วันพุธที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

530. Cryptococcal antigen

ช่วงนี้มี Cryptococcal meningitis บ่อยๆ เลยขอถามเรื่อง cryptococcal antigen ว่าใช้การตรวจโดยวิธีใด มีความไวและความจำเพาะเท่าใด มีข้อควรพิจารณาอะไรบ้าง
การตรวจ cryptococcal capsular polysaccharide antigen ใน serum หรือ CSF โดยวิธี Latex agglutination (LA) หรือวิธี Enzyme immunoassay (EIA) นั้นมี overall sensitivity 93-100 % และ specificity 93-98 % จึงถือว่าเป็น test ที่ไวและจำเพาะมาก
 อาจมี False positive ได้บ้าง (0-0.4%) ในผู้ป่วยที่มี rheumatoid factor (ถ้าใช้วิธี LA และมักพบใน serum specimen มากกว่า CSF), การมี non-specific protein บางอย่างใน CSF เช่นในผู้ป่วย autoimmune diseases, ผู้ป่วย malignancy โดยเฉพาะถ้ามี CNS involvement และ/ หรือเป็น lymphoma/leukemia, การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด, การติดเชื้อรา Trichosporon spp. แต่มักจะมี titer ไม่เกิน 1:8
ส่วน falsse negative พบน้อยมาก เช่น ภาวะ prozone phenomenon (ใน LA test) ซึ่งแก้ไขโดย dilute สิ่งส่งตรวจ (แต่กรณีนี้เชื้อจะมากจนสามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจ India ink หรือ การย้อมเชื้ออยู่แล้ว), chronic low-grade cryptococcal meningitis, non-disseminted pulmonary cryptococcosis เป็นต้น
ดังนั้น กรณีที่เป็น new case ถ้าผู้ป่วยมีปัจจัยเสี่ยง (เช่น HIV infection) และมีอาการ/อาการแสดงเข้าได้กับ cryptococcus menigitis และตรวจ CSF cryptococcal antigen ให้ผลบวก แม้ว่าจะไม่ได้ตรวจ titer ก็ควรจะให้การวินิจฉัยและรักษาได้เลย

เชิญติดตามอ่านเพิ่มตาม Link นะครับ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น