มีหลักในการเริ่มและเลือกยาลดไขมันในเลือดอย่างไร
การพิจารณาใช้ยาจึงขึ้นกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ของผู้ป่วย ระดับไขมันโคเลสเตอรอล และดุลยพินิจของแพทย์ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาเป็นเพียงการลดโอกาสเกิดโรค หรือผลแทรกซ้อนทางเลือดเท่านั้น ไม่ได้ป้องกันการเกิดโรค การรับประทานยา ต้องควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ และอยู่ในความดูแลของแพทย์เสมอ การควบคุมอาหารเต็มที่ จะลดระดับโคเลสเตอรอลได้ประมาณร้อยละ 10-15 ซึ่งอาจเพียงพอในผู้ที่มีไขมันสูงบางราย ในขณะที่อาจไม่เพียงพอในผุ้ป่วยเบาหวานหรือผู้ป่วยโรคหัวใจที่ควรให้ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอลต่ำหว่า 100 มก./ดล
ยาลดไขมันได้แก่:
-Bile Acid Sequestrants ชื่อสามัญ Cholestyramine, Colessevelam (ยังไม่มีในประเทศไทย) ลดระดับโคเลสเตอรอลลง 7-25% แอล-ดี-แอลโคเลสเตอรอลลง 11-36% มีผลต่อ เอช-ดี-แอล และไตรกลีเซอไรด์น้อย รับประทานวันละ 12 กรัม เนื่องจากยานี้ไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย จึงไม่มีผลต่อตับ แต่รสชาติไม่อร่อย รับประทานลำบาก ยาเป็นผลต้องผสมน้ำ มีผลแทรกซ้อนทางลำไส้บ่อย เช่น ท้องอืด ลมในท้องมาก ท้องผูก เป็นต้น ยังอาจขัดขวางการดูดซึมของยาบางชนิดด้วย
-Statins ยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มเด่นมากในการลดไขมันโคเลสเตอรอล นอกจากลดไขมันโคเลสเตอรอลได้ดีแล้ว ยังเชื่อว่ามีผลดีต่อหลอดเลือดแดง โดยกลไกไม่เกี่ยวข้องกับการลดไขมันด้วย ยากลุ่มนี้มีด้วยกันหลายชนิด เช่น Fluvastatin Atorvastatin Pravastatin Simvastatin Cerivastatin (ปัจจุบันไม่มี Cerivastatin จำหน่ายแล้ว) และ Rosuvastatin (ยังไม่มีจำหน่าย) สามารถลดระดับโคเลสเตอรอล และ แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ดีมาก คือ 25-40% (ขึ้นกับชนิด และขนาดยา) เพิ่มเอช-ดี-แอล 6-10% ลด ไตรกลีเซอไรด์ได้ 10-20% ยานี้จึงควรใช้เป้นกลุ่มแรก สำหรับผู้ที่มีไขมันโคเลสเตอรอลสูง สำหรับผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ ตับอักเสบ (ค่า SGOT/SGPT ขึ้นสูงเล็กน้อย) พบได้น้อยประมาณ 1 ใน 15,000 ราย และกล้ามเนื้ออักเสบรุนแรง (Phabdomyolysis) 1 ใน 30,000 ราย ซึ่งนับว่าต่ำมาก แต่ก็ต้องระวัง โดยเฉพาะการใช้ยานี้ร่วมกับยากลุ่ม Fibrates และไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยโรคตับ
-Fibrates ชื่อสามัญ เช่น Gemfibrozil Bezafibrate Fenofibrate ได้ผลดีในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ ลดลงได้ 20-40% ขึ้นกับขนาดยาลดโคเลสเตอรอลได้น้อยมาก (8-10%) จนไม่ควรใช้เป็นตัวยาแรกในโคเลสเตอรอล เพิ่ม เอช-ดี-แอล โคเลสเตอรอล 10-15% จึงเหมาะในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มักจะมีไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง และ เอช-ดี-แอล ต่ำ ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ อาจเกิดนิ่วในถุงน้ำดีเพิ่มขึ้นได้ (แต่พิสูจน์ยังไม่ได้ชัดเจน) ไม่ควรใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคตับ
