ประสิทธิภาพของ HPV vaccine จะสูงที่สุดในสตรีที่ยังไม่ติดเชื้อ HPV ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนก่อนถึงวัยที่จะมีเพศสัมพันธ์หรือก่อนมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรคที่จะเกิดตามมา ในปัจจุบัน HPV vaccine มีความปลอดภัย มีศักยภาพการกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูง และมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรคของอวัยวะเพศสตรี ในสตรีช่วงอายุ 9-26 ปี ส่วนสตรีที่มีอายุมากกว่า 26 ปี ยังไม่มีข้อมูลด้านประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อ HPV และรอยโรค สำหรับการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นซ้ำ (booster) ยังไม่มีข้อมูลว่าควรฉีดเมื่อไร ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าระดับ antibody ยังคงป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้นานอย่างน้อย 5 ปี
ข้อบ่งชี้ในการฉีด HPV Vaccine
1. เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด2. เพื่อป้องกันรอยโรคและมะเร็งอวัยวะเพศสตรีที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับ วัคซีนที่ฉีด
ข้อบ่งห้ามของการฉีด HPV Vaccine
1. ผู้ที่มีภาวะ hypersensitivity ต่อสารประกอบในวัคซีน เช่น ยีสต์ และ adjuvants ชนิดต่าง ๆ
2. ผู้ที่มีอาการที่บ่งชี้ว่าเคยมีภาวะ hypersensitivity หลังจากการฉีด HPV vaccine ครั้งแรก
คำแนะนำที่ควรแจ้งให้ทราบก่อนการฉีด HPV Vaccine
ควรอธิบายให้ผู้รับการฉีดวัคซีนเข้าใจดังนี้
1. การฉีด HPV vaccine ไม่สามารถใช้ทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้
2. การฉีด HPV vaccine อาจจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV รอยโรคก่อนมะเร็ง และมะเร็งปากมดลูกได้ทุกราย
3. การฉีด HPV vaccine ไม่สามารถใช้ป้องกันผล Pap smear ผิดปกติ และไม่สามารถใช้รักษา
รอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกได้
4. การฉีด HPV 16/18 vaccine ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อหรือรอยโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV
สายพันธุ์อื่นนอกจาก HPV 16/18 ได้
5. การฉีด HPV vaccine ไม่ได้ป้องกันโรคที่เกิดจากสาเหตุอื่นนอกจากเชื้อ HPV เช่น ตกขาวหรือกามโรค ฯลฯ
6. การฉีด HPV vaccine ในสตรีที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ระดับของ antibody อาจจะต่ำกว่าในสตรีทั่วไป
7. หลังจากฉีด HPV vaccine แล้ว ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์แบบสำส่อน ควรมีเพศสัมพันธ์เชิงป้องกันการติดเชื้อ HPV ด้วย
8. ควรฉีดวัคซีนให้ครบ 3 ครั้ง
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนและหลังการฉีด HPV Vaccine
การทำ Pap smear ก่อนการฉีดวัคซีนขึ้นกับประวัติการมีเพศสัมพันธ์และการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
1. ถ้ายังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ไม่จำเป็นต้องทำ Pap smear ก่อนการฉีดวัคซีน
2. ถ้าเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว
2.1 ถ้าไม่เคยทำ Pap smear มาก่อนหรือทำไม่สม่ำเสมอ แนะนำให้ทำ Pap smear เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อน
- ถ้าผลปกติ สามารถฉีดวัคซีนได้ และควรมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามคำแนะนำของแพทย์
- ถ้าผลผิดปกติ ให้ดูแลรักษาตามมาตรฐาน ถ้าหายแล้วอาจให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีด HPV vaccine ให้สตรีพิจารณา
2.2 ถ้าเคยทำ Pap smear มาแล้วอย่างสม่ำเสมอและผลปกติทุกครั้ง สามารถฉีดวัคซีนได้
หลังฉีด HPV 16/18 vaccine แล้ว ควรมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพราะเชื้อ HPV 16 และ HPV 18 เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกประมาณร้อยละ 70 เท่านั้น
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนและหลังการฉีด HPV Vaccine
http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=161
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น