจะมี C8 และ T1 ด้วยหรือไม่
รักษา: Acyclovir 800 มก. รับประทาน 5 ครั้งต่อวัน นาน 7 -10 วัน
หรืออาการรุนแรง ให้ทางเส้นเลือดดำ 10 มก./กก ทุก 8 ชม.นาน 7 -10 วัน

วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

791. Post-stenotic aortic dilatation in aortic stenosis

ชาย 54 ปี ปกติดี พบมี SEM grade 3 ฟังชัดที่สุดที่ right upper sternal border, EKG มี LVH, CXR เป็นดังนี้ ใครจะช่วยอ่าน CXRและให้การวินิจฉัยครับ
จาก CXR พบมีหัวใจโตเล็กน้อย และมีการโตของ Ascending aorta (ลูกศรแดง) เมื่อดูจาก Echo พบมี การขยายตัวของ ascending aorta จริง (กว้าง 4.43 ซม.) โดยเป็นต่อมาจากการที่มีลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบ ซึ่งจะพบลักษณะลิ้นที่หนาและใน short axis view (รูปล่างสุด) นี้มองไม่เห็นรูเปิดของลิ้นที่ชัดเจนจึงไม่สามารถวัดขนาดของรูเปิดได้


Post-stenotic aortic dilatation สามารถพบได้ใน Aortic stenosis(AS)และ/หรือ aortic regurgitation (AR), haemodynamically normal bicuspid aortic valve (BAV) และภายหลัง aortic valve replacement (AVR) และอาจจะไม่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของลิ้นที่ตีบ  ascending aorta ที่ขนาดกว้างมากกว่า 4.0 ซม. ถึอว่ามีการขยายตัว  (dilatation) และพบว่าอัตราการขยายตัวมักมากว่า  0.3 ซม.ต่อปี  ซึ่งการขยายขนาดของascending aorta อาจก่อให้เกิด  aortic dissection หรือ rupture ซึ่งเป็นภาวะที่จะทำให้เสียชีวิตได้

 Ref: http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1464384/

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

790. Nephrotic syndrome

หญิง 22 ปี บวมตามร่างกายมากมา 3 วัน นน. ขึ้นมากกว่า 5 กก. ตรวจพบบวมทั่วโดยเฉพาะขาพบบวมกดบุ๋ม 3+ ผลตรวจทางห้องปฎิบัติการเป็นดังนี้ คิดถึงอะไร รักษาอย่างไร



Diagnostic criteria for nephrotic syndrome
-Proteinuria มากกว่า 3.5 g/24 hour
-Serum albumin น้อยกว่า 30 g/l (3g/dl)
-Edema
-Hyperlipidaemia and lipiuria

                 แนวทางการรักษา Nephrotic syndrome

และอย่าลืมหาสาเหตุว่าเป็น primary (glomerular disease) หรือ secondary (systemic cause)
Primary causes
-Minimal-change nephropathy
-Focal glomerulosclerosis
-Membranous nephropathy
-Hereditary nephropathies
Secondary causes
-Diabetes mellitus
-Lupus erythematosus
-Amyloidosis and paraproteinemias
-Viral infections (eg, hepatitis B, hepatitis C, human immunodeficiency virus [HIV] )
-Preeclampsia

789. ชาย 72 ปี ปวดข้อเท้าซ้ายเมื่อวาน วันนี้ยังไม่ดีขึ้น ตรวจพบมีข้ออักเสบ uric acid 5.5 mg/dl

ชาย 72 ปี ปวดข้อเท้าซ้ายเมื่อวาน วันนี้ยังไม่ดีขึ้น ตรวจพบมีข้ออักเสบ และน่าจะมีน้ำในข้อ ผล uric acid 5.5 mg/dl ถ้าพบกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องเจาะข้อเพื่อการวินิจฉัยหรือไม่อย่างไร

ข้อบ่งชี้ของการเจาะข้อ
1. เพื่อการวินิจฉัยโรค
โรคที่สำคัญที่สุด ได้แก่ โรคข้ออักเสบติดเชื้อ และโรคข้ออักเสบที่เกิดจากผลึก เช่น โรคเก๊าท์ (gout) และโรคเก๊าท์เทียม (pseudo-gout หรือ calcium pyrophosphate deposition disease CPPD) เป็นต้น ผู้ป่วยที่มีอาการข้ออักเสบที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยโรคแน่ชัดทุกราย สมควรได้รับการเจาะตรวจน้ำไขข้อ
2. เพื่อการรักษาและติดตามผลการรักษา
ในโรคข้ออักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ใช่โกโนเรีย การเจาะดูดน้ำไขข้อออก ถือเป็นการระบายหนอง ลดปริมาณเชื้อ และสารคัดหลั่งต่างๆ โดยเฉพาะเอ็นซัยม์จากเม็ดเลือดขาว ที่มีผลทำลายกระดูกอ่อนและเนื้อกระดูกเฉพาะที่ ทำให้ผลการรักษาดีขึ้นกว่าการบริหารยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำเพียงอย่างเดียว โดยสำหรับข้อที่สามารถเจาะดูดน้ำไขข้อได้ไม่ยาก เช่น ข้อเข่า และ ข้อเท้า การเจาะดูดน้ำไขข้อเป็นระยะ มีประสิทธิภาพดีเทียบเท่าการผ่าตัดระบายหนอง ควรส่งตรวจน้ำไขข้อเป็นระยะ เพื่อดูจำนวนเซลล์ล์เม็ดเลือดขาว และการส่งเพาะเชื้อซ้ำหลังการรักษา ซึ่งจะช่วยในแพทย์ในการพิจารณาตัดสินว่ายาต้านจุลชีพที่ได้รับอยู่ได้ผลดีหรือไม่