-Niacin ทราบกันมานานแล้วว่า Nicotinic Acid หรือ Niacin สามารถลดไขมันในเลือดได้ทั้งโคเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไลด์ สามารถเพิ่มไขมัน เอช-ดี-แอล ได้มากที่สุดในบรรดายาที่มีอยู่ แต่ไม่เป้นที่นิยมใช้ เนื่องจากผลแทรกซ้อนจากยามีมาก ปัจจุบันมีการพัมนารูปแบบของยาเป้นชนิดออกฤทธิ์นาน ทำให้ผลแทรกซ้อนลดลง Niacin ลด แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ 20-30% ลดไตรกลีเซอไรด์ 20-50% เพิ่มเอช-ดี-แอล ได้มากถึง 15-35% ผลแทรกซ้อนที่พบคือ อาการร้อนวูบวาบเนื่องจากการขยายหลอดเลือดแดง ความดันโลหิตต่ำ น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือควบคุมได้มากขึ้น กรดยูริคสูงขึ้น แต่ที่น่ากลัว คือ ตับอักเสบรุนแรง ปัจจุบันยานี้ในรูปแบบออกฤทธิ์นาน ยังไม่มีจำน่ายในประเทศไทย
-กลุ่มอื่นๆ Orilstat เป็นยาที่ใช้ลดน้ำหนัก ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการดูดซึมของไขมันที่รับประทานเข้าไปในลำไส้ โดยลดการดูดซึมของไขมันเข้าร่างกายได้ประมาณ 30% เมื่อไขมันจากอาหารเข้าร่างกายลดลงผลพลอยได้ประการหนึ่ง คือไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงด้วยประมาณ 8-10% ยานี้มีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง ไม่เป็นอันตราย แต่รำคาญ เช่น ท้องอืด ลมมาก ผายลมบ่อย อุจจาระเป็นน้ำมัน เป็นต้น
-อย่างไรก็ตาม ในบางรายจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อลดไขมันในเลือด เพื่อหวังผลในการลดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง และลดปัญหาการแทรกซ้อนทางหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น
-Fish Oils (Omega-3-Polyunsaturates) น้ำมันปลา ที่มีส่วนผสมของ EPA และ DHA ในขนาดสูง สามารถลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้พอสมควร แต่ไม่มีผลลดไขมันโคเลสเตอรอล ผลแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เกิดเลือดออกง่ายขึ้น จึงไม่ควรใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Warfarin, Orfarin) และควร ระวังการใช้น้ำมันปลาร่วมกับแอสไพริน ผลแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น เรอเป็นกลิ่นปลา ท้องอืด ท้องเสีย คลื่นไส้อาเจียน แต่พบไม่บ่อยนัก
-Ezetimibe เป็นยาที่อยู่ระหว่างการศึกษา ยังไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย ยานี้น่าสนใจเพราะยับยั้งการดูดซึมของไขมันโคเลสเตอรอลในลำไส้ โดยที่ยาไม่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย พบว่าสามารถลด แอล-ดี-แอล โคเลสเตอรอล ได้ประมาณ 18-20% หากให้ร่วมกับยากลุ่ม Statins จะลด แอล-ดี-แอล ได้มากขึ้นเป็น 50%อาหารที่มีกาก หรือ เส้นใยอาหารมาก จะช่วยในการดูดซับ ไขมันจากอาหาร ลดการดูดซึมไขมันเช่นกัน เช่น ข้าวกล้อง เป็นต้นกระเทียม สามารถลดโคเลสเตอรอลได้บ้าง แต่น้อยมาก อีกทั้งคุณสมบัติไม่แน่นอน ขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับในการแนะนำให้ใช้
http://www.samunpai.com/diet/show.php?id=37&cat=3
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น