หลักการเลือกใช้ยา
-เลือกโดยดูจากสภาวะของผู้ป่วยเช่น ความรุนแรงของโรค ความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนทางโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคที่เป็นอยู่ อายุ สภาพของร่างกายและอวัยวะที่อาจมีปัญหาเช่นไต
-การเริ่มใช้ยาส่วนใหญ่จะเริ่มจากยาเดี่ยวในขนาดต่ำๆก่อนเพราะ ถ้าไม่ได้ผลอาจจะค่อยๆเพิ่มขนาดขึ้น หรือใช้ยาชนิดที่ 2 ที่มีการออกฤทธิ์ต่างจากยาตัวแรกร่วมด้วย นอกจากนี้แพทย์อาจจะเริ่มการรักษาด้วยการใช้ยามากกว่า 1 ชนิดซึ่งมีข้อดีคือทำให้ควบคุมความดันดีขึ้น ลดอาการไม่พึงประสงค์ลง ทำให้ผู้ป่วยทนต่อการใช้ยาได้ รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายในการรักษา-การลดความดันอย่างรวดเร็วอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ป่วยเช่นเกิดอาการมึนงง อ่อนเพลีย หรือเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ-เลือกยาที่ควบคุมความดันโลหิตให้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยรับประทานเพียงวันละครั้ง ซึ่งเป็นการเพิ่ม patient compliance ทำให้การรักษาประสบความสำเร็จ และสามารถรักษาระดับความดันได้คงที่ดีกว่ายาที่ออกฤทธิ์สั้นซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงอันตรายจากภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในกรณีความดันที่เพิ่มขึ้นเมื่อยาหมดฤทธิ์ เพราะตามปกติแล้วความดันโลหิตจะสูงขึ้นในตอนเช้า ถ้ายาที่ใช้เป็นกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นแม้จะรับประทานก่อนนอน ยาอาจหมดฤทธิ์และควบคุมระดับความดันไม่ได้ในช่วงเช้าก่อนผู้ป่วยตื่นนอน ทำให้เกิด heart attack ขึ้นได้-ยาควรมีผลข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ต่ำและสามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูงได้เช่นความสามารถของยาในการป้องกัน left ventricular hypertrophy เป็นต้น
ชนิดของยาลดความดันโลหิตสูง:
1 ยาขับปัสสาวะ (Diuretics), 2 Beta-blockers, 3 Calcium channel blockers, 4 Angiotensin converting enzyme inhibitors (ACEI), 5 Angiotensin II receptor antagonists (AII antagonists, ARB), 6 Alpha-blockers และยังมียาอื่นได้แก่ Methyldopa (centrally acting antihypertensive agent) ที่สามารถใช้ในผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์ได้, spironolactone (antagonist of aldosterone)โดยการเลือกใช้ยาแต่ละกลุ่มอ่านเพิ่มตาม Link นี้http://www.pharm.chula.ac.th/clinic101_5/article/Radio77.htm
หรือดูสรุปที่เป็นตารางจาก NEJM http://content.nejm.org/cgi/content/full/348/7/610
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น