หน้าเว็บ

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

699. Iron study

หญิง 49 ปี มีภาวะซีด PE: no organomegaly, Lab เป็นดังนี้ จะแปลผลว่าอย่างไร

ขอขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
Iron study เป็นการตรวจเกี่ยวกับเหล็กในร่างกายเพื่อบ่งบอกว่ามีภาวะ iron deficiency เกิดขึ้นหรือไม่
-Serum ferritin เป็นตัวชี้วัดที่เปลี่ยนแปลงก่อนตัวชี้วัดอื่น ใช้บ่งบอกถึงปริมาณเหล็กสะสมของร่างกาย นิยมใช้ค่า < 30 mg/L เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยภาวะ iron deficiency แต่ข้อจำกัดที่สำคัญในการใช้ค่า serum ferritin คือค่าจะถูกกระทบด้วยหลายๆภาวะเช่น acute หรือ chronic inflammation, malignancy, liver disease และ alcoholism
-Total iron binding capacity (TIBC) คือปริมาณของเหล็กที่ต้องการเพื่อนำมาจับกับ transferrin ทั้งหมดในเลือด ซึ่งสามารถใช้สำหรับประมาณค่าของ transferrin ในเลือดได้ transferrin คือโปรตีนในเลือดซึ่งทำหน้าที่ขนส่งเหล็ก เมื่อปริมาณเหล็กสะสมในร่างกายลดลงจะมีการปรับตัวสร้าง transferrin ให้มีระดับสูงขึ้น ตามปกติประมาณ 1/3 ของ transferrin เท่านั้นที่ถูกใช้เพื่อขนส่งเหล็ก ด้วยเหตุนี้ใน serum จึงมีความสามารถในการขนส่งเหล็กเหลือมากพอ ซึ่งก็คือค่า unsaturated iron binding capacity (UIBC) นั่นเอง สำหรับ total iron binding capacity (TIBC) คือค่า UIBC บวกกับค่า serum iron ค่าปกติ = 250-460 µg/dL ในภาวะ iron deficiency พบว่ามีค่า TIBC สูงขึ้น
-Serum iron เป็นตัวชี้วัดที่เปลี่ยนแปลงตามหลัง serum ferritin และ TIBC serum iron คือปริมาณของเหล็กที่จับอยู่กับ transferrin ค่าปกติ = 50-175 mg/dL ในภาวะ iron deficiency จะมีค่า serum iron ลดลง
-Transferrin saturation คือจำนวนตำแหน่งบน transferrin ที่มีเหล็กจับอยู่ มักคิดออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณได้จากการนำค่า serum iron หารด้วย TIBC ค่าปกติอยู่ในช่วง 15 - 55% ในภาวะ iron deficiency จะมีค่าลดลง

จากข้อมูลพบว่า serum ferritin ต่ำ, Serum iron ไม่ต่ำ, TIBC ต่ำเล็กน้อย เมื่อดูจากตาราง ไม่สามารถแปลผลได้ว่าเข้ากับสภาวะใด เพราะค่าที่ได้ขัดแย้งกันเอง เมื่อมาดู Hb typing พบว่าเป็น Hb E trait แต่ก็ไม่น่าจะอธิบายภาวะซีดที่ค่อนข้างมากนี้ได้ แต่จากการ review ดูพบว่า abnormal hemoglobin เองก็จะมีผลต่อ serum iron ได้ ซึ่งจะทำให้การแปลผลอาจไม่ตรงไปตรงมา หรือถ้าเพิ่งมีการขาดธาตุเหล็กมีการลดลงของ serum ferritin แล้วแต่ serum iron ยังไม่ลดลงเพราะเปลี่ยนแปลงตามหลัง serum ferritin
http://www.smj.ejnal.com/e-journal/showdetail/?show_detail=T&art_id=1175

1 ความคิดเห็น: