วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553

454. Screening for hepatocellular carcinoma

ประเทศเราพบ Hepatocellular carcinoma เยอะมาก จะมีวิธีการตรวจคัดกรองอย่างไร

วิธีการตรวจคัดกรองหาโรคมะเร็งตับ ควรทำในประชากรกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ โดยทั่วไปอาศัยการตรวจ tumor markers ร่วมกับการตรวจทางรังสีและ/หรือการตรวจชิ้นเนื้อตับ tumor markers ที่สำคัญได้แก่ ได้แก่ Alfa-fetoprotein (AFP) ค่า ปกติ 10-20 ng/ml และค่าที่ใช้วินิจฉัยมะเร็งตับถ้ามากกว่า 400 ng/ml
การตรวจทางรังสีมีหลายวิธี ได้แก่ การทำ ultrasonography (US), computer tomography (CT), magneticresonance imaging (MRI), angiography และ positron emission tomography (PET scan) ฯลฯ
วิธีที่ยอมรับและเลือกใช้ในการตรวจคัดกรองหามะเร็งตับทั่วโลกในปัจจุบัน ได้แก่การตรวจ AFP ร่วมกับ US ทุก 3-6 เดือน ในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ

แนวทางการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับ
เมื่อตรวจคัดกรองมะเร็งตับในกลุ่มเสี่ยงโดยการทำ US ร่วมกับ AFP แล้วพบความผิดปกติ ให้ปฏิบัติตาม
1. กรณีตรวจพบก้อนโดย US ให้พิจารณาค่า AFP ดังนี้
1.1 US พบก้อนขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตร และค่า AFP ปกติ
1.1.1 ให้ตรวจติดตามผล US และ AFP ทุก 3 เดือน หรือ
1.1.2 อาจพิจารณาทำ CT หรือ MRI ในบางราย และพิจารณาตามข้อ 1.2.1 – 1.2.3
1.2 US พบก้อนขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 2 เซนติเมตร และค่า AFP ปกติ ให้ทำ CT หรือ MRI แล้วพิจารณาลักษณะของก้อน ดังนี้
1.2.1 ถ้าลักษณะของก้อนมี arterial hypervascularization หรือลักษณะที่เข้าได้กับ HCC มาก ให้ทำการรักษาโดยวิธีผ่าตัด หรือการทำลายก้อนด้วยแอลกอฮอลล์ หรือความร้อน
1.2.2 ถ้าลักษณะของก้อนแสดงลักษณะก้ำกึ่ง HCC ให้พิจารณาดังข้อ 2.1 หรือพิจารณาตรวจชิ้นเนื้อ
( percutaneous biopsy )
1.2.3 ถ้าลักษณะของก้อนไม่เข้ากับลักษณะของ HCC ให้ตรวจติดตามผล US และ AFP ทุก 3 เดือน
1.3 US พบก้อน และค่า AFP สูงกว่าค่าปกติ ( > 200 ng/ml ) หรือค่า AFP เพิ่มสูงอย่างชัดเจน ในระหว่างการ
ตรวจติดตามผล ให้ทำ CT หรือ MRI แล้วพิจารณาดังข้อ 1.2.1 – 1.2.3
2. กรณีตรวจ US ไม่พบก้อน ให้พิจารณาค่า AFP ดังนี้
2.1 ค่า AFP ปกติ ให้ตรวจติดตามผล US และ AFP ทุก 6 เดือน
2.2 ค่า AFP สูงกว่าค่าปกติ ( >200 ng/ml ) หรือค่า AFP เพิ่มสูงอย่างชัดเจนในระหว่างการตรวจติดตามผล ให้ทำ CT หรือ MRI
2.2.1 ถ้าไม่พบความผิดปกติให้ตรวจติดตามผล US และ AFP ทุก 6 เดือน
2.2.2 ถ้าตรวจพบก้อนให้พิจารณาตามข้อ 1.2.1 – 1.2.3

หมายเหตุ : ในปัจจุบันถ้าตรวจพบลักษณะก้อนมี arterial hypervascularization และขนาดมากกว่า 2 เซนติเมตร จาก 2 วิธีได้แก่ US, CT และ/หรือ MRI และมี AFP มากกว่า 400 ng/mL สามารถวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ (Diagnosis of HCC) โดยไม่ต้องตรวจชิ้นเนื้อตับ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ30/3/53 21:25

    alpha fetoprotein

    ตอบลบ
  2. High Risk Group และไม่ High Risk Group ก็มีโอกาสเป็นได้
    แต่ถ้าทำใน High risk Group ก็มีโอกาสเจอเร็วกว่า บ่อยกว่า และ Early กว่า ซึ่งแล้วแต่ว่า Center นั้น ๆ จะใช้ Modality ไหนบ้าง ซึ่งอาจจะใช้ Combine หรือเดี่ยว ๆ โดยมีดังนี้
    1. AFP
    2. U/s
    3. CT

    ผมขอเดาว่าควร Screening ใน Case แบบนี้
    --->มี Cirrhosis แล้วจากทุก Causes เช่น HBV HCV Alcohol Hemochromatosis Primary Biliary Cirrhosis

    --->ยังไม่มี Cirrhosis แต่ HBsAg +ve และเข้าลักษณะที่พอจะเป็นมะเร็งได้ เช่น อายุมากกว่า 40 ปี ประวัติครอบครัวเป็นมะเร็ง HCC

    ตอบลบ