วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

610. Genetic disorders of renal phosphate transport

Genetic disorders of renal phosphate transport
Review article mechanisms of disease      NEJM  June24, 2010

ฟอสเฟตเป็นสารที่มีมากตัวหนึ่งในร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีส่วนสำคัญมากในการสร้างและสะสมแร่ธาตุของกระดูก และเกี่ยวข้องกับการทำงานของเซล ไตมีหน้าที่หลักในการควบคุมความสมดุลของฟอสเฟต โดยการขับออกทางปัสสาวะเพื่อให้ได้สัดส่วนกับที่รับเข้ามาและเพื่อให้ระดับในเลือดเป็นปกติ ความผิดปกติที่มีผลต่อการขับออกทางปัสสาวะก็จะมีผลต่อระดับของฟอสเฟตในเลือด
อัตราการเสียชีวิตเนื่องจากโรคหัวใจและหลอดเลือด เพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับความเข้มข้นของฟอสเฟตในเลือดที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 1.13 mmol/liter (3.5 mg/deciliter) ในผู้ที่ไตปกติ ในทางตรงกันข้าม ระดับของฟอสเฟตที่ต่ำจะสัมพันธ์กับการสลายแร่ธาตุในกระดูกและการเพิ่มการขับออกของฟอสเฟตจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดนิ่วที่ไต
ในช่วงสิบปีที่ผ่านมาความรู้เกี่ยวกับกลไกของการขนส่งฟอสเฟตของไตพัฒนาขึ้นมาก การขนส่งฟอสเฟตได้ถูกศึกษา โปรตีนที่ควบคุมขบวนการนี้สามารถแยกได้ และยังสามารถแยกฮอร์โมนตัวใหม่อันนำมาสู่การค้นพบ bone–kidney axis  การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของโปรตีนนี้ทำให้เกิดการผิดปกติในสมดุลของฟอสเฟต บทความนี้รวบรวมเกี่ยวกับความรู้ระดับโมเลกุลในแง่การดูดซึมของฟอสเฟตที่ไตและลำดับการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของยีนที่เกี่ยวกับสมดุลของฟอสเฟต ส่วนผลจากโรคไตวายเรื้อรังที่มีต่อสมดุลของฟอสเฟตและบทบาทของ fibroblast growth factor 23 (FGF-23)–klotho axis จะนำมากล่าวในเร็วๆนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น