วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

576. BODE index in COPD

นอกเหนือจากการใช้ FEV1 และ FEV1/FVC มาประเมินความรุนแรงของ COPD แล้ว สามารถใช้ตัวชี้วัดอะไรที่จะมาประเมินทำให้ความสัมพันธ์กับอาการและการทำนายความรุนแรงของ COPD ได้ละเอียดและแม่นยำมากยิ่งขึ้น


จากการศึกษาพบว่าปัจจัยที่สัมพันธ์ กับการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญ 4 อันดับแรกได้แก่ FEV1, MMRC dyspnea scale, ระยะทางที่เดินได้ใน 6 นาที และ body-mass index เรียก BODE index (B=BMI, O= degree of airflow obstruction, D=functional dyspnea, E=exercise capacity) คะแนนยิ่งสูงจะช่วยบ่งบอกว่ามีโอกาสเสียชีวิตสูงมากขึน โดยนำคะแนนที่ได้มาแบ่งเป็น ควอไทล์ที่1 มีคะแนน 0-2, ควอไทล์ที่2 มีคะแนน 3-4, ควอไทล์ที่3 มีคะแนน 5-7, ควอไทล์ที่4 มีคะแนน 7-10 โดยดูอัตราการรอดชีวิตจากกราฟประกอบ

2 ความคิดเห็น:

  1. ใช้clinical หรือประวัติในการใช้ยาแทนได้ไหมคะ เช่น ต้องใช้ยาเพิ่มขึ้น ถี่ขึ้น หอบเหนื่อยมากขึ้น หรืออาจใช้ correlateกับ oxygen sat หรือblood gas ด้วย...PEFจะเปลี่ยนด้วยไหมคะอาจารย์
    Externนิลเนตร

    ตอบลบ
  2. น้อง Extern ตอบรวดเร็วดีจัง, ตัวชี้วัดนี้เป็นที่นิยมโดยสากล มีตัวย่อ 4 ตัว (....index) แล้วแปลงมาเป็นช่วงระดับคะแนน ลองค้นเพิ่มอีกหน่อยนะครับ

    ตอบลบ