Clinical practice NEJM July 8, 2010
ความเสื่อมสภาพเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดรอยโรคของลิ้นหัวใจไมทรัล ในสหรัฐอเมริกา (พบประมาณ 2 -3%) รวมทั้งในประเทศที่พัฒนาอื่นๆ Mitral-valve prolapse ถ้าตรวจด้วย echocardiography จะพบมีลักษณะการเคลื่อนของลิ้นหัวใจไมทรัลยื่นเลยอย่างน้อย 2 มม. เหนือต่อ annulus ในช่วงที่หัวใจบีบตัว ซึ่งความผิดปกติทางด้านการทำงานของลิ้นคือ การที่ลิ้นหัวใจไมทรัลทั้งสองลิ้นมีขนาดใหญ่มากเกินไปและยื่นยาวเลยเข้าไป ลักษณะทางพยาธิวิทยาของความเสื่อมที่เกิดกับไมทรัลมีความหลากหลาย ในผู้ป่วยที่เป็น Barlow's syndrome จะมีลักษณะการหนาขึ้นทั่วๆ มีลักษณะเป็นคลื่นของลิ้น ขณะที่ใน fibroelastic dysplasia รอยโรคจะอยู่เฉพาะในบางตำแหน่งของลิ้น โดย chordae tendineae มักจะยาวขึ้นและมีโอกาสที่จะฉีกขาด ในกรณีที่มีแต่การ prolapse อย่างเดียว ลิ้นจะยังคงสามารถพยุงอยู่ได้ด้วย chordae ระดับความรุนแรงของลิ้นที่รั่วมักเป็นเล็กน้อยถึงปานกลางและเกิดในตอนท้ายของช่วงหัวใจบีบตัว เมื่อขนาดของหัวใจห้องล่างเล็กลง ระดับการ prolapse ก็จะมากขึ้น
Echocardiographic evidence of mitral-valve prolapse
เพิ่มเติม: Mitral valve prolapse หมายถึง ลิ้นหัวใจยาว ที่จริงมีผู้ใช้คำอื่นๆ เช่น ลิ้นหัวใจโป่ง ลิ้นหัวใจแลบ ยังไม่มีคำศัพท์ภาษาไทย ที่เหมาะสม คำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า prolapse ขึ้นกับว่าเกิดกับลิ้นไหน ลิ้นหัวใจที่พบว่า prolapse บ่อย และ เป็นปัญหามาก ที่สุด คือ ลิ้นไมทรัล จึงเรียกว่า Mitral Valve Prolapse หรือ Prolapsed Mitral Valve ใช้คำย่อว่า MVP
http://www.thaiheartweb.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538961736&Ntype=2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น