หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

635. Blenderize diet ( tube feeding) with hyponatremia

หญิง 80 ปี ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ให้อาหารทางสายยาง ซึมลงกว่าเดิม ผลตรวจเลือดเป็นอย่างนี้ คิดว่าสาเหตุน่าจะมาจากอะไร จะให้การดูแลรักษาอย่างไร

น่าจะเป็นผลมาจากการได้อาหารปั่นทางสายยาง โดยญาติที่เป็นคนทำอาหารให้บอกว่าไม่ได้เติมเกลือลงในอาหารเลย ส่วนการที่มี creatinine ต่ำน่าจะมาจากการมีกล้ามเนื้อน้อย [ผู้ป่วยผอมมาก] เพราะค่า creatinine สัมพันธ์กับปริมาณ muscle mass

ภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารทางสายให้อาหาร ที่พบมีดังนี้
1.ปลายสายให้อาหารเลื่อนออก ( tube displacement ) มาอยู่ในหลอดอาหาร( esophagus ) หรือเข้าไปในหลอดลม( respiratory tract ) อาหารจะไหลเข้าไปในหลอดลม หรือถ้าปลายสายอยู่ในหลอดอาหารจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนและสำลักอาหารได้
2.อาเจียน ( vomiting ) เนื่องจาก
- ปลายสายเลื่อนมาอยู่ในหลอดอาหาร
- การให้อาหารทางสายเร็วเกินไป เกิดการหดเกร็ง ( spasm ) ของกระเพาะอาหาร
- มีลมเข้าไปขณะให้อาหารทำให้ผุ้ป่วยท้องอืด เป็นสาเหตูให้เกิดการอาเจียนได้
- การจัดท่าไม่เหมาะสม ท่าทีเหมาะสมในการให้อาหารทางสายคือ ผู้ป่วยอยู่ในท่าศีรษะสูง
3.ท้องเสีย ( diarrhea )
ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายและเกิดอาการท้องเสีย มีสาเหตุการเกิดได้หลายสาเหตุ คือ
- ผู้ป่วยที่ไม่มีน้ำย่อยสำหรับย่อยนม ( lactose interance ) ถ้าสูตรอาหารเหลวมีนมผสมจะทำให้ผู้ป่วยท้องเสีย
- สูตรอาหารที่มีความเข้มข้นมาก ( high osmolarity formula ) เป็นสาเหตุให้มีการดึงน้ำออกมาอยู่ในลำไส้มาก และเกิดอาการท้องเสียได้
- อาหารเหลวที่ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย หรือเกิดจากการเก็บอาหารเหลวไม่ถูกต้องทำให้อาหารเหลวบูด
จึงเป็นสาเหตูให้เกิดท้องเสีย
- การให้อาการเหลวในอัตราการไหลที่เร็วเกินไป และผู้ป่วยมีปัญหาในการย่อยและดูดซึมได้ดี
4. ท้องผูก ( Constipation )
ปัญหาท้องผูกในผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสายเกิดขึ้นเนื่องจาสาเหตุดังต่อไปนี้
- ขาดใยอาหาร
- ผู้ป่วยได้รับน้ำไม่เพียงพอ
5. ขาดน้ำ ( Dehydration )
ผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทางสาย มักจะมีปัญหา dehydration เนื่องจากผุ้ป่วยเองไม่สามรถบอกได้ ทำให้ร่างกายได้รับน้ำไม่เพียงพอ ( fluid intake < output ) ฉะนั้นเป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะต้องประเมินสภาพร่างกายของผู้ป่วย ว่ามีปัญหาการขาดน้ำหรือไม่ ซึ่งจะประเมินจากจำนวนน้ำและของเหลวที่ผู้ป่วยได้รับ เทียบกับปริมาณน้ำที่ถูกขับออกจากร่างกาย และสภาพทางผิวหนัง( Skin moisture & turgor )
6.ภาวะไม่สมดุลของสารน้ำ ( Electrolyte imbalance ) ปัญหาความไม่สมดุลของสารน้ำในร่างกายจากสูตรอาหารที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดภาวะ
- Hyponatremia ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
- Hypernatremia ภาวะโซเดียมในเลือดสูงกว่าปกติ
- Hypokalemia ภาวะโปแตสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ
- Hyperkalemia ภาวะโปแตสเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ

http://student.mahidol.ac.th/~u4909197/page8.html

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอเดานะครับ
    --น่าจะมีภาวะ Metabolic acidosis with K shift จริง ๆ น่าจะ HypoK แต่ถ้าเกิด cell shift เจาะมาก็ปกติได้ แต่ Total K แล้วร่างกายน่าจะ loss

    --น่าจะมีภาวะ Low solute intake+Malnutrition เพราะร่างกายเป็น Negative N Balance ทำให้ไม่มี Protein ตรงไหนที่จะมาสลาย ให้มี BUN ได้ BUN จึงต่ำ ต้องเจาะดู Alb Glob Total Protein ด้วย

    Rx
    -Rx as Chronic Hyponatremia ซึ่งน่าจะ Hypovolumic หรือ ไม่ก็ Euvolumic Hyponatremia มากกว่า Hypervolumic ใน case นี้
    -Rx โดยเพิ่ม Solute ในอาหารให้มากขึ้น
    -หาสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นไปได้ของ Hyponatremia เพราะยังไม่ทราบ Volume status ขิงคนไข้
    -หาสาเหตุของ Metabolic acidosis

    ตอบลบ