กราฟนี้มีประโยชน์ในทางคลินิกอย่างไร
Oxygen-Hemoglobin Dissociation curve นั้นสามารถที่จะเบี่ยงเบนไปจากสภาพปกติได้ จากปัจจัยที่สำคัญ 3 ปัจจัยคือ สภาพความเป็นกรดในกระแสเลือด,อุณหภูมิ และระดับของ 2,3-diphosphoglycerate การที่ Oxygen-Hemoglobin Dissociation curve จะเบนไปทางขวา เนื่องจากปัจจัยทั้ง 3 มีมาก และจะเกิดเหตุการณ์กลับ กันเมื่อปัจจัยทั้ง 3 มีอยู่น้อย
ระดับความเป็นกรดในเลือดอันเป็นผลจากคาร์บอน ไดออกไซด์จะมีผลต่อการขนส่งออกซิเจน ที่ปอด พบว่า Pco2 มีระดับต่ำทำให้ค่า pH สูงขึ้น เป็นผลให้ Oxygen-Hemog Dissoc curve เบน ไปทางซ้าย ทำให้การรวมกันของก๊าซออกซิเจน และฮีโมโกลบินดีขึ้น ทำให้ Po2ในน้ำเลือดลดลง จึงทำให้เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนลดลง ในทางกลับกันที่อวัยวะปลาย ค่า Pco2 มีระดับสูงเป็นผลให้ pH ต่ำ ทำให้ Oxygen-Hemoglobin Dissociation curve เบนไปขวาทำให้ฮีโมโกลบินมีแนวโน้ม ที่จะปล่อยก๊าซออกซิเจนมากกว่าปกติ จึงทำให้ Po2 ในน้ำเลือดสูงขึ้น เนื้อเยื่อจะได้รับออกซิเจนมากขึ้น
ในที่สูง high altitude พบว่ามี 2,3-DPGเพิ่มขึ้น มีผลทำให้RBCปล่อยO2ได้มากขึ้น ทำให้ curve shiftไปทางขวา
เพื่อการเรียนรู้ medicine และสุขภาพที่ดีของประชาชน (community hospital) * เดิมคือ Phimaimedicine.blogspot.com * ตอนนี้มาปฏิบัติงานอยู่ที่ รพ. ขนอม นครศรีธรรมราชครับ
วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กราฟนี้ ใช้ กราฟ secondary หรือป่าวค่ะ
ตอบลบหมายถึงยังงัยนะครับ?
ตอบลบ