มีข้อบ่งชี้: เพื่อช่วยลดความแน่นอึดอัดหรือภาวะที่มีผลต่อการหายใจ แต่ต้องมี hemodynamic คงที่ และสามารถทำซ้ำได้ถ้าน้ำในช่องท้องยังไม่หายไปและไม่ตอบสนองต่อยาขับปัสสาวะ
ข้อควรระวัง: coagulopathy หรือ thrombocytopenia ซึ่งมักพบในผู้ป่วยโรคตับอยู่แล้ว ซึ่งการให้ FFP หรือ platelet ตั้งแต่แรกก็ไม่มีความจำเป็น แต่ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจะสูงขึ้นในผู้ที่มี creatinine สูงขึ้น และควรสังเกตอาการภายหลังทำ แต่ไม่ควรทำในผู้ป่วยที่มี disseminated intravascular coagulation ควรทำด้วยความระมัดระวังในผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือมีตับม้ามโต มีผังผืดในช่องท้อง กระเพาะปัสสาวะโป่งตึง การใช้ U/S เพื่อลดอัตราเสี่ยงจากการบาดเจ็บ ควรใส่ NG tube ในผู้ป่วยที่มีลำไส้อุดตัน ถ้ากระเพาะปัสสาวะโป่งตึงควรใส่สายสวนก่อน ไม่ควรทำบริเวณผิวหนังที่มีการติดเชื้อ มีเส้นเลือดที่โป่งพอง รอยแผลผ่าตัด มีเลือดคั่งที่ผนังหน้าท้องภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้แก่ การรั่วซึมของน้ำ, ติดเชื้อตำแหน่งที่เจาะ, เลือดออกรุนแรงพบน้อยคือ 0.2%, เกิดก้อนเลือดที่ผนังช่องท้อง บาดเจ็บต่ออวัยวะในช่องท้องหรือแทงถูก inferior epigastric artery
เรียบเรียงจาก NEJM
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น