วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

232.Barrett's esophagus

Barrett's esophagus
Clinical practice NEJM, December,24 2009
Barrett's esophagus เป็น premalignant lesion สามารถพบได้ในผู้ป่วย esophageal และgastroesophageal adenocarcinoma — cancers โดยสัมพันธ์กับอัตราการรอดชีวิตที่ต่ำ (5-year survival rate, 15 to 20%)
Barrett's esophagus ที่เป็นมากขึ้นจะก่อให้เกิด low-grade dysplasia และ high-grade dysplasia ก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง โดยจะพบประมาณ 10 - 15% ของผู้ป่วยที่มีกรดไหลย้อนจากการส่องกล้อง โดยมีปัจจัยเสี่ยงได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศชาย ชนผิวขาว, มีอาการของกรดไหลย้อน และคนอ้วน แต่ในบางการศึกษาพบว่าสัมพันธ์กับการดื่มไวน์แดง การติดเชื้อ Helicobacter pylori และชนผิวดำBarrett's esophagus จะมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงของเซลที่บุหลอดอาหารจาก squamous mucosa ไปเป็น columnar epithelium สามารถพบได้จากการส่องกล้องในบริเวณ columnar-lined ส่วนปลายของหลอดอาหาร

โดยบทความนี้กล่าวถึงภาวะนี้ในแง่
The Clinical Problem
Strategies and Evidence
Evaluation
Diagnosis
Endoscopic Surveillance
Advanced Imaging Techniques
Management
-Antireflux Interventions
-Management of Neoplastic Barrett's Esophagus
Areas of Uncertainty
Guidelines
Conclusions and Recommendations

อ่านเพิ่มเติม http://content.nejm.org/cgi/content/short/361/26/2548

1 ความคิดเห็น:

  1. เห็น PM med เอาBarret esophagus มานำเสนอ ก็เลยคิดว่าก็เลยคิดว่าอยากแชร์แนวคิด เรื่องการ รักษา GERD

    น้องๆ GP ที่ทำงาน ตรวจ OPD บ่อยๆ ที่ เจอคนไข้มาด้วย อาการ ที่ ชวนให้ สงกะสัยว่าเป็น GERD ( น่าจาเกี่ยวกับ Barret esophagus บ้างนะจ๊ะ เพราะเป็น หนึ่งใน cause )

    เอาเท่าที่พอรู้ จากการอ่าน guide line สมาคม และฟัง พวก ติวต่างๆมาได้ความว่า

    GERD นี่ เป้นกรดไหลย้อน ซึ่งถ้า EGD เข้าไปดูอาจ เห็น หรือ ไม่เห็น lesion ก็ได้ การใช้ gold standard ในการวินิจฉัยคงไม่ช่วยการรักษาในชีวิตจริง

    ปกติ DX จาก clinical and symptom

    Typical symptom คือ heart burn , retrosternal chest pain ( exclude angina chest pain ตามอาการและcardiovascular risk )

    Atypical symptom คือ chronic cough, hoarsness, halitosis (กลิ่นปาก), chronic laryngitis,chronic bronchitis, recurrence pneumonia

    Rx
    1.Lifestyle modifying : นอนศรีษะสูง 15 องศา, นอนตะแคงซ้าย, เลี่ยงอาหารมัน ,อัลกอฮอล์, กาแฟ, ชอคโคเลต รสเปรี้ยวจัด, มะเขือเทศ, pepsi cola เลี่ยงกินแล้วนอนใน 2 hr ,ลดความอ้วน, ลดบุหรี่, ยา betablocker CCB amitryptyline

    2.ยา
    2.1typical symptom ให้ low dose PPI 4 wks (omeprazole 20 mg)

    2.2atypical symptom ให้ hign dose PPI(miracid 2 caps) 4-12 wks and or hign dose H2blocker bedtime( cimet 400,rinetidine 300,famotidime 40 )
    ถ้า miracid ไม่ work เปลี่ยนตัวอื่นดูตามกำลังทรัพย์ (nexium,controloc,rabeprazole)

    2.3จากนั้นmaintainace ปรับ ตาม symtom เช่น on demand คือมีอาการค่อยกิน จนอาการหาย หยุดยาใน 24 hr, intermittent ให้ยา1-2 wk เมื่อเกิดอาการ , continuous ในกรณี no symtom free และปรับยาแบบ step down คือ hign dose PPI+high dose H2Rblocker -> low dose PPI -> half dose PPI -> H2Rblocker+prokinetic ( ยังมียาอื่นอีกที่ช่วยบรรเทา เช่น Gaviscon )

    3.EGD เมื่อมี alarm symptom(กลืนลำบาก กลืนเจ็บ อาเจียนบ่อย ไข้ นน.ลด) ,รักษามากกว่า 3 เดือน, สงสัย barret esophagus จากอาการchronic severe heart burn

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องบางคนที่ยังไม่เคยอ่าน guide line บ้างนะจ๊ะ

    ตอบลบ