วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

423. Tuberculin skin test

การตรวจนี้มีข้อบ่งชี้ ข้อควรพิจารณา และการแปลผลอย่างไร
Tuberculin skin test
• การทดสอบวัณโรคบนผิวหนัง (TST) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าการทดสอบแมนทู (Mantoux test) ใช้เมื่อต้องการทราบว่าท่านติดเชื้อวัณโรคหรือไม่
• การทดสอบนี้กระทำโดยการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง โดยปกติบนต้นแขนซ้าย หลังจากนั้น 48 – 72 ชั่วโมง จะมีการตรวจดูบริเวณนั้นว่ามีปฏิกิริยาอะไร (ตุ่ม) เกิดขึ้นหรือไม่
• อาจมีตุ่มเกิดขึ้นตุ่มหนึ่งถ้าท่านได้ติดเชื้อวัณโรคหรือได้รับการฉีดวัคซีนบีซีจี ตุ่มที่เกิดขึ้นนี้ ในที่สุดจะหายไปเอง
• ชุมชนร้อยละไม่มากนักจะมีผลการทดสอบวัณโรคบนผิวหนังเป็นบวก และคนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อวัณโรค ไม่กลายเป็นโรควัณโรค
สิ่งที่จำเป็นที่ท่านจะต้องบอกก่อนรับการตรวจ:
• เป็นโรคมะเร็งชนิดใดชนิดหนึ่ง รวมถึงโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองหรือโรคฮอจคิน
• ใช้ยาที่กระทบกระเทือนต่อระบบภูมิคุ้มกันโรคเช่น ยาคอร์ทิโค-สตีรอยด์ (เพร็ดดริโซน), ไซโคลสปอริน และคีโมเธราปี (เพื่อรักษาโรคมะเร็ง)
• เคยได้รับการติดเชื้อเมื่อเร็วๆ นี้ (ในเดือนที่ผ่านมา) เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ หัด หรือ ไอกรน
• ได้รับการฉีดวัคซีน (ในเดือนที่ผ่านมา) ป้องกันโรคคางทูม หัด และ รูเบลล่า หรือ วารีเซ็ลลา (อีสุกอีใส)
• เป็นโรคเอชไอวี-เอดส์
อาการเหล่านี้อาจกระทบกระเทือนต่อการตีความและการจัดการการทดสอบวัณโรคบนผิวหนังได้
วิธีทดสอบ
•ใช้น้ำยามาตรฐาน 0.1 cc ฉีด intradermalที่ท้องแขนห่างจากข้อศอก 2 นิ้ว ให้เป็นตุ่มนูน
•อ่านผลหลังฉีด 48-72 ชั่วโมง วัดรอยนูนแดงในแนวขวางเป็น มม.
การแปลผลทดสอบ
#น้อยกว่า 5 มม. หรือไม่มีตุ่มนูน
#หรือเท่ากับ 5 มม.
- ผู้มีภูมิต้านทานต่ำหรือมีเหตุผลอื่นให้สงสัยว่าอาจเป็นวัณโรค
- สัมผัสวัณโรคชนิดแพร่เชื้อ
- HIV +ve หรือเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี HIV +ve และสงสัยว่าติดเชื้อ
- ภาพรังสีมีรอยแผลซึ่งน่าจะเกิดจากวัณโรค
#ขนาดรอยนูนมากกว่า 10 มม.-ผู้มีเหตุผลอื่นที่สงสัยว่าอาจเป็นวัณโรค
-ผู้มีความเสี่ยงต่อการป่วยเมื่อติดเชื้อวัณโรคสูง เช่นเบาหวาน ได้ยากดภูมิต้านทาน(steroids) มะเร็ง ไตวายเรื้อรัง
-ผู้มาจากชุมชนที่มีโอกาสติดเชื้อวัณโรคสูง
-เด็กอายุ 0-5 ปี หรือวัยรุ่นอยู่ร่วมกับผู้มีโอกาสติดเชื้อสูงและ tuberculin +ve
ขนาดรอยนูนมากกว่า 15 มม.-คนอื่นๆทุกคนนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น
-no known risk factors for TB
-low risk ใน developed countries
http://dpc3.ddc.moph.go.th/DOWNLOAD/file_TB/counseller.ppt
http://www.health.nsw.gov.au/mhcs/publication_pdfs/7605/DOH-7605-THA.pdf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น