หญิง 34 ปี คลอดบุตรได้ 5 เดือน ผมร่วง โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากทั้งสองข้าง บางลงเห็นได้ชัด เวลาหวีหรือดึงดูจะหลุดออกมาก เป็นมา 2 เดือน ไม่ได้เจ็บป่วยรุนแรง ไม่มีภาวะเครียด ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิด ไม่ได้รับประทานยาใดๆ ประจำ ไม่ได้เปลี่ยนยาสระผม ไม่มีแผลที่หนังศรีษะ ผู้ป่วยดึงผมตัวเองเบาๆ 1 ครั้งพบดังนี้ นำไปส่องกล้องพบดังนี้ คิดว่าสาเหตุน่าจะเป็นอะไรครับ
ในบรรดาสาเหตุที่คนไข้มาพบแพทย์ด้วยอาการผมร่วงมากขึ้นนั้น ภาวะผมบางที่เกิดจากสัดส่วนของผมในระยะงอกลดลง หรือที่เรียกว่า Telogen effluvim นั้นพบได้เป็นอันดับต้นๆ คนไข้มักจะมาด้วยอาการผมร่วงมากขึ้น โดยอาจจะนำเอาผมมาให้ดูด้วย และมักจะบอกว่า ไม่มีรากผม หรือรากผมมันฝ่อไป และชี้ให้ดูส่วนของรากผมซึ่งลีบบาง ไม่เป็นตุ่ม
ในการที่จะเข้าใจภาวะ telogen effluvium นี้จะต้องเข้าใจวงจรของเส้นผมก่อน โดยปกติผมบนศีรษะของคนเรา จะอยู่ในระยะงอกประมาณ 80 ถึง 85 % ผมที่อยู่ในระยะงอกนี้ เรียกว่า anagen hair ผมจะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 3 ปี โดยที่บางเส้นก็อายุมาก เกือบ 3 ปี แล้วรอการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระยะต่อไป บางเส้นก็มีอายุน้อยกว่า คละเคล้ากันไป ทำให้ปกติแล้วผมจะทะยอยๆ กันร่วง ไม่ได้ร่วงพร้อมๆ กันทีละมากๆ ผมที่อยู่ในระยะนี้จะติดแน่นกับหนังศีรษะ ถ้าจะพยายามดึงออกมา จะต้องออกแรงพอสมควร และจะเห็นว่า รากผมในระยะ anagen นี้มีลักษณะเป็นตุ่ม เหมือนต้นหอม เมื่อผมมาถึงระยะสุดท้ายของ anagen ก็จะเริ่มเข้าสู่ระยะพัก หรือเรียกว่าระยะ Catagen ซึ่งจะอยู่ในระยะนี้สั้นๆ แล้วเข้าสู่ระยะที่พร้อมจะหลุดร่วงไป หรือ Telogen ซึ่งจะมีอายุประมาณ 3 เดือน รากผมในระยะนี้จะมีลักษณะเล็กลีบ และลอยตัวสูงขึ้นสู่ระดับผิว เมื่อออกแรงดึงไม่แรงนัก ก็จะหลุดออกมาได้
ภาวะผมบางที่เกิดจากผมในระยะงอกมีสัดส่วนลดลง นั้นเกิดจากการที่ผมในระยะงอก หรือ anagen พากันเข้าสู่ระยะพัก และ ระยะเตรียมที่จะหลุดร่วงมากขึ้น หรือพร้อมๆ กัน กล่าวคือ แทนที่จะมีอายุอยู่ถึง 3 ปีก็หยุดงอก แล้วเข้าสู่ระยะพัก และเตรียมร่วง ทำให้สัดส่วนของผมที่อยู่ในระยะงอกลดลง อาจจะเหลือ 50% หรือน้อยกว่า เมื่อผมเข้ามาสู่ระยะเตรียมร่วง หรือ telogen จำนวนมากๆ ก็จะพบว่ามีผมที่ร่วงออกมาในแต่ละวันมากขึ้น บางครั้งเมื่อเอามือรูดผมเบาๆ ผมก็หลุดติดมือมาเป็นกระจุกๆ และทำให้ผมบางลง อาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Telogen effluvium แบบเฉียบพลันที่พบบ่อยๆ ก็คือ การที่หลังจากคลอดลูกแล้ว ประมาณ 2-3 เดือน มีอาการผมร่วงมากขึ้น ที่ชาวบ้านเรียกว่า ลูกจำหน้าแม่ได้ (ซึ่งจริงๆ แล้วจำไม่ได้หรอก) นอกจากนี้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างมากๆ และกระทันหันก็ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เป็นต้นว่า มีไข้สูง เช่น จาก มาลาเรีย ทัยฟอยด์ ไข้เลือดออก ตกเลือด หลังคลอด ผ่าตัดใหญ่ ลดน้ำหนักเร็วๆ หรือ บริจาคโลหิต ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Telogen effluvium แบบเรื้อรัง ก็ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคตับ โรคไตเรื้อรัง มะเร็ง โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน (Connective tissue disease) และที่สำคัญก็คือ ภาวะโลหิตจาง และโรคของต่อมธัยรอยด์ ไม่ว่าจะเป็น ธัยรอยด์ทำงานน้อยลง หรือ ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
