หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

236. Frozen shoulder

หญิง 40 ปี U/D DM, HT ใหล่ซ้ายเคลื่อนไหวไม่สุด 1 ปี ปวดเล็กน้อยเวลาขยับ ไม่มีประวัติบาดเจ็บบริเวณดังกว่า, PE: no arthritis of Lt. shoulder, limited ROM ดังภาพ, Film ดังนี้ คิดถึงอะไร รักษาอย่างไร
ภาวะข้อไหล่ติดแข็ง (Frozen shoulder หรือ adhesive capsulitis) ภาวะข้อไหล่ติดแข็งมักจะเป็นปัญหาต่อการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ในช่วงใดช่วงหนึ่งของการเคลื่อนไหว หรืออาจจะมีผล เป็นช่วงกว้างในการเคลื่อนไหวนั้น เช่น ไม่สามารถยกแขน เหนือศีรษะได้สุด ไม่สามารถเอามือไขว้หลังได้ เป็นต้น ทั้งนี้ การจำกัดการเคลื่อนไหวนี้อาจร่วมกับอาการปวดขณะทำการ เคลื่อนไหว หรือแม้อยู่นิ่ง
ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคนี้คือ
เป็นในหญิงมากกว่าชาย
มักจะเริ่มเป็นอายุ 40-50 ปี
ผู้ป่วยเบาหวานจะมีอัตราการป่วยด้วยโรคนี้ประมาณร้อยละ 20-30%
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะเหล่านี้ได้แก่ การที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ การได้รับอุบัติเหตุที่ไหล่
การใช้งานมากไป
คอพอกเป็นพิษ
สาเหตุของการเกิดข้อติด
สาเหตุที่แท้จริงไม่มีใครทราบแต่เชื่อว่าเกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อและมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อ ทำให้ข้อเกิดการเคลื่อนไหวน้อยลง
การดำเนินของโรค
ในระยะแรก จะมีอาการปวดข้อไหล่โดยเฉพาะปวดเวลากลางคืน อาการจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อ ระยะนี้ใช้เวลาประมาณ 2-9 เดือน
ระยะที่สอง อาการปวดจะน้อยลง แต่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลงระยะนี้ใช้เวลา 4-12 เดือน
ระยะที่สาม จะเริ่มฟื้นตัว การขยับของข้อดีขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 12-42 เดือนหากไม่ดีอาจจะพิจารณาผ่าตัด
การวินิจฉัยและการรักษา
การตรวจไม่ยาก แพทย์จะให้ยกแขนขึ้นพบว่า ยกแขนได้น้อยลง อาจจะต้องx-ray เพื่อตรวจว่ามีภาวะ แทรกซ้อนอย่างอื่นหรือไม่ แต่ X-ray มักไม่ให้ข้อมูลอะไรในโรคนี้ ส่วน MRI จะให้ข้อมูลได้ดี
การรักษาประกอบไปด้วย
ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID , ยาคลายกล้ามเนื้อ
การฉีดยา steroid เข้าข้อ
การทำกายภาพ ควบคู่ไปกับการบริหารข้อไหล่ด้วยตนเอง
การใช้น้ำร้อนหรือน้ำแข็งประคบ
การบริหารเพื่อทำให้ไหล่เคลื่อนไหวได้มากขึ้น

1 ความคิดเห็น: