การตรวจหา DVT โดย conventional หรือ grey-scale US อาศัยความจริงที่ว่า
-หลอดเลือดดำมีความดันภายในต่ำถูกกดให้แบนได้ง่ายในภาวะปกติ เมื่อมี thrombus เกิดขึ้นภายในจะกดไม่แบน
-Compression US ( CU ) คือการกดหัวตรวจ US บนหลอดเลือดดำตามขวาง เมื่อผนังหลอดเลือดถูกกดเข้าชิดกัน ถือว่า negative ส่วน positive คือผนังหลอดเลือดถูกกดได้บ้าง (โพรงภายในเล็กลง) หรือไม่เปลี่ยนแปลงเลย แสดงว่ามี thrombus
-ข้อจำกัดของการตรวจนี้คือ ทำได้เฉพาะหลอดเลือดที่อยู่ตื้นคือ บริเวณข้อพับสะโพก (common femoral vein, CFV) และข้อพับเข่า (popliteal vein, PV)-ถ้าทำการตรวจเฉพาะสองตำแหน่งนี้เรียกว่า limited CU
-ในผู้ป่วยที่ขาไม่โตมากจะสามารถทำการตรวจ superficial femoral vein ( SFV ) ได้ตลอดความยาว ส่วน calf vein ซึ่งมีขนาดเล็ก จะทำการตรวจได้ยาก โดยเฉพาะเครื่องที่ไม่มี color Doppler mode
-แต่โดยทั่วไปจะถือว่า thrombus ใน calf vein มีโอกาสหลุดเป็น emboli น้อยมาก ไม่จำเป็นต้องให้การรักษา ส่วน isolate thrombus ใน superficial femoral vein โดยไม่พบใน CFV หรือ PV มีน้อยมาก ( น้อยกว่า 5% ) เราจึงมักจะทำเพียง limited CU
-เมื่อการตรวจครั้งแรก negative แต่ยังมีอาการอยู่ ควรตรวจซ้ำภายใน 3 -5 วัน thrombus ที่เพิ่มจาก calf vein หรือ SFV จะขึ้นไปใน PV และ CFV ตามลำดับ ( มีรายงานว่า limited CU สามารถตรวจพบ DVT ได้มากกว่า 95% ของผู้ป่วย)
-ข้อดีของ CU ที่นอกจากจะวินิจฉัย DVT ได้ง่ายแล้ว ยังสามารถตรวจพบสาเหตุอื่นของอาการขาบวม ปวด ซึ่งการทำ venography วินิจฉัยไม่ได้ เช่น pseudoaneurysm, lymph node, cellulitis, Baker's cyst
-หลังจาก acute DVT 6 เดือน ควรทำการตรวจซ้ำ เพื่อเป็น baseline สำหรับช่วยแยก acute จาก chronic เนื่องจากเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยเท่านั้น ที่หลอดเลือดจะกลับเป็นปกติ
-ในรายที่หลอดเลือดมีผนังหนาและแข็งจะให้ผลบวกลวงของ CU ได้ เมื่อมีอาการซ้ำ (พบประมาณ 20% )
http://www.med.cmu.ac.th/dept/Radiology/interest/Interest/DVT/DVT.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น