ในการรักษา ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ก็อาจจะกินเวลา 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งในกรณีที่ไม่ดีขึ้นหรือหายไปได้เอง หรือในกรณีที่ต้องการให้ดีขึ้นเร็ว การรักษาก็มีความจำเป็น ในการรักษา แพทย์มักจะให้ทายา minoxidil ซึ่งกลไกในการออกฤทธิ์ เชื่อว่าจะทำให้ผมอยู่ในระยะ anagen นานขึ้น และยังช่วยให้เส้นเลือดบริเวณรากผมขยายตัว มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น นอกจากนี้การให้รับประทานธาตุเหล็กเสริมก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นเร็ว เพราะมีรายงานการศึกษาพบว่า คนไข้ที่มีภาวะ telogen effluvium นี้จะมีระดับเหล็กสะสมในเลือดที่เรียกว่า seum ferritin ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะนี้ แม้ว่าจะยังไม่ถึงระดับที่ทำให้โลหิตจางก็ตาม ดังนั้น การให้เหล็กเสริมให้คนไข้ที่มี telogen effluvium จึงมีเหตุผลสนับสนุนที่พอรับฟังได้ อีกทั้งธาตุเหล็กก็มีราคาถูก และไม่มีผลเสียต่อสุขภาพสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัวอะไร ส่วนคนไข้ที่มีภาวะ Telogen effluvium เรื้อรัง นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องรักษาโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม คนไข้ในกลุ่มนี้ แม้ว่าอาการผมบางจะดีขึ้นบ้างแต่ก็มักจะไม่ปกติเสียทีเดียว
ในการที่จะเข้าใจภาวะ telogen effluvium นี้จะต้องเข้าใจวงจรของเส้นผมก่อน โดยปกติผมบนศีรษะของคนเรา จะอยู่ในระยะงอกประมาณ 80 ถึง 85 % ผมที่อยู่ในระยะงอกนี้ เรียกว่า anagen hair ผมจะอยู่ในระยะนี้ประมาณ 3 ปี โดยที่บางเส้นก็อายุมาก เกือบ 3 ปี แล้วรอการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระยะต่อไป บางเส้นก็มีอายุน้อยกว่า คละเคล้ากันไป ทำให้ปกติแล้วผมจะทะยอยๆ กันร่วง ไม่ได้ร่วงพร้อมๆ กันทีละมากๆ ผมที่อยู่ในระยะนี้จะติดแน่นกับหนังศีรษะ ถ้าจะพยายามดึงออกมา จะต้องออกแรงพอสมควร และจะเห็นว่า รากผมในระยะ anagen นี้มีลักษณะเป็นตุ่ม เหมือนต้นหอม เมื่อผมมาถึงระยะสุดท้ายของ anagen ก็จะเริ่มเข้าสู่ระยะพัก หรือเรียกว่าระยะ Catagen ซึ่งจะอยู่ในระยะนี้สั้นๆ แล้วเข้าสู่ระยะที่พร้อมจะหลุดร่วงไป หรือ Telogen ซึ่งจะมีอายุประมาณ 3 เดือน รากผมในระยะนี้จะมีลักษณะเล็กลีบ และลอยตัวสูงขึ้นสู่ระดับผิว เมื่อออกแรงดึงไม่แรงนัก ก็จะหลุดออกมาได้
