วันพุธที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2553

477. Paracetamol overdose/management

หญิง 20 ปี รับประทานยา paracetamol [500 mg.] 50 tab. 33 ชม.ก่อนมา รพ. ตอนนี้ไม่มีปวดท้อง แต่มีคลื่นใส้  PE: No jaundice, HL:WNL, Abd: not tender, no organomegaly, Lab เป็นดังนี้  จะให้การดูแลรักษาอะไร ต้องเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนใด จะ monitor อะไรบ้าง

ความสำคัญของการรักษาภาวะเป็นพิษจากยาแก้ปวดพาราเซตามอลคือการให้ยาต้านพิษทันเวลา โดยผู้ป่วยไม่ค่อยมีอาการอะไร ทั้งๆที่ความจริงพิษของยาออกฤทธิ์ช้า กว่าจะพบอาการตับอักเสบก็ใช้เวลาหลายวัน และอาจเสียชีวิตได้ การให้ยาต้านพิษภายใน 24 ชั่วโมงจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตได้

1. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายใน 2 ชั่วโมงหลังกินยาให้ล้างท้อง แล้วให้ activated charcoal ขนาด 10 เท่าของยาที่กิน (เช่น ถ้ากินยาพาราเซตามอลขนาด 500 มก. จำนวน 20 เม็ด ต้องให้ activated charcoal 100 กรัม) และหลังจากนั้นประมาณ 2-4 ชั่วโมงจึงเริ่มให้ N-acetylcysteine
2. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายหลัง 2 ชั่วโมงหลังกินยา ไม่ต้องล้างกระเพาะอาหาร และถ้าไม่เกิน 4 ชั่วโมงหลังกินยา ให้ activated charcoal หนึ่งครั้ง ขนาด 10 เท่าของยาที่กิน และหลังจากนั้นประมาณ 2 ชั่วโมงจึงเริ่มให้ N-acetylcysteine
3. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายหลัง 4 ชั่วโมงหลังกินยาไม่ต้องล้างกระเพาะอาหาร และไม่ต้องให้ activated charcoal แต่เริ่มให้ N-acetylcysteine ได้เลย
4. ถ้าผู้ป่วยมาถึงภายหลัง 24 ชั่วโมงหลังกินยา และพบความผิดปกติ คือ มีเอนไซม์ตับขึ้นเร็ว (มากกว่า 2 เท่า) ใน 24 ชั่วโมง หรือ PT มากกว่า 2 เท่า หรือในระยะที่ 3 มี bilirubin สูงกว่า 4 มก./ดล. ให้เริ่มการรักษาด้วย N-acetylcysteine
N-acetylcysteine เป็นสารตั้งต้นในการสร้าง glutathione ที่ช่วยจับกับเมตาโบไลต์ที่เป็นพิษของพาราเซตามอล
ข้อบ่งชี้ในการให้ยา N-acetylcysteineคือ
1. ระดับยาพาราเซตามอลในเลือด เมื่อเทียบกับ nomogram แล้วอยู่ในระดับที่เป็นพิษ
2. ถ้าไม่สามารถตรวจวัดระดับพาราเซตามอลในเลือดได้ ให้พิจารณาจากขนาด ถ้ามากกว่า 140 มก./กก. หรือ 7.5 กรัมในผู้ใหญ่
3. มีประวัติกินยาพาราเซตามอล และตรวจพบเอนไซม์ตับสูงขึ้น และหรือ PT ยาวขึ้น

การให้ยา N-acetylcysteine จะได้ผลดีที่สุดถ้าสามารถให้ภายใน 10 ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยได้รับยา paracetamol ระยะ 10-24 ชั่วโมงยาก็ยังได้ผลดี แต่ถ้าเกิน 24 ชั่วโมงไปแล้ว ไม่สามารถป้องกันอาการอักเสบของตับ แต่ยังสามารถลดความรุนแรงของการอักเสบของตับได้ ดังนั้นแม้ผู้ป่วยจะมาช้า การให้ N-acetylcysteine ก็ยังให้ผลดีอยู่

http://203.157.48.90/Risk_Chm_2551/cmtox/datalink_1/tab2.php

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ15/4/53 20:28

    ผู้ป่วยได้รับparacetamol overdose > 150 mg /kg
    paracetamol poisoning stage 2(24-48hr) มี hepatocellular damage
    การดูแลเบื้องต้น เรื่องการdecontamination ด้วย activated charcoal และgastric lavage ไม่มีประโยชน์ เนื่องจากระยะเวลาค่อนข้างนานก่อนมารพ การรักษาทำได้เพียง supportive treatment แก้ electrolyte imbalance และ metabolic acidois จากภาวะ vomiting
    การให้ NAC มีประโยชน์มากที่สุดภายใน 10 ชั่วโมง แต่ผู้ป่วยรายนี้มีภาวะhepatocellular damage แล้วก็ควรให้ NAC ต่อแล้วF/U liver enzyme and Prothrombin time
    complication 1. Hepatotoxicity 2. Renal toxicity 3. carditoxicity 4. thrombocytopenia 5.hemolytic anemia 6. pancreatitis 7.metabolic acidosis

    ตอบลบ