ผลการเจาะข้อ ลักษณะขุ่นดังภาพ พบWBC 142,000 cell/cumm, PMN 92%, Mononuclear cell 8%, found urate crystal, gram stain: negative

ตำแหน่งเจาะข้อเท้า อ่านรายละเอียดเพิ่มตาม link ครับ

788. Parkinson’s tremor mimicking ventricular tachycardia

ชาย 77 ปี Parkinson 's disease มีอาการสั่นอยู่ตลอด รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นกว่าเดิม ตรวจพบ EKG เป็นแบบนี้ ระหว่างนั้น V/S and clinical stable ใครจะช่วยให้ความเห็น EKG บ้างครับ


EKG จาก defibrillator
กดที่ภาพที่ขยายขนาด

ขอขอบคุณน้อง Drkyoshiro ที่ช่วยให้ความเห็น

คิดถึง Parkinson’s tremor mimicking ventricular tachycardia
ในระหว่างที่เกิดความผิดปกติของ EKG ได้คลำชีพจรและฟังเสียงหัวใจไปด้วยพบว่าอัตราการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอเป็นปกติ ผู้ป่วยอาการปกติ tissue perfusion ดี วัดความดันโลหิตปกติ เมื่อดูจาก EKG ของเครื่องกระตุกหัวใจ (defibrillator) แม้ช่วงที่เหมือนมีจังหวะเต้นของหัวใจไม่ปกติแต่ก็ยังเห็น QRS complex อยู่ และค่อนข้างแปลกที่ 12 lead EKG กับ EKG จาก defibrillator ดูไม่ค่อยเหมือนกัน

Key points -Parkinson’s tremor can simulate ventricular or atrial tachyarrhythmias on an ECG.
-Misdiagnosis of tremor-induced ECG artefact often leadsto unnecessary and inappropriate clinical intervention.
-Close scrutiny of an ECG trace is paramount when diag-nosing serious cardiac arrhythmias.

Ref: http://ageing.oxfordjournals.org/cgi/reprint/34/4/410.pdf

787. Monophasic VS biphasic defibrillator

Monophasic และ biphasic defibrillator มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไร การใช้งานแตกต่างกันอย่างไร

Biphasic defibrillator จะมีกระแสไฟฟ้าจะใหลไปในสองทิศทางคือทั้งทิศทางที่เป็นบวกและเป็นลบ  หรือคือการที่มีกระแสไฟฟ้าใหลจาก padหนึ่งไปสู่อีกpad หนึ่งและจะมีกระแสที่ย้อนกับมาในทิศทางที่สวนทางกันดังรูป (ส่วน monophasic จะมีกระแสไฟฟ้าใหลไปทางเดียว)
AHA ให้คำแนะนำระดับ IIa โดยใช้ biphasic defibrillator พลังงานต่ำไม่เกิน 200J. Biphasic defibrillation ถือได้ว่ามีประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย สามารถใช้งานโดยไม่ต้องค่อยๆ เพิ่มขนาดของพลังงาน
ข้อดีของการใช้พลังงานน้อยคือลดการบาดเจ็บต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ประหยัดพลังงานในกรณีใช้แบตเตอรี่  ทำให้ชาร์จใช้งานได้รวดเร็ว


Ref: http://www.quickmedical.com/defibrillator/philips/biphasic_technology.html
http://www.defibinfo.com/biphasic-defibrillators-vs-monophasic-defibrillators

วันศุกร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2553

786. QRS Complex on EKG (depolatization of ventricle)

QRS Complex on EKG (depolatization of ventricle)

