ผู้ป่วยมาปรึกษาเรื่อง Hormone replacement therapy จะมีหลักการให้อย่างไร
-เอสโตรเจนที่ใช้ในฮอร์โมนทดแทนมีหลายชนิด ส่วนใหญ่นิยมใช้ชนิดที่ได้มาจากธรรมชาติในรูปแบบยารับประทาน ส่วนรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ การให้ทางผิวหนัง ทางช่องคลอด การฝังใต้ผิวหนัง และการพ่นเข้าจมูก ความแตกต่างระหว่าง การบริหารยาโดยแบบรับประทานและแบบอื่น คือ ภายหลังการรับประทาน ยาจะถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารผ่านไปยังตับก่อน จึงจะผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปตามอวัยวะเป้าหมายต่างๆ การเปลี่ยนแปลงของเอสโตรเจนที่ตับบางอย่างอาจทำให้เกิดผลเสียได้ในผู้ป่วยบางกลุ่ม โดยทั่วไปเอสโตรเจนสังเคราะห์ จะมีผลต่อตับมากกว่าเอสโตรเจนธรรมชาตินอกจากนี้ยังขึ้นกับขนาดของเอสโตรเจนด้วย เอสโตรเจนที่ใช้มากที่สุดในเวชปฏิบัติ คือ ชนิดรับประทาน เนื่องจากความสะดวก และราคาถูกกว่าชนิดอื่น แพทย์อาจพิจารณาให้เอสโตรเจนรูปแบบอื่น เช่น ผ่านทางผิวหนังในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ ระบบทางเดินอาหาร เป็นโรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง ปวดศีรษะแบบไมเกรน และผู้ที่สูบบุหรี่จัด
-การให้โปรเจสโตเจน ในสตรีวัยหมดระดูที่ได้รับเอสโตรเจน มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อป้องกันการเกิดภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกหนาตัวและมะเร็งของเยื่อบุโพรงมดลูก โดยมีกลไกสำคัญ คือ โปรเจสโตเจนสามารถยับยั้ง การสังเคราะห์ดีเอ็นเอลดการแบ่งตัวของเซลล์ และลดจำนวนตัวรับต่อฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เซลล์เป้าหมาย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงเอสโตรเจนให้อยู่ในรูปแบบที่ออกฤทธิ์ได้น้อยลงโปรเจสโตเจนที่ใช้ในสตรีวัยหมดระดูมีหลายชนิด ในการป้องกันการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในผู้ที่ได้รับเอสโตเจนนั้น ขนาดและระยะเวลาของการให้โปรเจสโตเจนเป็นสิ่งสำคัญ-สตรีวัยหมดประจำเดือนหรือสตรีที่ผ่าตัดมดลูก อาจประสบปัญหาทางด้านสุขภาพกายและอารมณ์ เนื่องจากภาวะพร่องฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งทราบได้จากมีอาการแสดงต่างๆ ได้แก่ ร้อนวูบวาบตามตัว เหงื่อออกมากตอนกลางคืน นอนไม่หลับ เวียนศีรษะ ใจสั่น เหนื่อยง่าย หงุดหงิด อาการเปลี่ยนแปลงเร็ว เครียด มักระงับอารมณ์ไม่ได้ ซึมเศร้า ปวดศีรษะ ขี้หลงขี้ลืม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ ผิวหนังบางลง เป็นแผลง่าย เป็นต้น การใช้ฮอร์โมนทดแทนในขนาดที่เหมาะสม อาจช่วยบรรเทาอาการและช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่างๆ ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น ควรทำควบคู่ไปกับการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และการออกกำลังกายตลอดจนการปรับวิถีชีวิตเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ จึงจะได้ผลดี
