หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553

420. Frank-Starling law

Frank-Starling law นำมาใช้ในทางคลินิกที่เกี่ยวกับ cardiology อย่างไร
Frank-Starling law หรือที่รู้จักกันในชื่อ Frank-Starling mechanism ถูกค้นพบโดย Otto Frank ชาวเยอรมันและ Ernest Starling ชาวอังกฤษ ในปีค.ศ.1915และแก้ไขเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ.1919โดย
กฏนี้กล่าวว่า
“ภายใต้ภาวะทางสรีรวิทยาที่จำกัด แรงของการบีบตัวของหัวใจจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความยาวของเส้นใยกล้ามเนื้อเริ่มต้น” ซึ่งหมายความว่าแรงของการบีบตัวของหัวใจจะเพิ่มขึ้นถ้ามีเลือดในช่องหัวใจมากขึ้นซึ่งทำให้ความยาวของเส้นใยกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งก็คือถ้า end-diastolic volume ของหัวใจห้องล่างซ้าย เพิ่มขึ้น(=เพิ่ม preload) จะทำให้ stroke volume เพิ่มขึ้น

กฏของโอห์มกับหัวใจ

จากกฏของโอห์ม(Ohm's law) ที่ว่า
V= I X R
หรือความต่างศักย์ทางไฟฟ้า เท่ากับผลคูณระหว่างกระแสไฟฟ้า กับความต้านทานไฟฟ้า เราสามารถนำมาใช้กับสรีรวิทยาทางหัวใจ โดย
V =ความดันโลหิต(Blood pressure)
I =Cardiac output ซึ่งเท่ากับ stroke volume X heart rate
R =ความต้านทานของเส้นเลือด(Peripheral vascular resistance)

ดังนั้นถ้าผู้ป่วยมีความดันโลหิตต่ำลง(ค่า V ในสมการลดลง) ก็อาจจะเป็นผลได้จาก
1.cardiac output ลดลง(ค่า I ในสมการลดลง) ที่เกิดจาก stroke volume ลดลง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตายทำให้บีบตัวได้ลดลง, คนไข้เสียเลือดมากทำให้ end-diastolic volume ของหัวใจห้องล่างซ้ายลดลง(=preload ลดลง) ทำให้บีบตัวลดลง(เป็นไปตาม Frank-Starling law), ในรายที่มีความดันโลหิตสูงมาก(afterload เพิ่มขึ้น)
2.cardiac output ลดลง(ค่า I ในสมการลดลง) ที่เกิดจาก heart rate ช้าลง เช่น เกิด complete heart block พอ HR ช้ามาก ก็จะทำให้ความดันโลหิตลดลงตาม
3.peripheral vascular resistance(ค่า R ในสมการ)ลดลง เช่น ในรายที่ได้ยาลดความดันโดยการขยายเส้นเลือดกลุ่ม sodium nitroprusside แล้วความดันลดลง

ดังนั้นทุกครั้งที่เราพบผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิตต่ำ จะต้องหาสาเหตุที่เป็นองค์ประกอบทั้งหมด ตามสมการของกฏของโอห์ม ด้วยเสมอ เพราะในบางรายอาจจะไม่ได้มีสภาวะที่ผิดปกติเพียงสภาวะเดียว เช่น มีdiarrheaและมี septic shock ร่วมด้วย, เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตาย ร่วมกับการมีcomplete heart block เป็นต้น
และจากความรู้ดังกล่าวเมื่อนำมาใช้กับ curve ของ Frank-Starling law จะพบว่า curve ของ Frank-Starling law ไม่ได้มีเพียง curve เดียว

กล่าวคือ ถ้ามีภาวะที่เพิ่มafterload หรือมีการบีบตัวของหัวใจลดลงก็จะทำให้ curve shift ไปทางขวาและต่ำลง(=ไม่ดีต่อหัวใจ เพราะจะทำให้การบีบตัวลดลงกว่าหัวใจที่ปกติ เมื่อเทียบค่า LVEDP เดียวกัน) และภาวะที่ลดafterload และเพิ่ม inotropy ของหัวใจ จะทำให้ curve shift ไปทางซ้ายและสูงขึ้น (=ดีต่อหัวใจ เพราะจะทำให้การบีบตัวของหัวใจมากขึ้นกว่าหัวใจปกติ เมื่อเทียบกับค่า LVEDPเดียวกัน)

http://www.perfectheart.co.th/th_knowledge37.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น