เห็นแล้วเข้าใจง่ายรูปสวยดีจึงอยากให้ดูด้วยกันครับ

คลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นบวก หรือลบ (เหนือหรือใต้เส้น isoelectric line) บ่งบอกว่าคลื่นไฟฟ้านั้นเคลื่อนที่เข้าหาหรือออกจากจุดวัด
ตัวอย่างเช่น ถ้าดูที่ QRS Complex ซึ่งเป็นการวัด depolatization ของ ventricle
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคือ
-เริ่มเกิด depolarization ที่ interventricular septum ก่อน ทิศทางของ depolarization นี้เป็นจากซ้ายไปขวา (ลูกศรแดง) ซึ่งตรงกับ Q wave
-จากนั้นคลื่นไฟฟ้าจะเคลื่อนที่ผ่านไปตาม His-purkinje system มุ่งสู่ apex ของหัวใจ ซึ่งถ้าวัดที่ Lead II ทิศทางการเคลื่อนที่นี้จะมุ่งเข้าสู่ตัววัดด้วย ทำให้ได้คลื่นไฟฟ้าเป็นบวก (ลูกศรสีฟ้า)  ซึ่งตรงกับ R wave
-เมื่อกระแสไฟฟ้าหัวใจเคลื่อนที่ผ่านพ้น apex แล้ว purkinje fibers จะพาคลื่นเคลื่อนที่ต่อไปตามผิวของ ventricle ตอนนี้จะเป็นการเคลื่อนที่ออกจากตัววัด ทำให้คลื่นไฟฟ้าเป็นลบ (ลูกศรสีเขียว)  ซึ่งตรงกับ S wave

จึงทำให้เกิด QRS Complex ดังนี้(lead2)

ส่วนใน lead อื่นๆที่เหลือลักษณะคลื่นก็จะแตกต่างกันอธิบายได้ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้นร่วมกับตำแหน่งของแต่ละ lead ที่เปลี่ยนแปลงไปในระนาบทางกายวิภาค ลองติดตามอ่านต่อนะครับ

อ่านต่อ: http://drnui.com/viewthread.php?tid=72

วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

785. Rule out (term much used in medicine)

Rule out (term much used in medicine)

Rule out: เป็นคำที่มักจะใช้ทางการแพทย์ มีความหมายว่าเพื่อที่จะกำจัด ตัดออก  หรือคัดบางสิ่งออกจากสิ่งที่กำลังพิจารณา  rule out ใช้ในกรณี ตัดเรื่องหรือการวินิจฉัยที่มีความเป็นไปได้น้อยออกไป เช่น ผู้ป่วยหญิงมาด้วยอาการปวดท้องน้อย ก็จะตรวจภายในเพื่อ rule out ภาวะทางนรีเวชออกไป
แต่ปัจุบันส่วนใหญ่มักจะเขียน rule out เพื่อเป็นการบอกว่าคิดถึงโรคนั้นๆ มากที่สุด ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความหมายเดิม จริง ๆ อาจเขียนภาวะเหล่านี้ว่า Must to be rule out หากยังไม่สามารถตัดการวินิจฉัยที่สำคัญนั้นออกไปได้ ส่วนคำว่า rule in ค้นดูแล้วไม่ค่อยมีการใช้คำนี้
แต่บางเว็บไซต์กล่าวว่า  Rule out คือ Clinical decision-making  to eliminate as a serious diagnostic consideration ซึ่งเป็นคำกริยา แต่ขณะนี้นิยมนำมาใช้ในความหมายที่เป็นคำนามโดยจะมีความหมายว่า  medical condition is a diagnostic dilemma


Ref: http://www.medterms.com/script/main/art.asp?articlekey=33831

784. Idiopathic urgency urinary incontinence

Clinical practice
Idiopathic urgency urinary incontinence
N Engl J Med    September 16, 2010

คำว่า overactive bladder จะรวมถึง urgency urinary incontinence ด้วย โดย The International Continence Society ให้ความหมายของ overactive bladder เทียบได้กับ urinary urgency ซึ่งมักประกอบไปด้วยปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะตอนกลางคืน โดยอาจจะมีหรือไม่มีภาวะ urgency urinary incontinence ก็ได้ ซึ่งจะต้องไม่มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะหรือไม่มีพยาธิสภาพมาก่อน
และ urgency urinary incontinence คือมีการออกของปัสสาวะโดยไม่สามารถควบคุมได้ต้องรีบเข้าห้องน้ำทันที โดยส่วนใหญ่ของผู้หญิงที่มีภาวะ urgency urinary incontinence มักไม่มีภาวะผิดปกติของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินปัสสาวะมาก่อน
อัตราการเกิดภาวะดังกล่าวมีความหลากหลายทั้ง urgency urinary incontinence และ overactive bladder ขึ้นอยู่กับการกำหนดความหมายและประชากรที่ศึกษา พบว่า 5 -10% ของผู้หญิงจะมีภาวะนี้(urgency urinary incontinence)อย่างน้อยหนึ่งครั้งในหนึ่งเดือน ส่วน overactive bladder จะพบได้บ่อยกว่าคือ 10 to 15%

บทความนี้มีเนื้อหาประกอบไปด้วย
The Clinical Problem
-Causes
-Effect on the Quality of Life
Strategies and Evidence
-Evaluation
-Treatment
    Lifestyle Changes
    Behavioral Therapies
    Pharmacologic Therapies
    Procedural and Surgical Therapies
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations
Source Information

Link: http://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMcp1003849