-ข้อเสียของการใช้ฮอร์โมนทดแทน คือทำให้เกิดอาการข้างเคียงต่างๆ เช่น มีเลือดออกจากโพรงมดลูก เลือดออกกะปริดกะปรอย เจ็บเต้านม บวมน้ำ เป็นต้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับขนาด วิธีใช้ และชนิดของฮอร์โมนมีความเสี่ยงที่จะเกิดมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม อันตรายของฮอร์โมนทดแทน ฮอร์โมนก็เหมือนยาทุกอย่าง มีทั้งคุณและโทษถ้าใช้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นจึงขอให้ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านฮอร์โมนเพศเพื่อพิจารณาว่าสมควรใช้หรือไม่ควรใช้อย่างไร และมีการนัดตรวจติดตาม เพื่อประเมินผลการรักษา และเฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นตลอดจนได้ประโยชน์ในการตรวจสุขภาพทั่วไปเพื่อป้องกันโรคอื่นๆอีกด้วย-หญิงวัยหมดระดูทุกคนจะได้รับประโยชน์ดังกล่าวมาข้างต้นเมื่อได้รับฮอร์โมนทดแทน แต่ในการตัดสินใจว่าใครควรได้รับฮอร์โมนทดแทนหรือไม่นั้น แพทย์จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนร่วมกับตัวผู้ใช้เองเพื่อให้การใช้ฮอร์โมนทดแทนนั้นได้ประโยชน์สูงสุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด สิ่งที่ต้องพิจารณาในการใช้ฮอร์โมนทดแทน คือ อาการที่เกิดขึ้นมีหรือไม่ รุนแรงเพียงใด อัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน และโรคหัวใจมีหรือไม่มากน้อยเพียงใด และผู้ป่วยมีโรคอันเป็นข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนทดแทนหรือไม่
-การใช้ฮอร์โมนทดแทนกับการเกิดมะเร็งเต้านม ผลการศึกษาส่วนใหญ่ พบว่าฮอร์โมนทดแทนในระยะไม่เกิน 5 ปี ไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม และบางรายงานพบว่า สามารถลดความเสี่ยงลงเสียด้วยแต่เนื่องจากผลการศึกษานี้ไม่เป็นเอกฉันท์ จึงไม่อาจสรุปเช่นนั้นได้เต็มที่ แต่ถึงแม้ว่าอาจจะพบว่า มีการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมบัางในบางรายงาน ความเสี่ยงนั้นก็เพิ่มน้อยเสียเหลือเกินเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากฮอร์โมนทดแทนโดยทั่วไปสามารถจะเฝ้าระวังโรคได้ ทันทีที่พบการเปลี่ยนแปลงจะพิสูจน์ทันที ทำให้สามารถรักษาโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มเป็น ส่วนมะเร็งของอวัยวะอื่นๆไม่พบมะเร็งของอวัยวะอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาแล้ว เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนทดแทน-พึงระลึกไว้เสมอว่าไม่สามารถใช้ยาคุมกำเนิดแทนฮอร์โมนทดแทน เพราะฮอร์โมนในยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ อาจมีผลเสียต่อเส้นโลหิตและหัวใจได้ถ้าใช้เป็นเวลานาน ถ้ายังไม่หมดระดูอาจใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีขนาดต่ำได้ เพราะการตั้งครรภ์เมื่ออายุมากมีอันตรายมากกว่าอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากยาเม็ดคุมกำเนิด เมื่อหมดระดูเมื่อไรก็ปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนทดแทนส่วนจะใช้ฮอร์โมนทดแทนไปได้นานเท่าไร เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และโรคความจำเสื่อม ควรใช้ฮอร์โมนทดแทนไปตลอดชีวิต หรืออย่างน้อยที่สุด 5 ปีอย่างต่อเนื่อง เมื่อหยุดฮอร์โมนทดแทน การเปลี่ยนแปลงต่างๆเนื่องจากการขาดฮอร์โมนก็จะเริ่มอีกครั้ง
ดังนั้นแพทย์จะประเมินว่าสมควรจะได้รับฮอร์โมนทดแทนหรือไม่ เลือกขนาดและวิธีการใช้ ตลอดจนประเมินก่อนที่จะเริ่มให้และติดตามหลังการให้ยา
Ref: http://www.bangkokhealth.com/index.php/2009-01-19-02-55-15/1505-the-limits-of-hormone-replacement-therapy
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น