หลักการให้ออกซิเจนในผู้ป่วย COPD คือ
การพิจารณาให้การรักษาด้วยออกซิเจนระยะยาว
-PaO2 น้อยกว่า 55 มม. ปรอท หรือ O2sat น้อยกว่า 88% ขณะหายใจอากาศปกติ ในภาวะ stable
-PaO2 ระหว่าง 55-59 มม.ปรอท และมีภาวะดังต่อไปนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง
1.Cor pulmonale
2.Pulmonary hypertension
3.Erythrocytosis (Hct>55%)
-ให้ผู้ป่วยสูดดมออกซิเจนเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมง/วัน และไม่ควรเว้นระยะนานเกิน 2 ชั่วโมง และควรให้ในขณะนอนหลับเสมอ อุปกรณ์ในการให้ออกซิเจนที่สะดวกที่สุดคือ nasal cannula
-ควรให้ผ่านทาง cannula โดยตั้งอัตราการไหล 1-3 ลิตร/นาที[บางแนวทางให้ไม่เกิน 2 ลิตร/นาที] ในผู้ป่วย COPD ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง ถ้าให้มากก็จะเกิดการคั่งของออกซิเจน และในผู้ป่วย COPD จะมีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เรื้อรัง การหายใจจะถูกกระตุ้นด้วยภาวะ hypoxemia ถ้าภาวะ hypoxia ลดลงจะทำให้ผู้ป่วยหายใจช้าลง เกิดการคั่งของ CO2 มากขึ้น เกิดภาวะ respiratory acidosis และ CO2 narcosis หรืออาจจะทำให้เกิดการหยุดหายใจได้ ดังนั้นจากการให้ O2 ความเข้มข้นสูงๆ จะกด hypoxic drive [บางแนวทางอาจ keep ที่ 85-92%]
Ref: http://74.125.153.132/search?q=cache:lMooHeD4tEIJ:cro.moph.go.th/hosp/hosp17/inform/CPG/COPD.doc+oxigen+copd&cd=10&hl=th&ct=clnk&gl=th&lr=lang_th
http://74.125.153.132/search?q=cache:JPwwKgEyKJQJ:www.susheewa.com/blog/%3Fp%3D685+oxigen+copd&cd=12&hl=th&ct=clnk&gl=th&lr=lang_th
http://74.125.153.132/search?q=cache:RhaRv_javOcJ:www.patient.co.uk/doctor/Use-of-Oxygen-Therapy-in-COPD.htm+oxigen+copd&cd=2&hl=th&ct=clnk&gl=th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น