การประเมินอาการทางคลินิกจะทำโดยการนับจำนวนข้อที่บวม ข้อที่กดเจ็บ ระยะเวลาฝืดขัดในข้อหลังตื่นนอน ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตร ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ESR, CRPและการเปลี่ยนแปลงที่พบในภาพรังสีข้อ
มีผู้ป่วยจำนวนไม่เกินร้อยละ 10 มีโรคสงบได้เอง ในขณะที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการดำเนินโรคอย่างต่อเนื่องและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาที่มีคุณสมบัติปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (disease-modifying anti-rheumatic drugs, DMARDs) ข้อก็จะถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนเกิดความพิการในที่สุด นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบเรื้อรังจำนวนหลายข้อหรือมีอาการแสดงนอกข้อ จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพิ่มขึ้นโดยรวมผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอายุสั้นกว่าประชากรทั่วไป 3-18 ปี
ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่มีการกำเริบของข้อควรจะได้รับการรักษาด้วยยา DMARDs ทุกรายภายใน 3 เดือนหลังให้การวินิจฉัย เพื่อควบคุมโรคให้เข้าสู่ภาวะสงบและชะลอการทำลายข้อให้เร็วที่สุด สำหรับยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs, NSAIDs) หรือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ขนาดต่ำจะพิจารณาเพื่อควบคุมการอักเสบของข้อในระยะแรก ระหว่างรอยา DMARDs ออกฤทธิ์
Click ที่ภาพเพื่อขยายขนาด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น