Jet Lag
Clinical practice NEJM February 4, 2010
Jet lag เป็นความผิดปกติของการนอนหลับเนื่องมาจากการข้ามผ่านไปในเวลาของแต่ละท้องถิ่น[ time zones] ในการเดินทางโดยเครื่องบินอย่างรวดเร็วจนมีผลต่อการนอนหลับ พยาธิสรีระวิทยาจะเกี่ยวข้องกับ ความสับสนชั่วคราวที่เกิดระหว่าง circadian clock ของร่างกาย และเวลาของในแต่ละท้องถิ่นที่ไป (local time ) ซึ่งcircadian clock ตั้งอยู่ใน suprachiasmatic nucleus ของ hypothalamus โดยทำงานสัมพันธ์กับความมืดสว่างจากแสงอาทิตย์ซึ่งจะทำให้กระฉับกระเฉงในเวลากลางวันแต่จะง่วงในตอนกลางคืน นาฬิการ่างกายนี้จะมีการตั้งต้นใหม่ (reset) ช้า โดยหลังการผ่าน time zones ไปแล้ว สัญญานจากภายในด้านการหลับตื่นยังไม่สัมพันธ์กับความมืดสว่างของถิ่นที่ไปอยู่ใหม่และไม่สัมพันธ์กับกิจวัตรการงานใหม่
อาการประกอบไปด้วยการนอนไม่หลับในตอนกลางคืนแต่กลับมาหลับตอนกลางวัน รวมทั้ง รู้สึกไม่มีความสุข สมรรถภาพของการทำงานลดลง การรับรู้ลดลง การทำงานของระบบทางเดินอาหารแปรปรวน
แนวทางการรักษาคือ (American Academy of Sleep Medicine) ใช้ melatonin เป็นยามาตรฐาน รวมทั้งการศึกษาดูช่วงเวลาที่เคยนอน การให้เห็นแสงสว่างในเวลาที่เหมาะสม การให้ยานอนพักและยากระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัวตามแนวทางการรักษา สามารถอ่านเพิ่มเติมได้โดยมีหัวข้อดังนี้
Clinical Problem
Strategies and Evidence
Therapeutic Resetting of the Circadian Clock
-Optimizing Light Exposure
-Melatonin Administration
Strategic Scheduling of Sleep
Pharmacotherapy
-Hypnotic Agents
-Agents That Promote Alertness
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations http://content.nejm.org/cgi/content/short/362/5/440
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น