ภาวะผมบางที่เกิดจากผมในระยะงอกมีสัดส่วนลดลง นั้นเกิดจากการที่ผมในระยะงอก หรือ anagen พากันเข้าสู่ระยะพัก และ ระยะเตรียมที่จะหลุดร่วงมากขึ้น หรือพร้อมๆ กัน กล่าวคือ แทนที่จะมีอายุอยู่ถึง 3 ปีก็หยุดงอก แล้วเข้าสู่ระยะพัก และเตรียมร่วง ทำให้สัดส่วนของผมที่อยู่ในระยะงอกลดลง อาจจะเหลือ 50% หรือน้อยกว่า เมื่อผมเข้ามาสู่ระยะเตรียมร่วง หรือ telogen จำนวนมากๆ ก็จะพบว่ามีผมที่ร่วงออกมาในแต่ละวันมากขึ้น บางครั้งเมื่อเอามือรูดผมเบาๆ ผมก็หลุดติดมือมาเป็นกระจุกๆ และทำให้ผมบางลง อาการดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรังก็ได้
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Telogen effluvium แบบเฉียบพลันที่พบบ่อยๆ ก็คือ การที่หลังจากคลอดลูกแล้ว ประมาณ 2-3 เดือน มีอาการผมร่วงมากขึ้น ที่ชาวบ้านเรียกว่า ลูกจำหน้าแม่ได้ (ซึ่งจริงๆ แล้วจำไม่ได้หรอก) นอกจากนี้แล้ว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับร่างกายอย่างมากๆ และกระทันหันก็ล้วนแล้วแต่ทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เป็นต้นว่า มีไข้สูง เช่น จาก มาลาเรีย ทัยฟอยด์ ไข้เลือดออก ตกเลือด หลังคลอด ผ่าตัดใหญ่ ลดน้ำหนักเร็วๆ หรือ บริจาคโลหิต ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Telogen effluvium แบบเรื้อรัง ก็ได้แก่ ความเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคตับ โรคไตเรื้อรัง มะเร็ง โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวกัน (Connective tissue disease) และที่สำคัญก็คือ ภาวะโลหิตจาง และโรคของต่อมธัยรอยด์ ไม่ว่าจะเป็น ธัยรอยด์ทำงานน้อยลง หรือ ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
ในการรักษา ถ้าเป็นแบบเฉียบพลัน ภาวะดังกล่าวสามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา แต่ก็อาจจะกินเวลา 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย ซึ่งในกรณีที่ไม่ดีขึ้นหรือหายไปได้เอง หรือในกรณีที่ต้องการให้ดีขึ้นเร็ว การรักษาก็มีความจำเป็น ในการรักษา แพทย์มักจะให้ทายา minoxidil ซึ่งกลไกในการออกฤทธิ์ เชื่อว่าจะทำให้ผมอยู่ในระยะ anagen นานขึ้น และยังช่วยให้เส้นเลือดบริเวณรากผมขยายตัว มีเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น นอกจากนี้การให้รับประทานธาตุเหล็กเสริมก็อาจช่วยให้อาการดีขึ้นเร็ว เพราะมีรายงานการศึกษาพบว่า คนไข้ที่มีภาวะ telogen effluvium นี้จะมีระดับเหล็กสะสมในเลือดที่เรียกว่า seum ferritin ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะนี้ แม้ว่าจะยังไม่ถึงระดับที่ทำให้โลหิตจางก็ตาม ดังนั้น การให้เหล็กเสริมให้คนไข้ที่มี telogen effluvium จึงมีเหตุผลสนับสนุนที่พอรับฟังได้ อีกทั้งธาตุเหล็กก็มีราคาถูก และไม่มีผลเสียต่อสุขภาพสำหรับคนทั่วไปที่ไม่มีโรคประจำตัวอะไร ส่วนคนไข้ที่มีภาวะ Telogen effluvium เรื้อรัง นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องรักษาโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ด้วย อย่างไรก็ตาม คนไข้ในกลุ่มนี้ แม้ว่าอาการผมบางจะดีขึ้นบ้างแต่ก็มักจะไม่ปกติเสียทีเดียว
Anagen hair: เส้นผมมีสีเข้มและมี inner root sheath หนาที่สุด
Telogen hair: โคนผมจะมีลักษณะเหมือนไม้กระบอง
http://www.theerayut.com/index.php/hair/20-telogen
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น