หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

675. Gastroesophageal reflux disease (GERD) diagnosis

มีผู้ป่วยที่สงสัย Gastroesophageal reflux disease (GERD) บ่อยๆ จะมีแนวทางการวินิจฉัยอย่างไรครับ

ในประเทศทางตะวันตก ผู้ป่วยที่มาด้วยอาการแสบร้อนหน้าอกและเรอเปรี้ยว โดยที่ไม่มีอาการอื่นๆ ของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ร่วมด้วยจะมีโอกาสเป็น โรคกรดไหลย้อนได้มากแต่ถ้ามีอาการอื่นๆ ของทางเดินอาหารร่วมด้วยจะมีโอกาสเป็นกรดไหลย้อนน้อยลง ส่วนในประเทศไทยเนื่องจากอาการแสบร้อนหน้าอกพบได้บ่อยน้อยกว่าผู้ป่วยในประเทศทางตะวันตก ทำให้ประโยชน์ในการใช้อาการแสบร้อนหน้าอกวินิจฉัยผู้ป่วยกรดไหลย้อนมีน้อย ส่วนอาการเรอเปรี้ยวเป็นอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยไทยและพบ ในผู้ป่วยกรดไหลย้อนมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นกรดไหลย้อนทำให้มีประโยชน์มากกว่าอาการแสบร้อนหน้าอก แต่ก็เป็นอาการที่ไม่ค่อยรบกวนผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยไทยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อาการคล้ายโรคกระเพาะอาหาร (reflux like dyspepsia) อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ อาการทางหู คอ จมูก หรือไอเรื้อรัง เป็นต้น ดังนั้นการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นกรดไหลย้อนหรือไม่จากการพิจารณาจากอาการอย่างเดียวในผู้ป่วยไทยจะทำได้ยากกว่าผู้ป่วยในประเทศตะวันตก จึงอาจต้องอาศัยการทดลองให้การรักษาและการตรวจพิเศษต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัย
การตรวจที่สามารถช่วยในการวินิจฉัยและวินิจฉัยแยกโรคกรดไหลย้อน หาสาเหตุหรือภาวะแทรกซ้อนของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่
1. การส่องกล้องตรวจในทางเดินอาหารส่วนต้น (upper gastrointestinal endoscopy).
2. การตรวจวัดกรดในหลอดอาหารตลอดเวลา 24 ชั่วโมง (24 hr esophageal pH monitoring) หรือการตรวจวัดกรดและการไหลย้อนของน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารเข้ามาในหลอดอาหารตลอด 24 ชั่วโมง (multichannel intraluminal impedance-pH monitoring).
3. การตรวจการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (esophageal monometry).
4. การกลืนแป้งแบเรียม (barium esophagogram)

อ่านรายละเอียดเพิ่ม: http://www.doctor.or.th/node/7909

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น